Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6404
Title: | การประเมินความตรงตามเนื้อหาและความเท่าเทียมกันของเนื้อหาในแบบสอบคู่ขนาน โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง |
Other Titles: | Assessing content validity and content equivalence in parallel test forms using structural equation modeling |
Authors: | สุกัญญา คล้ายทอง |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ข้อสอบ -- การประเมิน การวิเคราะห์ตัวแปรพหุ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประยุกต์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบคู่ขนานโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง และประการที่สองเพื่อตรวจสอบความเท่าเทียมกันของเนื้อหา ระหว่างแบบสอบคู่ขนานโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2546 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 333 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ตัวแปรภายนอกแฝง 4 ตัวคือ (1) เนื้อหาเรื่องเศษส่วน วัดจากตัวแปรภายนอกสังเกตได้ 3 ตัว ได้แก่ข้อสอบข้อที่ 1-3 (2) เนื้อหาเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วน วัดจากตัวแปรภายนอกสังเกตได้ 3 ตัว ได้แก่ข้อสอบข้อที่ 4-6 (3) เนื้อหาเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน วัดจากตัวแปรภายนอกสังเกตได้ 12 ตัว ได้แก่ข้อสอบข้อที่ 7-18 และ (4) เนื้อหาเรื่องการคูณและการหารเศษส่วน วัดจากตัวแปรภายนอกสังเกตได้ 12 ตัว ได้แก่ข้อสอบข้อที่ 19-30 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ฉบับ โดยจัดชุดดังนี้ (1) แบบสอบฉบับ A คู่ขนานกับแบบสอบฉบับ B และ (2) แบบสอบฉบับ A และ B ไม่คู่ขนานกับแบบสอบฉบับ C วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ข้อสอบ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบฉบับ A, B และ C มีความตรงตามเนื้อหาโดยโมเดลโครงสร้างเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ของแบบสอบทั้ง 3 ฉบับ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของฉบับ A ให้ค่าไคสแควร์ = 382.267, p = .458, df = 380, GFI = .812, AGFI = .770 และ RMR = .017 ฉบับ B ให้ค่าไคสแควร์ = 388.677, p = .481, df = 388, GFI = .809, AGFI = .772 และ RMR = .018 และฉบับ C ให้ค่าไคสแควร์ = 384.816, p = .479, df = 384, GFI = .810, AGFI = .770 และ RMR = .016 2. แบบสอบฉบับ A และ B มีความเท่าเทียมกันของเนื้อหา แต่มีความแตกต่างจากฉบับ C โดยโมเดลโครงสร้างเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างแบบสอบทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งให้ค่าไคสแควร์ = 1170.122, df = 1137, p = .241, GFI = .808, RMSEA = .016, RMR = .016 และ ไคสแควร์/df = 1.029 มีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอย ของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรภายนอกแฝงของแบบสอบฉบับ A และ B แต่มีความแปรเปลี่ยนกับแบบสอบฉบับ C โดยให้ค่าไคสแควร์ = 1207.337, df = 1163, p = .178, GFI = .808, RMSEA = .019, RMR = .016 |
Other Abstract: | To assess content validity of parallel test forms by using structural equation model and to assess content equivalence of parallel test forms by using structural equation model. The research sample consisted of 333 lower secondary schools students under the educational service area in Bangkok Metropolitan in 2546 academic years. Data consisted of 4 latent variables: content area of fraction were measuring 3 observed variables in item 1-3, content area of comparison of fraction were measuring 3 observed variables in item 4-6, content area of addition and subtraction of fraction were measuring 12 observed variables in item 7-18, and content area of multiplication and dividend were measuring 12 observed variables in item 19-30. Data were collected by three tests of mathematics: parallel test were form A and B, and they were not parallel to form C. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, one-way ANOVA, LISREL confirmatory factor analysis and LISREL multigroup analysis. The major findings were as follows 1. The content structure model of mathematics in fraction of tests A, B and C was valid and fit to the empirical data. The model of test A indicated that the chi-square goodness of fit test was 382.267, p = .458, df = 380, GFI = .812, AGFI = .770 and RMR = .017. The model of test B indicated that the chi-square goodness of fit test was 388.677, p = .481, df = 388, GFI = .809, AGFI = .772 and RMR = .018. And the model of test C indicated that the chi-square goodness of fit test was 384.816, p = .479, df = 384, GFI = .810, AGFI = .770 และ RMR = .016. 2. Test A and B were content equivalence, but their content differed to test C. The content structure model of mathematics in fraction of 3 tests indicated invariance of model form. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 1170.122, df = 1137, p = .241, GFI = .808, RMSEA = .016 and RMR = .016. The mode indicated invariance of parameters lambda -X among tests A and B but not invariant test C. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 1207.337, df = 1163, p = .178, GFI = .808, RMSEA = .019, RMR = .016 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6404 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.455 |
ISBN: | 9741754841 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.455 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya.pdf | 6.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.