Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6342
Title: | แบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมในหอยทรายมีพิษที่เก็บจากบริเวณเกาะสีชัง : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Sodium-channel blocker producing bacteria in toxic sand clam colleced from Sichang island |
Authors: | กาญจณา จันทองจีน ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ |
Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | หอยทราย แบคทีเรีย พิษสัตว์ |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หอยทรายมีพิษ (Asaphis violascens) จากเกาะสีชังได้ถูกนำมาแยกเนื้อแบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียม โดยเก็บตัวอย่างใน 2 ระยะเวลาคือ ระยะพิษสูง (มกราคมถึงมิถุนายน) และระยะพิษต่ำ (กรกฎาคมถึงธันวาคม) ได้แยกเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะต่างๆ 7 ส่วนของหอยทรายคือ siphon, mantle, foot, gill, gonad, hepatopancreas และ stomach แล้วคัดแยกเชื้อที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดยใช้วิธี tissue culture assay พบว่าจำนวนเชื้อที่สร้างสารพิษในหอยทรายและบริเวณที่เก็บตัวอย่างในระยะพิษสูงจะมีถึง 25% (19 ชนิดจากทั้งหมด 76 ชนิดที่แยกได้) แต่จำนวนเชื้อนี้ในตัวอย่างที่เก็บในระยะพิษต่ำมีเพียง 5.6% (5 ชนิดจากทั้งหมด 89 ชนิดที่แยกได้) ความแตกต่างกันนี้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียน่าจะมีส่วนในสาเหตุที่ทำให้หอยทรายมีพิษสูงขึ้น ผลการศึกษาพิษในตัวหอยทรายพบว่า ช่วงพิษสูงจะพบสารพิษนี้มากในส่วนของ mantle และ foot ส่วนในอวัยวะอื่นมีจำนวนพิษน้อยกว่าแต่เมื่อถึงระยะพิษต่ำพบว่าที่อวัยวะทั้งสองส่วนนี้จะไม่มีพิษอยู่เลย เชื้อแบคทีเรียที่แยกได้ในสอบระยะของความเป็นพิษมีบางสายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นแบคทีเรีย Genus Vibrio แต่สายพันธุ์อื่นนอกเหนือจาก Vibrio พบว่ามีความแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์สารพิษที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและในหอยทรายโดยวิธี HPLC พบว่าเป็นสารในกลุ่ม Paralytic Shellfish Poisons และกลุ่ม Tetrodotoxins |
Other Abstract: | Toxic sand clams (Asaphis violascens) collected from Sichang Island were examined for sodium channel blocker producing bacteria during a high and low toxicity periods. The bacteria were isolated from seven organs (siphon, mantle, foot, gill, gonad, hepatopancreas, and stomach) and screened for the toxins by a tissue culture assay. At the high toxicity period, 25% (19 out of 76 isolates) of the bacteria were found to contain the toxins while at the low toxicity period only 5.6% (5 out of 89 isolates) were found. The highest toxin levels were dectected in mantle and foot of clams collected at the high toxicity period but the toxins were undetectable in these organs during the low toxicity period. Many toxin producing bacterial strains were assigned to Genus Vibrio. The toxic substances extracted from the bacteria and the sand clams, analyzed by High Performance Liquid Chromatography, were found to contain Paralytic Shellfish Poisons and Tetrodoxins. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6342 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanchana(sod).pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.