Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62959
Title: การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร
Other Titles: The construction of sign value by means of linguistic devices in food magazines
Authors: วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
Advisors: เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: วจนะวิเคราะห์
อรรถศาสตร์
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์
ความหมาย (จิตวิทยา)
Semantics
Discourse analysis
Thai language -- Semantics
Food
Meaning (Psychology)
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร เนื่องจากอาหารมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น ทว่าอาหารยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกัน และเป็นวิถีปฏิบัติอันเกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากคอลัมน์ประจำที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารจากนิตยสารประเภทอาหาร 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ นิตยสารแม่บ้าน นิตยสารครัว นิตยสาร Gourmet & Cuisine และนิตยสาร Health & Cuisine ตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 - ธันวาคม พ.ศ. 2558 รวม 48 ฉบับ การวิเคราะห์อาศัยกรอบแนวคิด (1) วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995a) (2) การบริโภคคุณค่าเชิงสัญญะของโบดริยาร์ (Baudrillard, 2001) และ (3) รสนิยมของบูร์ดิเยอ (Bourdier, 1984) ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า นิตยสารประเภทอาหารมิได้นำเสนอคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ที่แท้จริงของอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารในฐานะหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น หากแต่นิตยสารยังได้ประกอบสร้างชุดความคิดเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเชิงสัญญะ ดังปรากฏชุดความคิดสำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ (1) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเป็น “คนฉลาดเลือกบริโภคอย่างมีรสนิยม” (2) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของเชฟ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการรังสรรค์เมนูอาหารอย่างมีรสนิยม ชุดความคิดเหล่านี้ถูกประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้ชุดคำศัพท์ การใช้คำอ้างถึง การให้รายละเอียดโดยการระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือสินค้าอย่างเฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดโดยการระบุราคา การให้รายละเอียดโดยการใช้รางวัลเป็นเครื่องยืนยัน การใช้ความเปรียบ การใช้มูลบท การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้โครงสร้างประโยคแสดงเหตุ-ผล การใช้สหบท และการใช้ภาพประกอบ ชุดความคิดเกี่ยวกับคุณค่าเชิงสัญญะเหล่านี้กลายเป็นชุดความรู้เกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารชุดหนึ่งที่นิตยสารประกอบสร้างขึ้นและทำให้ความรู้ชุดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คนเฉพาะกลุ่มซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคนฉลาดบริโภคอย่างมีความรู้ แต่จะต้องเป็นผู้มีรสนิยมด้วย อุดมการณ์ที่มีอิทธิพลต่อตัวบท ได้แก่ แนวคิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม แนวคิดชั้นทางสังคม แนวคิดสภาวะสมัยใหม่ และแนวคิดสุนทรียภาพ ตัวบทเหล่านี้จึงได้ผลิตซ้ำและตอกย้ำให้อุดมการณ์เหล่านี้คงอยู่ในสังคมต่อไป
Other Abstract: This research aims to study the creation of Sign Value in food magazines by means of different linguistics devices. The importance of food is not only as the four necessities of life but also the medium of human communication between each other and traditional way of life which derives from social and cultural construction. The data is collected from regular columns presenting food contents and activities associated with food in four food magazines: Maeban Magazine, Krua Magazine, Gourmet & Cuisine Magazine, and Health & Cuisine Magazine from January 2018 to December 2018 which are in total 48 issues. The data analysis is based on (1) Fairclough’s Critical Discourse Analysis (Fairclough, 1995a), (2) Baudrillard’s conceptual framework called The Consumption of Sign Value (Baudrillard, 2001), and (3) Bourdier’s the Judgement of Taste (Bourdier, 1984). The result indicates that food magazines do not only present authentically beneficial value of food and activities related to food as the four basic needs of life but also construct the conceptual framework as thing that contains sign value. As a result, there are two perspectives towards food and activities associated with it as (1) the representatives of self identification and the creation of self status of some specific consumer’s groups as the ones who wisely choose to consume with taste.; (2) the illustration of self identification and the creation of chefs’ status as the professionals in creating menu with good taste. The above mentioned perspectives are constructed by lexical selection, reference, the detailed description of sources of specific raw ingredients, price identification, award-winning guarantee, metaphor, presupposition, rhetorical questions, cause and effect sentence structure, intertextuality, and illustration. This conceptual framework related to sign value in food and activities associated with it becomes the knowledge set created by the magazines and influences some specific groups as the necessities to represent themselves as sophisticated consumers with good taste. The ideology which influences on written texts in food magazines is the concept of consumerism, social class, modernity, and aesthetics; consequently, these texts are always repeated and emphasized the existence of this ideology in our society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62959
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1042
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1042
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680512022.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.