Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63910
Title: การพัฒนาโมเดลการส่งผ่านของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนบนพื้นฐานทฤษฎีและการปฏิบัติที่ดี : การวิจัยข้ามวัฒนธรรมแบบผสมวิธี
Other Titles: Development of a mediation model of multicultural competence based on theories and good practices : mixed methods in cross cultural research
Authors: นันทรัตน์ คงคาเพชร
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: พหุวัฒนธรรมนิยม
การศึกษาข้ามวัฒนธรรม
นักเรียน
Multiculturalism
Cross-cultural studies
Students
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะทาง พหุวัฒนธรรมของนักเรียนจากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน (2) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านและ (3) ตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านตามประเภทของโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยข้ามวัฒนธรรมแบบผสมวิธี ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์และกำหนดองค์ประกอบของสมรรถนะ การจัดการชั้นเรียนพหุวัฒนธรรมของครู โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพข้ามวัฒนธรรมในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากครูปฏิบัติดีจำนวน 10 คน ที่ปฏิบัติการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัด โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 1,995 คน และครูจำนวน 60 คน ในโรงเรียนสังกัดสพฐ. โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ และโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) แนวคิดพื้นฐานที่นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนจากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี คือ ตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการชั้นเรียนพหุวัฒนธรรมของครูประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ และ 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1.1) การติดตามและการจัดการพฤติกรรมของผู้เรียน มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การใช้กฎและสัญญาณเงียบในการจัดการพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมของผู้เรียน การให้ข้อเสนอแนะและแสดงให้เห็นถึงความตระหนักรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้เรียน การแก้ไขข้อผิดพลาดและการลงโทษผู้เรียนโดยไม่ทำลายความภาคภูมิใจของผู้เรียน และการให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียน (1.2) การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนต่างกลุ่มวัฒนธรรม มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการจัดให้นักเรียนที่มีความต่างทางวัฒนธรรมได้ทำงานร่วมกัน (1.3) การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและความผูกพันอยู่กับงาน มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเชื่อมโยงเนื้อหาบทเรียนให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของผู้เรียน และการใช้กลวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนผูกพันอยู่กับงานและ (1.4) ทัศนคติและความรู้ที่จำเป็นของครู มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การตระหนักรู้ถึงทัศนคติของตนเองต่อนักเรียนต่างวัฒนธรรม และการมีความรู้ที่จำเป็นในการจัดการชั้นเรียนพหุวัฒนธรรม (2) ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 36.935; df = 27; p = 0.096; GFI = 0.997; AGFI = 0.992; และ RMR = 0.016) โดยตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมส่งอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนสูงสุด เท่ากับ 1.122 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนได้รับอิทธิพลรวมจากสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนพหุวัฒนธรรมในทิศทางลบ มีค่าเท่ากับ -0.158 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) โมเดลเชิงสาเหตุสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมีความไม่แปรเปลี่ยนในรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มโรงเรียน และค่าพารามิเตอร์ที่ไม่แปรเปลี่ยนได้แก่ ค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายใน และค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรแฝงภายนอกไปยังตัวแปรแฝงภายใน
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the basic concept for developing the causal model of students’ multicultural competence based on theories and good practices, (2) to develop and validate the causal model of student multicultural competence, and (3) to validate the measurement invariance of the causal model of multicultural competence between each type of school. In this study, the mixed-method cross-cultural research design was employed. Overall, the research procedures were divided into two main phases. Phase I was to conduct the qualitative study of teachers’ multicultural classroom competence employing cross-culture qualitative research method to collect samples from 10 good-practice teachers teaching in the lower secondary level (Grade 7-9) from schools in HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects for the Development of Children and Youth in Isolated and Remote Area (Princess’ Projects). Phase II was to study the gathered quantitative data to empirically validate the causal model of students’ multicultural competence using the measuring data method gathered from 1,995 students and 60 teachers from schools under the Basic Education Commission, the Princess’ Projects, and the Bangkok-area international schools. The data were analyzed using descriptive statistics. LISREL program was used to analyze structural equation model and multiple group structural equation model. The research findings were as follows: (1) Teacher multicultural classroom management competence consisted of four main components and ten subcomponents: (1.1) Monitoring and managing the behavior of students. The four subcomponents were: Using rules and silent signals to manage students’ inappropriate behavior; providing feedback and demonstrate awareness for the students’ needs; the error correction and punishment without breaking the pride of the students; and the classroom participation of parents. (1.2) Creating and maintaining good relationships between teachers and students, and between students from different cultures. The two subcomponents were: Creating good relationships; and assigning students from different cultures to work together. (1.3) Classroom management for the students’ attentions and task commitment. The two subcomponents were: Connecting the teaching contents to the students’ cultural backgrounds; and instructional strategies that enable students commit to the tasks. (1.4) Teacher’s attitudes and required knowledge. The two subcomponents were: Teacher’s awareness and attitudes toward students from different cultures; and knowledge necessary to manage multicultural classroom. (2) The result of the structural equation model analysis of the students’ multicultural competence was found that the students’ multicultural competence model was valid and fit to the empirical data. (2 = 36.935; df = 27; p = 0.096; GFI = 0.997; AGFI = 0.992; and RMR = 0.016). The cultural intelligence had a significant positive direct effect on students’ multicultural competence at the maximum level of 1.122 with statistical significance at the level of 0.01. The students’ multicultural competence was negatively affected by teachers’ multicultural classroom management competence at the level of -0.158 with statistical significance at the level of 0.01. (3) The measurement invariance of the structural equation model indicated invariance of form model among three types of schools. Moreover, the invariance of the parameters was also found in the causal matrix between endogenous latent variables and the causal matrix from exogenous latent variables to endogenous latent variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63910
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1843
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1843
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantarat Kongkapet.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.