Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6381
Title: การแสวงหาและการใช้สารนิเทศของอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
Other Titles: Information seeking and use of lecturers of The Roal Police Cadet Academy
Authors: จีราภา พิมพ์ศรีกล่ำ
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การค้นข้อสนเทศ
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ -- อาจารย์
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ -- การบริการสารสนเทศ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การแสวงหาและการใช้สารนิเทศของอาจารย์ โรงเรียน นายร้อยตำรวจ ในด้าน วัตถุประสงค์ แหล่งสารนิเทศ วิธีการสืบค้นสารนิเทศ เนื้อหา ภาษา อายุของ สารนิเทศ ปัญหาในการแสวงหาสารนิเทศ และการใช้ประโยชน์จากสารนิเทศในแหล่งสารนิเทศที่ แสวงหา ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหา สารนิเทศเพื่อประกอบการสอน แสวงหาจากแหล่งสารนิเทศที่เป็นทางการ คือ หนังสือ และตำรา และแหล่งสารนิเทศที่ไม่เป็นทางการ คือ ความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง วิธีการสืบค้นที่อาจารย์ ส่วนใหญ่ใช้ คือสำรวจจากชั้นหนังสือ อาจารย์ส่วนใหญ่แสวงหาสารนิเทศที่มีเนื้อหา การสืบสวนและ การวิจัย และสารนิเทศที่เป็นภาษาไทย อายุของสารนิเทศที่อาจารย์ส่วนใหญ่แสวงหา คือ 1-3 ปี ปัญหาในการแสวงหาสารนิเทศที่อาจารย์ส่วนใหญ่ประสบ คือ หนังสือและตำราที่มีอยู่เก่า ไม่ทันสมัย และไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทรัพยากรสารนิเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิชาการตำรวจมีจำนวนน้อย ในการสืบค้นโดยการสำรวจจากชั้นหนังสือ บางครั้งไม่พบทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการ เนื่องจาก จัดเรียงไว้ผิดที่ และคอมพิวเตอร์ใน ภาควิชา/กลุ่มงานที่สังกัด มีจำนวนไม่เพียงพอที่จะใช้ และมี ประสิทธิภาพต่ำ สำหรับการใช้ประโยชน์จากสารนิเทศในแหล่งสารนิเทศที่แสวงหา พบว่า แหล่งสารนิเทศที่เป็นทางการที่อาจารย์ใช้ประโยชน์ในระดับมากที่สุด คือ หนังสือและตำรา แหล่งสารนิเทศที่ไม่เป็นทางการที่อาจารย์ใช้ประโยชน์ในระดับมาก คือ ความรู้และประสบการณ์ ของตนเอง ทรัพยากรสารสนเทศส่วนตัว การประชุม การสัมมนา การฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญ และ การศึกษาดูงาน จากสมมติฐานที่กำหนดไว้ 3 ข้อคือ 1) อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจส่วนใหญ่ แสวงหาสารนิเทศจากหนังสือและตำรา สืบค้นสารนิเทศจากรายการของออนไลน์ของห้องสมุด และสำรวจจากชั้นหนังสือ 2) ปัญหาที่อาจารย์ส่วนใหญ่ประสบ คือ แหล่งสารนิเทศอยู่ไกลและ ไม่สะดวกที่จะไปใช้ และทรัพยากรสารนิเทศที่มีเนื้อหาด้านวิชาการตำรวจมีจำนวนน้อย 3) อาจารย์ ใช้ประโยชน์จากหนังสือและตำรา และเอกสารรวมคำบรรยายทางกฎหมาย และประมวลกฎหมาย ในระดับมาก ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า มีทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน
Other Abstract: This research aims at examining information seeking and use by lecturers of the Royal Police Cadet Academy, in terms of objectives, information sources consulted, search methods, the content, language and age of information, problems in information seeking, as well as utilization of information sought. The finding indicated that the information seeking undertaken by the majority of lecturers of the Royal Police Cadet Academy served the purpose of lecturing. The consulted formal information sources were books and textbooks and informal information sources were lecturers own knowledge and experience. Most of the lecturers sought information by browsing through library shelves; moreover, the contents sought were mainly dealt with criminal investigation and researches published in Thai and the information sought was between 1-3 years of age. The problems found in seeking information were that books and textbooks were old, out of date and insufficient; the information sources related to policing were small in number, the seeking procedure by browsing through library shelves sometimes failed to get information as the books were misplaced and the computers in the department were inadequate for use and low in efficiency. Concerning to utilizations of information sources, formal information sources exploited at the highest level were books and textbooks; and informal information sources exploited at the high level were from lecturers own knowledge and experience, personal collections, conferences, seminars, training, experts and excursions. The 3 hypotheses included: 1) most of lecturers of the Royal Police Cadet Academy sought information from books and textbooks by searching from the OPAC and browsing through library shelves; 2) the problems were caused by the fact that information sources were not accessible due to their location and the information resources related to policing were small in number, 3) most of lecturers mainly made use of books, textbooks, legal documents and codes of law at the high level. The results of the study both corresponded and deviated from the hypotheses.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6381
ISBN: 9741424698
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jeerapha.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.