Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62964
Title: | แนวคิดเรื่องความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยาของมิแรนด้า ฟริกเกอร์ |
Other Titles: | Miranda Fricker on the notion of epistemic injustice |
Authors: | ภคมน สุภัคคุณธรรม |
Advisors: | ศิรประภา ชวะนะญาณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ฟริกเกอร์, มิแรนด้า -- การวิจารณ์และการตีความ ความยุติธรรม (ปรัชญา) Fricker, Miranda -- Criticism and interpretation Justice (Philosophy) |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์เรื่องความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยาของมิแรนด้า ฟริกเกอร์ (Miranda Fricker) ฟริกเกอร์แบ่งความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยาเป็นสองแบบ ได้แก่ความอยุติธรรมในการรับฟังคำบอกเล่าของผู้อื่น (Testimonial Injustice) หมายถึงการที่ผู้พูดถูกผู้ฟังตัดสินด้วยอคติที่มีต่อตัวผู้พูด และความอยุติธรรมในการตีความ (Hermeneutical Injustice) หมายถึงการที่บริบทของสังคมไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจประสบการณ์ของคนบางกลุ่ม โดยมีสาเหตุมาจากการที่ความรู้ของคนชายขอบไม่ถูกนำมารวมเป็นองค์ความรู้ของสังคม เธอเห็นว่าสาเหตุของความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยามาจากอคติ โดยแสดงออกมาในรูปของสามัญทัศน์ที่มีอคติแฝงอยู่ (Prejudicial Stereotype) ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ความอ่อนไหวต่ออคติเพื่อจะไม่ตัดสินผู้พูดจากอคติที่แฝงอยู่ในสามัญทัศน์ วิทยานิพนธ์นี้จะอภิปรายข้อวิพากษ์ของนักญาณวิทยาต่างๆที่มีต่อข้อเสนอของฟริกเกอร์ ได้แก่ ลอร่า บีบี้ (Laura Beeby) ที่โต้แย้งว่าความอยุติธรรมในการตีความนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเชิงญาณวิทยาแต่เป็นปัญหาจากสภาพสังคม และเจมส์ โบแมน (James Bohman) ที่แย้งว่าสาเหตุของความอยุติธรรมคือการครอบงำและจะแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการสร้างพื้นที่ที่ปราศจากการครอบงำ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดที่สนับสนุนฟริกเกอร์มาร่วมอภิปรายด้วย ได้แก่ ไซมอน เม (Simon May) ซึ่งเสนอตัวอย่างแย้งให้เห็นว่าความอยุติธรรมที่ไม่ได้เกิดจากการครอบงำนั้นมีอยู่ และแซลลี่ ฮาสแลนเจอร์ (Sally Haslanger) ที่อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของอคติและเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการจัดการสิ่งผิดปกติ วิทยานิพนธ์นี้ต้องการเสนอว่าสาเหตุของความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยานั้นเกิดได้ทั้งจากอคติและการครอบงำ โดยอคตินั้นเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพสังคมที่มีการกดทับ ในขณะที่การครอบงำนั้นเป็นการทำให้สภาพสังคมดังกล่าวคงอยู่และสืบทอดอำนาจต่อไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องทำควบคู่กันไป ด้วยการส่งเสริมให้คนมีความตระหนักรู้ต่อความอยุติธรรมพร้อมกับการที่สถาบันเข้ามาสร้างให้คนรู้สิทธิของตนเองและไม่ปล่อยให้ถูกครอบงำโดยอคติ |
Other Abstract: | The purpose of this dissertation is to analyze the concept of Miranda Fricker’s Epistemic Injustice. Fricker classifies epistemic injustice into two types; Testimonial Injustice, whereby the speaker is judged from the hearer’s prejudice, and Hermeneutical Injustice which happens when the social context does not enable people to make sense of their experience. She shares the view that the hearer’s prejudicial stereotype against the speaker is the cause of epistemic injustice. Therefore, the injustice can be solved by the virtues of prejudice sensitivity in order for the hearer to not judge the speaker unfairly. The dissertation discusses the critiques from a few epistemologists. Laura Beeby argues that the hermeneutical injustice is irrelevant to epistemology, but, instead, social condition. James Bohman argues that the cause of epistemic injustice is domination and hence the non-domination area is required. I also refer to other epistemologist whose ideas support Fricker’s; Simon May and Sally Haslanger. I propose that the epistemic injustice can be caused by prejudice and domination. The prejudice is the cause of social oppression whereas the domination sustains it. So people need to be sensitive to the prejudice and injustice. And, at the same time, the institute needs to encourage people to execute their right to fight against domination. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62964 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.942 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.942 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5880169722.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.