Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6312
Title: ผลของน้ำสกัดจากหอยทราย (Asaphis violascens) ต่อการผลิตสารกีดขวางช่องโซเดียมของแบคทีเรีย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Effects of sand clam (Asaphis violascenes) infusion on bacterial production of sodium channel blocking substances
Authors: กาญจณา จันทองจีน
ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: หอยทราย
พิษสัตว์
แบคทีเรีย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากแบคทีเรียที่ผลิตสารกีดขวางช่องโซเดียมเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการมักสร้างพิษนี้ได้ในระดับต่ำได้ทดลองนำหอยทราย (Asaphis violascens) ซึ่งพบว่ามีพิษสูงในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และมีพิษต่ำในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม มาทำน้ำสกัด (infusion) โดยไม่ใช้ความร้อนในการทำให้ปราศจากเชื้อ เพื่อนำไปใช้เลี้ยงแบคทีเรียนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยบางอย่างในหอยทรายที่มีพิษต่างกัน ซึ่งอาจมีผลต่อการสร้างสารพิษของแบคทีเรีย และอาจเป็นสาเหตุของการมีระดับพิษต่ำในห้องปฏิบัติการ ได้ทดลองนำน้ำสกัดหอยทรายแต่ละระยะมาผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ L-medium, น้ำทะเล+0.2% กลูโคส, และน้ำทะเลอย่างเดียว แล้วนำมาเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Vibrio sp. 4 สายพันธุ์ และ Micrococcus sp. 1 สายพันธุ์ โดยเปรียบเทียบกับการเลี้ยงเชื้อเหล่านี้ใน L-medium ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ วัดความสามารถในการกีดขวางช่องโซเดียมโดยวิธี mouse neuroblastoma tissue culture assay ผลการทดลองพบว่าทุกสายพันธุ์ที่เลี้ยงใน 50% น้ำสกัดหอยทรายพิษสูง จะสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมที่มีความเป็นพิษสูงที่สุด จากการวิเคราะห์ด้วย HPLC พบว่าเชื้อเกือบทุกสายพันธุ์จะสร้างอนุพันธุ์ Tetrodotoxins ได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดดังกล่าวนี้ จากผลการทดลองนี้จะสามารถกล่าวได้ว่า น่าจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพิษจากหอยทรายที่มีอิทธิพลต่อส่วนประกอบของสารพิษที่แบคทีเรียสร้างขึ้น ปัจจัยดังกล่าวจะพบได้ในหอยทรายระยะพิษสูง และปัจจัยนี้ไม่สามารถสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ
Other Abstract: According to the low toxicity levels of sodium channel blocker (SCB) usually produced by bacteria cultivated in the laboratory artificial medium, sand clams (Asaphis violascens) which contained alternately different toxicity levels, high level during January to June and low level during July to December in a year were selected to make infusion without heat sterilization for culturing bacteria. The purpose is to study some factors in different toxicity clams which may affect on bacterial toxin productions and also the causes of low activities in the laboratory productions. Each infusion extracted from two different toxicity-level clams were mixed into L-medium, seawater+0.2% glucose, and seawater only. Four strains of Vibrio spp. And a strain of Micrococcus sp. Were cultivated in the three media above. Their productions of toxins were compared with those in the laboratory L-medium. SCB activities were detected by using the mouse neuroblastoma tissue culture assay. The results showed that all strains cultivated in 50% infusion of high toxicity clams plus seawater could produced the highest activities. HPLC analyses indicated that tetrodotoxin derivatives were produced in most of the strains cultivated in this medium. The results suggested that there should be some toxin production enhancing factors from sand clams which affected the toxin compositions produced by bacteria. The factors can especially be found in the clams during their high toxicity periods which have not been able to provide in the laboratory.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6312
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana(asap).pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.