Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64117
Title: | น้ำมันหอมระเหยและกรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย |
Other Titles: | Rose essential oil and method of the extraction |
Authors: | ธชษร กุลฉัตรภากรณ์ |
Advisors: | สุรชัย พรภคกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | น้ำมันหอมระเหย Essences and essential oils |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญพันธุ์แดงประเสริฐ (Rosa damascena Mill.) พื้นที่เพาะปลูก อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และกรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากต้นกุหลาบมอญ พันธุ์แดงประเสริฐ โดยดอกกุหลาบแช่เย็น ดอกกุหลาบสด ใบสด และลำต้นสดใช้วิธีการสกัดแช่ด้วยตัวทำละลายเฮกเซนที่อุณหภูมิห้อง เฮกเซนที่อุ่นร้อน และเพนเทน และสกัดดอกกุหลาบสดด้วยวิธีการสกัดแบบซอกเลตโดยใช้ตัวทำ ละลายเฮกเซน สารสกัดที่ได้มีสีเหลืองลักษณะเป็นขี้ผึ้ง และมีกลิ่นของกุหลาบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดจากใบจะให้ กลิ่นที่ชัดเจนที่สุด เมื่อทำการสกัดซ้ำด้วยเอทานอลได้เป็นสารละลายสีเหลืองที่เรียกว่า absolute rose oil ผลการ ทดลอง ได้ปริมาณสารสกัดจากส่วนดอกทั้งสองวิธีอยู่ที่ 0.1% - 1.4% ส่วนใบ 0.7% - 1.0% ส่วนลำต้น 0.9% - 1.2% โดยที่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการสกัด มีอัตราส่วนของพืชต่อตัวทำละลายควรใช้อัตราส่วนที่น้อยปริมาณสารสกัดจึงจะได้ มากขึ้น อุณหภูมิของตัวทำละลายส่งผลโดยเฮกเซนที่อุ่นร้อนจะให้ปริมาณสารสกัดมากกว่าเฮกเซนที่อุณหภูมิห้อง ดอกสดจะให้ปริมาณสารสกัดที่มากกว่าดอกที่เก็บแช่แข็ง ส่วนระยะเวลาในการสกัด ยิ่งใช้เวลาในการสกัดนานขึ้น ปริมาณของสารสกัดจากใบสดและลำต้นสดด้วยตัวทำละลายเฮกเซนและเพนเทนยิ่งได้มากขึ้น แต่ระยะเวลาที่นาน ขึ้นไม่มีผลในการสกัดดอกกุหลาบด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ในการสกัดด้วยวิธีซอกเลต ที่ 8 ชั่วโมง ได้ปริมาณสารสกัด มากกว่าที่ 6 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยกุหลาบมอญเทคนิคโปรตอนนิวเคลียร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรเมทรี (¹H NMR) และ เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี (GC-MS) พบว่า ส่วนดอก ใบ และลำต้น ประกอบด้วยสารฟีนิลเอทิลแอลกอฮอล์เป็นหลักและสารชนิดอื่นๆ ทำให้ ฟีนิลเอทลิ แอลกอฮอล์ น่าจะเป็นสารเฉพาะสำคัญที่ให้กลิ่นกุหลาบของดอกกุหลาบมอญพันธุ์แดงประเสริฐ เนื่องจากเป็น สารชนิดเดียวที่พบว่าเป็นสารให้กลิ่น อีกทั้งสารสกัดจากใบให้กลิ่นกุหลาบที่แรงกว่าและจากโครมาโทแกรมพบว่า ประกอบด้วย องค์ประกอบของสารอยู่หลายชนิด |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study rose essential oil from Damask Rose “Daeng Pra Sert” (Rosa damascena Mill.), collected from Bang Len district, Nakorn Pathom province, and extraction methods of its essential oil. Fresh flowers, freezing flowers, fresh leaves and fresh stems of rose were extracted by soaking in hexane, pentane and hot hexane and with hexane in Soxhlet extractor. The solvent extractions gave a yellow waxy residue. Reextraction with ethanol in order to remove the wax, gave yellowish rose absolute. The percentage of the crude extraction from the flowers, fresh leaves and fresh stem was 0.1-1.4, 0.7-1.0 and 0.9-1.2, respectively. Higher ratio of solvent and plant in the extraction process resulted in higher yield and a hot hexane extraction resulted in more yield than room temperature hexane. The fresh flowers gave more yield than the freezing flowers. The longer extraction time resulted in higher yield for leaves and stems in hexane and pentane extraction which the longer extraction time for flowers in hexane showed no effect on the yield. Soxhlet extraction for 8 hours get more yield than for 6 hours. Chemical composition of the rose oil was examined by ¹H NMR and GC-MS spectrometry. The results showed that the extracts from three parts of the rose comprised of phenyl ethyl alcohol together with other. This indicated that characteristic rose odor of “Daeng Pra Sert” rose should be caused by phenyl ethyl alcohol since it is the only one displaying rose odor. Furthermore, the essential oil of fresh leaves gave the stronger scent of rose and the GC-MS chromatogram showed that it comprised of wide variety of compounds. Keyword: |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64117 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tachasorn Ku_SE_2560.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.