Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64577
Title: การปนเปื้อนของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอในเมล็ดกาแฟอะราบิกาในช่วงต้นของกระบวนผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
Other Titles: Contamination of ochratoxigenic fungi in Arabica coffee beans in early steps of post-harvest processing
Authors: วันทิณี เบญจมงคลสกุล
Advisors: ชีวานันท์ เดชอุปการ ศิริสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลายทั่วโลก การปนเปื้อนของราที่เกิดจากกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษจากราตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอคราทอกซินเอ ที่ถูกจัดเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งข้อมูลการปนเปื้อนเหล่านี้ยังมีรายงานไม่มากนักในประเทศไทย ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอและปริมาณของโอคราทอกซินเอในเมล็ดกาแฟอะราบิกาจากช่วงต้นของกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟแบบเปียกหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลกาแฟสุก เมล็ดกาแฟหมัก และเมล็ดกาแฟกะลา จากศูนย์วิจัยโครงการหลวงสามแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ผลกาแฟสุกและเมล็ดกาแฟหมักมีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อของราทั้งหมดเฉลี่ย 96 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยรากลุ่มหลักที่พบปนเปื้อนเป็นยีสต์ และราสายใยอื่นๆ ในสกุล Rhizopus และ Curvularia เป็นต้น ในขณะที่เมล็ดกาแฟกะลาพบการปนเปื้อนของราดำและราเหลืองในสกุล Aspergillus section Nigri และ Circumdati มากที่สุด รากลุ่มหลักที่พบปนเปื้อนในเมล็ดกาแฟกะลา สายพันธุ์อะราบิกา คือ Aspergillus section Circumdati ซึ่งจัดจำแนกได้ทั้งหมด 4 กลุ่มตามลักษณะทาง สัญฐานวิทยา นอกจากนี้ ยังพบความหลากหลายของ Aspergillus section Nigri มากถึง 12 กลุ่ม และเมื่อนำตัวแทนของราดำในสกุล Aspergillus section Nigri และราแหลืองในสกุล Aspergillus section Circumdati ที่คัดแยกและจัดจำแนกได้มาทดสอบความสามารถในการผลิตโอคราทอกซินเอ พบว่าไอโซเลตราดำและราเหลืองที่ผลิตโอคราทอกซินเอได้สูงสุดอยู่ที่ 64.57±12.51 และ 74.69±9.28 นาโนกรัมต่อกรัมอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง ตามลำดับ สำหรับการปนเปื้อนของโอคราทอกซินเอในเมล็ดกาแฟหมักและกาแฟกะลา พบว่ามีปริมาณโอคราทอกซินเอปนเปื้อนต่ำอยู่ในช่วง น้อยกว่า 0.1-2.0 และ 0.1-10.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
Other Abstract: Coffee is the most widely consumed beverage in the world. Fungal contamination in coffee associated with poor post-harvest condition leads to mycotoxin contamination, mainly ochratoxin A (OTA) which is probably carcinogenic to humans. Information on the presence of fungal and OTA contamination in Thai coffee beans is limited. Therefore, the objective of this study was to investigate the contamination of ochratoxigenic fungi and OTA levels in arabica coffee beans from early steps of wet process. Cherry coffee, fermented coffee and parchment coffee were collected from 3 stations of Royal project Foundation, Chiangmai, Thailand. This study found that the average percentage of fungal contamination in cherry coffee and fermented coffee were 96 and 100%, respectively. The predominant species were yeast and filamentous fungi such as Rhizopus sp. and Curvularia sp. On the other hand, parchment coffee was highly contaminated from Aspergillus section Nigri and Circumdati. Aspergillus section Circumdati was predominant species which can be classified into 4 morphological groups. Moreover, the high diversity of Aspergillus section Nigri was found with 12 morphological groups. Representative isolates of section Nigri and section Circumdati were examined for their OTA production. The result show that maximum OTA levels of representative isolates of section Nigri and section Circumdati were 64.57±12.51 and 74.69±9.28 ng/g of agar, respectively. OTA levels in coffee bean samples were analyzed. The fermented coffee beans and parchment coffee beans show low contamination with OTA in level of <0.1-2.0 and 0.1-10.3 ppb, respectively.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64577
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wantinee Be_Se_2561.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.