Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64240
Title: | การคัดกรองและตรวจสอบยีน ACC1 ของยีสต์ที่สามารถผลิตน้ำมันจากตะกอนดินบริเวณป่าชายเลน อ.เทพา จ.สงขลา |
Other Titles: | Screening and detecting ACC1 gene of oleaginous yeast from soil sediment in mangrove forest, Thepha district, Songkhla province |
Authors: | เฌอญานุส บุตรคำโชติ |
Advisors: | วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ป่าชายเลนเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่เหมาะสมสำหรับการคัดกรองยีสต์ที่สามารถผลิตและสะสมน้ำมัน (oleaginous yeasts) ได้มากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การคัดกรองยีสต์ที่สามารถผลิตน้ำมันจากตะกอนดินป่ายชายเลน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จากการคัดกรองพบว่าได้ยีสต์จำนวน 18 ไอโซเลต มียีสต์จำนวน 5 ไอโซเลตที่สามารถระบุได้ว่าเป็นยีสต์ที่ผลิตน้ำมันได้ (oleaginous yeasts) จากการย้อมด้วยเทคนิค Sudan black B ได้แก่ ยีสต์ไอโซเลต TEP6 TEP11 TEP12 TEP17 และ TEP18 เนื่องจากเมื่อสกัดน้ำมันด้วยวิธี Bligh and Dyer ยีสต์ทั้ง 5 ไอโซเลต มีการสะสมของน้ำมันร้อยละ 40.6 32.5 28.0 28.8 และ 87.1 ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง ตามลำดับ ซึ่งการระบุชนิดของยีสต์ทั้ง 5 ไอโซเลต บริเวณยีน 18s rRNA แสดงให้เห็นว่าไอโซเลต TEP6 TEP11 และ TEP17 มีความใกล้เคียงกับ Candida tropicalis ส่วนไอโซเลต TEP12 มีความใกล้เคียงกับ Candida maltose และไอโซเลต TEP18 มีความใกล้เคียงกับ Hanseniaspora sp. นอกจากนี้เมื่อทำการตรวจสอบองค์ประกอบของกรดไขมันของยีสต์ที่มีการผลิตและสะสมน้ำมันมากที่สุด 3 อันดับ คือ C.tropicalis ไอโซเลต TEP6 และ TEP11 และ Hanseniaspora sp. ไอโซเลต TEP 18 พบว่ามีกรดไขมันหลักที่ยีสต์ hanseniaspora sp. ไอโซเลต TEP18 ผลิตได้ คือ กรดปาล์มิโทเลอิก (C16:1) ส่วนในยีสต์ C.tropicalis ไอโซเลต TEP6 และ TEP11 มีองค์ประกอบของกรดไขมันที่เหมือนกัน คือ มีกรดโอเลอิก (C18:1) มากที่สุด จากการตรวจสอบยีน ACC1 ของยีสต์ทั้ง 5 ไอโซเลต พบแถบของดีเอ็นเอบริเวณ 7000 คู่เบส ของยีสต์ C. tropicalis ไอโซเลต TEP6 TEP11 และ TEP17 ซึ่งเป็นตำแหน่งของยีน ACC1 โดยการศึกษานี้จะเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมัน เพื่อใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | The mangrove forests is one of the appropriated sources for screening of oleaginous yeasts which can be able to accumulate lipids up to 20% of their cellular dry weight. Consequently, the aim of this study is to screen oleaginous yeast from soil sediments at mangrove forest, Thepha district, Songkhla province. Among 18 isolates, five isolates namely TEP6 TEP11 TEP12 TEP17 and TEP18 were identified as an oleaginous yeasts by using Sudan black B staining technique and extracted lipid using Bligh and Dyer method with 40.6% 32.5% 28.0% 28.8% and 87.1% lipid per dry cell weight respectively. The identification of five isolates based on the 18S rRNA gene showed that isolate TEP6 TEP11 and TEP17 are closely related to Candida tropicalis. Isolate TEP12 was closely related to Candida maltosa and isolate TEP18 was closely related to Hanseniaspora sp. Moreover, fatty acid profile of Hanseniaspora sp. isolate TEP18 revealed that major fatty acid content is palmitoleic (C16:1). C. tropicalis isolate TEP6 and TEP11 revealed that oleic acid (C18:1) was detect as a major fatty acid. Lastly, the DNA band of ACC1 gene were detected at 7000 base pairs of C. tropicalis isolate TEP6 TEP11 and TEP17. In this study, lipid profile of C. tropicalis isolate TEP6 and TEP11 and Hanseniaspora sp. isolate TEP18 can be applied for database in future study. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64240 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cheryanus_B_Se_2561.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.