Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63785
Title: | ผลของความเค็มและความเข้มข้นออกซิเจนต่อระบบภูมคุ้มกันและการติดเชื้อในปูแสม Neoepisesarma mederi (H.Milne Edwards, 1853) โตเต็มวัย |
Other Titles: | Effects of salinity and oxygen concentration on the immune system and infection in matured grapsid crab Neoepisesarma mederi (H.Milne Edwards,1853) |
Authors: | ปิยพรรณ เหมนุกูล |
Advisors: | ณิฎฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ วีณา เคยพุดซา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ปูแสม ปูแสม -- วิทยาภูมิคุ้มกัน ปูแสม -- วิทยาภูมิคุ้มกัน -- ผลกระทบของความเค็ม น้ำ -- ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ Grapsidae Grapsidae -- Immunology Grapsidae -- Immunology -- Effect of salt on Water -- Dissolved oxygen Neoepisesarma mederi (H.Milne Edwards,1853) Neoepisesarma mederi (H.Milne Edwards,1853) -- Immunology Neoepisesarma mederi (H.Milne Edwards,1853) -- Immunology -- Effect of salt on |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาผลของความเค็มและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่อระบบภูมิคุ้มกันของปูแสมและการติดเชื้อในปูแสม Neoepisesarma mederi ที่โตเต็มวัยในบริเวณป่าชายเลนบ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม และบริเวณป่าชายเลนอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งบริเวณที่ศึกษาทั้งสองบริเวณมีการผันแปรของความเค็มและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ต่างกัน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 ดัชนีที่ใช้บ่งชี้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อในปูแสมได้แก่ค่าทางโลหิตวิทยาของปู คือ ระยะเวลาที่เลือดแข็งตัว ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดรวมและสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือด ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในเหงือก ตับและเลือดปูแสมเป็นดัชนีอีกประการหนึ่งที่บอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ผลการศึกษาพบว่าปูแสมบริเวณอ่าวปากพนังสามารถทนต่อระดับความเค็มสูงได้ดีกว่าปูแสมบริเวณบ้านคลองโคน โดยมีระดับความเค็มที่เหมาะสมคือ 25-30 psu ในขณะที่ความเค็มที่เหมาะสมของปูแสมบริเวณบ้านคลองโคนเท่ากับ 20-25 psu การตอบสนองของค่าทางโลหิตวิทยาในปูแสมธรรมชาติบ้านคลองโคน พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่เลือดใช้ในการแข็งตัวของปูแสมเพศเมีย เท่ากับ 8.64±1.59 วินาที และเพศผู้เท่ากับ 7.64±1.10 วินาที เซลล์เม็ดเลือดที่เป็นกลุ่มเด่น คือ hyaline cell เพศเมียพบในสัดส่วนร้อยละ 75 ของเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด ส่วนเพศผู้พบในสัดส่วนร้อยละ 84 ของเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด โดยปริมาณเซลล์เม็ดเลือดรวมในเพศเมีย 5.79×105 ± 3.01×105 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เพศผู้ 8.58×105 ± 5.57×105 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ส่วนปูแสมในธรรมชาติอ่าวปากพนังใช้ระยะเวลาที่เลือดแข็งตัวเฉลี่ยในเพศเมียเท่ากับ 9.36±1.69 วินาที เพศผู้เท่ากับ 10.10±1.55 วินาที ซึ่งช้ากว่าปูแสมในธรรมชาติบ้านคลองโคน โดยมีเซลล์เม็ดเลือดกลุ่มเด่น คือ hyaline cell ในเพศเมียพบในสัดส่วนร้อยละ 63 ของเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด ซึ่งแตกต่างจากปูแสมเพศผู้ที่พบมีเซลล์เม็ดเลือดกลุ่มเด่น คือ small granular cell พบในสัดส่วนร้อยละ 58 ของเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด โดยปริมาณเซลล์เม็ดเลือดรวมในเพศเมีย 6.88×105 ± 6.04×105 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เพศผู้ 1.43×106 ± 9.02×105 เซลล์ต่อมิลลิลิตร การตอบสนองของปูแสมทั้งสองบริเวณต่อระดับความเค็มที่ไม่เหมาะสมคือ ที่ระดับความเค็มต่ำ 0 psu และระดับความเค็มสูง 40 psu นั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน คือ ระยะเวลาเฉลี่ยที่เลือดใช้ในการแข็งตัวนานกว่าและปริมาณเซลล์เม็ดเลือดรวมลดลงเมื่อเทียบกับค่าที่พบในปูแสมในธรรมชาติ ปูแสมยังแสดงการตอบสนองด้วยการผันแปรสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งในการศึกษาผลของความเค็มและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่อระบบภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อในระยะยาวแสดงให้เห็นว่าปูแสมมีระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ สามารถปรับให้มีค่าทางโลหิตวิทยาใกล้เคียงกับค่าที่พบในปูแสมในธรรมชาติได้ ตลอดการทดลองไม่พบการตายของปูแสมเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลย อย่างไรก็ตามผลการศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อของเหงือกและตับในปูแสมที่เลี้ยงในระดับความเค็มที่ไม่เหมาะสมในระยะยาวพบ เหงือกและตับมีการเสียสภาพการทำงาน เหงือกมีการพับซ้อนกัน (lamellae distortion) ส่วนในเนื้อเยื่อตับที่ระดับความเค็มสูงมีการสูญเสียสภาพการทำงานอย่างรุนแรงกว่าที่ระดับความเค็มต่ำ พบ basement membrane หลุดออกจากเยื่อบุผิว hepatopancreatic tubules นอกจากนี้การเรียงตัวของ columnar cell ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนและมีการสลายตัวของเซลล์บางส่วน ปูแสมทั้งสองบริเวณสามารถอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีระดับปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำหรือไม่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำได้ โดยที่มีการตอบสนองค่าทางโลหิตวิทยาโดยเฉพาะระยะเวลาที่เลือดใช้ในการแข็งตัวใกล้เคียงกับปูแสมในธรรมชาติ แต่ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดรวมมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับปูแสมในธรรมชาติ เซลล์เม็ดเลือดในปูแสมบ้านคลองโคนที่ทำหน้าที่เด่นในการตอบสนองต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ไม่เหมาะสมได้แก่เซลล์เม็ดเลือด large granular cell ในขณะที่ในปูแสมอ่าวปากพนังเป็นเซลล์เม็ดเลือด small granular เหมือนในการตอบสนองต่อความเค็มที่ไม่เหมาะสม ระบบภูมิคุ้มกันของปูแสมทั้งสองบริเวณยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่พบว่าปูแสมติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในปูแสม พบว่าเหงือกเป็นอวัยวะแรกที่ทำหน้าที่กำจัดแบคทีเรียที่เข้าสู่ตัวปูแสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือตับ จากการศึกษาครั้งนี้ไม่พบว่าปูแสมมีการตายเนื่องจากการติดเชื้อในเลือด เซลล์เม็ดเลือดทำหน้าที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์เม็ดเลือดชนิด hyaline cell ทำงานร่วมกับเซลล์เม็ดเลือดชนิด small granuler cell และ large granular cellในการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และไม่ให้สูญเสียเลือดออกจากตัวปู โดยเซลล์เม็ดเลือดที่มีแกรนูลทำหน้าที่สำคัญในการกำจัดแบคทีเรียออกจากร่างกายปูแสม |
Other Abstract: | Effects of salinity and oxygen concentration on the immune system and infection in matured grapsid crab Neoepisesarma mederi was investigated in two crab populations of different environmental variability in Ban Klong Kone mangrove forest, Samut Songkhram Province and Pak Phanang mangrove forest, Nakhon Si Thammarat Province. The study was carried out for one year from October, 2008 to October, 2009. Changes in hemolymph in particular hemolymph, clotting time, total hemocytes counts and differential hemocytes counts were used as the indicators of effective immune system in grapsid crabs. Bacterial infections in gill, hepatopancreas and blood of these crabs were also used as the indicators. The study revealed that adult grapsid crabs from Pak Phanang mangrove forest were more tolerant to high salinity with the optimal salinity range of 25-30 psu as compared to those from Ban Klong Kone mangrove forest of 20-25 psu. Changes in hemolymph in grapsid crabs in optimal salinity conditions were comparable to those in natural condition. Average hemolymph clotting time in the natural conditions for female crabs in Ban Klong Kone mangrove forest was 8.64±1.59 sec. and 7.64±1.10 sec for males. The differential hemocyte counts in grapsid crabs from Ban Klong Kone showed that hyaline hemocytes were dominant contributing of 75% of the total hemocytes in females and of 84% in males. Total hemocyte counts were also comparable to these in natural condition with 5.79×105 ± 3.01×105 cell/ml. for females and 8.58×105 ± 5.57×105 cell/ml. for males. The grapsid crabs from Pak Phanang showed the slow clotting time as compared to the Ban Klong Kone crabs with 9.36±1.69 sec. and 10.10±1.55 sec. for females and males respectively. Hyaline hemocytes more dominant in female crabs of 63% of the total hemocytes. In contrast, small granular hemocytes were dominant in males accounted for 58% of the total hemocytes.The total hemocyte counts for females was 6.88×105 ± 6.04×105 cell/ml. and 1.43×106 ± 9.02×105 cell/ml. for males in the natural condition. The responses to stress salinities of low salinity (0 psu) and high salinity (40 psu) in grapsid crabs from both sites showed the similar patterns with longer hemolymph clotting times and lower total hemocyte counts when compared to these in the natural conditions. Fluctuations in differential counts were observed. The chronic of long term experiments exposing grapsid crabs to stress levels of salinity and oxygen concentration indicated the effective immune system in these crabs. Changes in hemolymph in these crabs were regulated to values found for crabs in natural condition. These crabs were in healthy conditions with no sign of bacterial infections. However the histological changes in the gill and hepatopancreas tissue were observed in the chronic experiments. Gill tissues showed the lamellae distortion which affected the functioning of gills. Basement membrane detachment from the muscular layer in the hepatopancreatic tubules as well as the distortion in the alignment of columnar cells were detected in the hepatopancreatic tissues in the high salinity. These conditions were more severe in the high salinity. These adult grapsid crabs from both sites showed high tolerance to the hypoxia and anoxic conditions with the hamolymph clotting times comparable to those in natural conditions. Low total hemocyte counts were observed. Large granular hemocytes in Ban Klong Kone grapsid crabs, played the dominant roles in responding in the hypoxic and anoxic condition. While the small granular hemocytes in the Pak Phanang grapsid crabs played the dominant role in responding to stress levels of salinity and oxygen contration. These crabs showed no sign of bacterial infection indicating the effective immune systems. The effective immune system with the gills, playing the active role, allowed these grapsid crabs to adapt and survive in the stress levels of salinity and oxygen concentration. The grapsid crabs in the experiments were healthy with no sign of bacterial infection. Hyaline hemocytes as well as small and large granular hemocytes played the active roles in coagulation of the hemolymph preventing the leakage of hemolymph at the site of injury and the dissimination of foreign particles and bacteria throughout the body. Granulocytes were active in the phagocytosis and encapsulation of bacteria. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63785 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyaphan_Hemnukul.pdf | 3.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.