Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63404
Title: ความเต็มใจของสามีในการจ่ายค่าตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ณ หน่วยฝากครรภ์ 
Other Titles: Husband willingness to pay for his sexual transmitted infection screening at antenatal care service
Authors: อรวรรณ อนันต์สิทธิชัย
Advisors: กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์
สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา
ธันยวีร์ ภูธนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การส่งเสริมการตรวจคัดกรองตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นการค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่และส่งต่อเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 โดยที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเต็มใจจ่ายค่าตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มสามีที่มาฝากครรภ์พร้อมภรรยา ระหว่างเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2561 สามีที่มาฝากครรภ์พร้อมภรรยา ได้รับการสุ่มเพื่อเข้าร่วมการศึกษาวิจัยเป็นจำนวน 200 คน ซึ่งมีวิธีในการสอบถามค่าความเต็มใจในการจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส 2 วิธี โดยวิธี Bidding เริ่มถามราคาสำหรับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีที่ 450 บาทและ 300 บาทสำหรับการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส โดยสอบถามอาสาสมัครคนละไม่เกิน 4 ถึง 5 ครั้ง ในขณะที่วิธีการสอบถามแบบ Payment scale อาสาสมัครสามารถเลือกราคาที่เต็มใจจ่ายได้ตั้งแต่ 100 ถึง 800 บาท สำหรับการตรวจคัดกรองเอชไอวี และ 20 ถึง 580 บาท สำหรับการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส ซึ่งทั้ง 2 วิธี ราคาจะปรับขึ้นหรือลงครั้งละ 70 บาท การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ถูกนำมาใช้ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและโรคซิฟิลิส ผลการศึกษาพบว่า จากอาสาสมัครทั้งหมด 200 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 31(27-36) ปี, ไม่เคยมีบุตรมาก่อนร้อยละ 67 (134 คน) และจากทั้งหมด ร้อยละ 88 (176 คน) ยินดีตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและโรคซิฟิลิส เมื่อสอบถามความเต็มใจในการจ่ายด้วยวิธี Bidding พบว่าค่ามัธยฐานความเต็มใจในการจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเป็นจำนวน 450 (380-450) บาท และค่ามัธยฐานของความเต็มใจจ่ายค่าตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสเป็นจำนวน 300 (300-353) บาท ในขณะที่การสอบถามด้วยวิธี Payment scale ได้ราคาความเต็มใจในการจ่ายที่น้อยกว่า โดยมีค่ามัธยฐานความเต็มใจในการจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเป็นจำนวน 310 (170-450) บาท และค่ามัธยฐานของความเต็มใจจ่ายค่าตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสเป็นจำนวน 230 (160-300) บาท นอกจากนี้ประวัติการมีบุตร มีความสัมพันธ์กับความยินดีจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและโรคซิฟิลิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่ากลุ่มสามีที่มารับบริการฝากครรภ์พร้อมภรรยา เป็นกลุ่มที่มีความยินดีในการจ่ายค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและโรคซิฟิลิสอย่างน้อย 2 เท่าของราคาค่าตรวจ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Abstract: Screening for sexually transmitted infection (STI) especially HIV and syphilis is an approach to promote early detection and treatment that has been financially supported under the Thai universal coverage scheme since 2009 (THB140 for HIV). Given unclear evidence on the economic evaluation and budget impact, this study aims to explore the husband’s willingness-to-pay (WTP) for STIs screening. A survey of 200 randomly selected husbands of pregnant women at the Antenatal Care Service, King Chulalongkorn Memorial Hospital from April to June, 2018 were conducted. Two contingent valuation methods were used for WTP assessment of the HIV and syphilis screenings. The biddings started with THB450 for HIV and THB300 for syphilis, with a THB70 change for each of the 5 and 4 steps, respectively. The payment scales for HIV had a range of THB100 to THB800 whereas a range of THB20 to THB580 was used for syphilis. Multivariate linear regression was used for exploring potential determinants of the average amount that the husband is willing to pay. Of 200 enrolled into the study, the median (IQR) of age were 31 (27-36) years old. Most of them had first child (134, 67%). There were 176 (88%) participants who willing to test for STIs. Based on the bidding method, they were willing to pay THB450 (380-450) for HIV and THB300 (300-353) for HIV and syphilis, respectively. The payment scale method suggested lower WTP for both: THB310 (170-450) and THB230 (160-300), respectively. The numbers of children in families have been significantly associated with the willing to pay for HIV and syphilis screening test. The husbands who accompanied their pregnant women at antenatal care clinic are willing to pay at least 2 times the cost of the STI screenings. The financial support to promote STI screenings should be redirected to other groups with higher sexual behavior risks and less willingness-to-pay.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63404
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.711
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.711
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974024530.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.