Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณิชยา ประดิษฐ์ทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ-
dc.date.accessioned2019-09-24T00:55:22Z-
dc.date.available2019-09-24T00:55:22Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63732-
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดลองชักนำให้เกิดความผิดปกติเพศหอยกับหอยทะเลในสกุล Nassarius sp. (วงศ์ Nassariidae) 2 ชนิด คือ N. livecens และ N. stolatus โดยการเติมสารไตรบิวทิลทินคลอไรด์ที่ความ เข้มข้นต่างๆ ลงในตะกอนทรายและทำการเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อดูลักษณะความ ผิดปกติและอัตราการเกิดความผิดปกติดังกล่าว โดยหอยทะเลชนิด N. livecens เมื่อนำมาเลี้ยงในตะกอนทรายที่ มีการเติมสารไตรบิวทิลทินคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 10, 25, 50, 100, 500 และ 1,000 นาโนกรัมต่อกรัม และเก็บ ตัวอย่างเมื่อเลี้ยงผ่านไปเป็นเวลา 4 และ 8 สัปดาห์ พบอัตราการเกิดความผิดปกติ (% imposex) อยู่ระหว่าง 5.9 ถึง 33.3 และ 11.8 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าเฉลี่ยของระยะการพัฒนาความผิดปกติเพศหอย (vas deferens sequence index: VDSI) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 0.33 และ 0.24 ถึง 1 ตามลำดับ ชนิด N. stolatus ได้ทำการเลี้ยงในตะกอนทรายที่เติมสารไตรบิวทิลทินคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 25, 50, 100, 500 และ 1,000 นาโนกรัมต่อกรัม จากการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 พบอัตราการเกิดความผิดปกติ อยู่ระหว่าง 45 ถึง 77.8 และ 46.7 ถึง 79.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าเฉลี่ยของระยะการพัฒนาความผิดปกติเพศหอย (ค่า VDSI) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.45 ถึง 0.78 และ 0.57 ถึง 0.88 ตามลำดับ ความผิดปกติเพศหอยจากการศึกษาใน หอยทะเลทั้งสองชนิดนี้มีแนวโน้มเกิดเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เลี้ยงและความเข้มข้นของสารที่ได้เติมลงไป นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยของระยะการพัฒนาความผิดปกติทางเพศกับการสะสม ของสารไตรบิวทิลทินในเนื้อหอยทะเลที่ได้ทำการทดลองพบมีความสัมพันธ์กันทั้งในชุดการทดลองของหอยทะเล ชนิด N. livecens (r² = 0.64) และ N. stolatus (r² = 0.898)en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigate imposex induction in 2 species of mud snail Nassarius livecens and N. stolatus in the laboratory. The mud snails were exposed to varied tributyltin concentration in the sediment for 8 weeks. N. livecens were reared in sediment contaminated with tributyltin chloride at the concentration of 10, 25, 50, 100, 500 and 1,000 ng/g. The occurrence of imposex at 4 and 8 weeks were ranged from 5.9 to 33.3 and 11.8 to 100 percent, while the vas deferens sequence index (VDSI) were range from 0.06 to 0.33 and 0.24 to 1, respectively. N. stolatus were also reared in contaminated sediment at the concentration of 25, 50, 100, 500 and 1,000 ng/g. After 4 and 8 weeks of rearing, the imposex percentages were ranged from 45 to 77.8 and 46.7 to 79.3 percent while VDSI were ranged from 0.45 to 0.78 and 0.57 to 0.88, respectively. The percentage of imposex and vas deferens sequence index (VDSI) tended to be increased with higher level of contamination in both species. Moreover, tributyltin accumulation in body tissue was also analyzed and showed the high correlation with VDSI in N. livecens (r² = 0.64) and N. stolatus (r² = 0.898).en_US
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2555en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหอยกาบเดียว -- ไทย (ภาคตะวันออก)en_US
dc.subjectความผิดปกติทางเพศen_US
dc.subjectเพศ (ชีววิทยา)en_US
dc.subjectGastropoda -- Thailand, Easternen_US
dc.subjectSexual disordersen_US
dc.subjectSex (Biology)en_US
dc.titleความผิดปกติทางเพศของหอยทะเลฝาเดียวที่เกิดจากสารป้องกันการเกาะติดของสิ่งมีชีวิต : ระยะที่ 3 การเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติทางเพศ (Imposex induction) ในห้องปฏิบัติการen_US
dc.title.alternativeOccurrence of Imposex in marine gastropods due to antifouling chemicals, 3rd phase: Imposex induction in Laboratoryen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichaya P_Res_2555.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.