Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64029
Title: | ประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีของหน่วยงานรัฐ: ศึกษากรณี การฟ้องร้องดำเนินคดีตาม สัญญาสัมปทาน |
Authors: | ธัญวรัตม์ แจ่มเจริญ |
Advisors: | ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษีเงินได้ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การผิดนัดชำระหนี้ การชำระเงิน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในกรณีของรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะและเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้จัดเก็บภาษีจากฐานกำไรสุทธิ โดยคำนวณจากการนำรายได้หักด้วยรายจ่ายของกิจการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่ากิจการมีรายได้และรายจ่ายเกิดขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ มีรายได้เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีเมื่อมีการขายหรือให้บริการ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการชำระเงินแล้วหรือไม่ก็ตาม และถือว่ามีรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้เกิดขึ้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย สำหรับกิจการที่มีลูกหนี้ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นตามเกณฑ์สิทธิ์มารวมคำนวณเป็นรายได้แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระหนี้ก็ตาม หากต่อมากิจการไม่สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ กิจการก็ต้องจำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามเกณฑ์สิทธิ์และกรณีของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร คือให้กระทำตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ปัจจุบันพบว่ายังมีปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของรัฐวิสาหกิจกรณีรัฐวิสาหกิจฟ้องลูกหนี้ภาคเอกชนตามสัญญาสัมปทานซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองที่อยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาคดีศาลปกครอง โดยประมวลรัษฎากรและกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ไม่มีบทบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญของรัฐวิสาหกิจให้สามารถจำหน่ายลูกหนี้ที่มีการฟ้องร้องในคดีปกครอง เป็นหนี้สูญซึ่งเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากรได้ ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ การบันทึก และการรับรู้รายจ่ายในทางภาษี นอกจากนีน้ ผู้เขียนยังศึกษาหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหนี้สูญตามกฎหมายภาษีอากรของสาธารณรัฐมอลตา เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญกรณีรัฐวิสาหกิจฟ้องลูกหนี้ในคดีปกครองดังกล่าว โดยกำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้เจ้าหนี้ที่ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีปกครองมีสิทธิในการจำหน่ายหนี้สูญได้ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจำหน่ายหนี้สูญมากยิ่งขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64029 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.29 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.29 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086191034.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.