Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63944
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล | - |
dc.contributor.author | กรกช เติมรุ่งเรืองเลิศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-11-15T03:55:52Z | - |
dc.date.available | 2019-11-15T03:55:52Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63944 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางสังคมเป็นหลักและมีการนำกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการกลับไปลงทุนซ้ำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ตั้งไว้ โดยมิใช่เพื่อการสร้างความมั่งคั่งและเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล โดยมีการใช้โมเดลทางธุรกิจและกลไกทางตลาดมาเป็นหลักในการดำเนินการ ส่งผลให้วิสาหกิจเพื่อสังคมพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ในระยะยาว จึงแตกต่างกับมูลนิธิหรือสมาคมทั่วไปที่ต้องอาศัยเงินบริจาคมาหล่อเลี้ยงองค์กร การดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงมีความยั่งยืนสามารถทำการแข่งขันกับวิสาหกิจอื่นตามกลไกทางการตลาดได้ อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจเพื่อสังคมยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงได้มีการออกมาตรการต่างๆเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมมากมายดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ที่ได้กำหนดมาตราการเพื่อการส่งเสริมไว้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การสนับสนุนเงินลงทุน การสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมการสนับสนุนเงินกู้ยืม และสนับสนุนให้มีระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เและพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 ที่ได้กำหนดมาตรการทางภาษีไว้ โดยเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่วิสาหกิจเพื่อสังคมและผู้ลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม จากการศึกษาพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 พบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมบางประการยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจจะทำให้การส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและการสร้างความจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมไม่เป็นผลสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของประเทศอังกฤษและประเทศเกาหลีใต้พบว่ามีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแตกต่างกันไปแต่ทั้งสองประเทศต่างก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังนั้น หากรัฐบาลไทยทบทวนและปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวอย่างรอบคอบก็จะทำให้มาตรการทางภาษีนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.4 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วิสาหกิจชุมชน | en_US |
dc.subject | สิทธิประโยชน์ทางภาษี | en_US |
dc.subject | ภาษีเงินได้--การหักลดหย่อน | en_US |
dc.title | ข้อจำกัดทางกฎหมายของมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม : ศึกษากรณีมาตรการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.subject.keyword | วิสาหกิจเพื่อสังคม | en_US |
dc.subject.keyword | สิทธิประโยชน์ทางภาษี | en_US |
dc.subject.keyword | ลดหย่อนภาษี | en_US |
dc.subject.keyword | การบริจาคทรัพย์สิน | en_US |
dc.subject.keyword | นักลงทุน | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้บริจาค | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2018.4 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086152634.pdf | 842.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.