Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64925
Title: | ผลของการเติมเยื่อเวียนทำใหม่ต่อสภาพพิมพ์ได้ของกระดาษในระบบการพิมพ์ต่างๆ |
Other Titles: | Effect of recycled pulp addition on paper printability in various printing processes |
Authors: | พิวัส สุขณียุทธ |
Advisors: | กุนทินี สุวรรณกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของการเติมเยื่อเวียนทำใหม่ต่อสภาพพิมพ์ได้ของกระดาษ โดยเปรียบเทียบสมบัติของแผ่นทดสอบที่ผลิตจากเยื่อผสมระหว่างเยื่อใหม่กับเยื่อเวียนทำใหม่ในสัดส่วนต่างกัน 3 ระดับที่ 100:0 50:50 และ 0:100 โดยเยื่อใหม่ได้มาจากเยื่อผสมระหว่างเยื่อใยสั้นและเยื่อใยยาวในอัตราส่วน 70:30 ซึ่งได้ทดลองขึ้นแผ่นทดสอบและวัดสมบัติต่างๆ พบว่าเป็นสัดส่วนที่ให้ค่าความดำพื้นทึบดีที่สุดในการพิมพ์ทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ การพิมพ์ออฟเซต เฟล็กโซกราฟี การพิมพ์พ่นหมึก และการพิมพ์อิเล็กโทรโฟโตกราฟี ส่วนเยื่อเวียนทำใหม่ได้จากกระดาษไม่เคลือบผิว 2 ชนิด ได้แก่ กระดาษที่เป็นเยื่อใหม่ล้วน กับกระดาษที่มีส่วนผสมระหว่างเยื่อใหม่กับเยื่อเวียนทำใหม่ 70:30 โดยกระดาษแต่ละชนิดถูกนำมาตีกระจายและผสมในสัดส่วนตามที่กำหนด จากนั้นวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของเส้นใย และศึกษาผลของชนิดเส้นใยต่อสมบัติของแผ่นทดสอบและสภาพพิมพ์ได้ใน 4 กระบวนการพิมพ์ ผลการวิจัยพบว่าแผ่นทดสอบที่ผลิตจากการผสมเยื่อใหม่ด้วยเยื่อเวียนทำใหม่จะส่งผลให้สมบัติด้านต่างๆ ของแผ่นทดสอบลดลง เช่น ความหนาแน่นปรากฏ ความต้านอากาศ ดัชนีความต้านแรงฉีก ดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึง ความมันวาว การดูดซึมน้ำ ความเรียบ และความแข็งแรงของผิวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ ในการทดสอบสภาพพิมพ์ได้พบว่าเฉพาะการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีเท่านั้นที่การเติมเยื่อเวียนทำใหม่จะส่งผลให้ค่าความดำพื้นทึบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การพิมพ์อื่นๆ นั้นไม่ได้ปรากฏผลกระทบที่เด่นชัด สำหรับค่าความมันวาว การเติมเยื่อใหม่ด้วยเยื่อเวียนทำใหม่ทั้งสองชนิดในทั้ง 4 กระบวนการพิมพ์นั้นจะส่งผลให้ค่าความมันวาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกกระบวนการพิมพ์ ส่วนผลความแตกต่างระหว่างชนิดของเยื่อเวียนทำใหม่จะแตกต่างกันตามสภาพการพิมพ์ |
Other Abstract: | This research aimed to study the effects of recycled pulp addition on paper printability in various printing process by comparing properties of handsheets produced from mixed virgin and recycled pulps at 3 different ratios; 100:0, 50:50 and 0:100. Virgin pulps were used by mixing hardwood and softwood pulps at 70:30 ratio. Handsheets were produced from mixed virgin pulps and tested. This ratio gave the best density results for 4 printing processes; Offset, Flexography, Inkjet and Electrophotography. Two types of recycled pulps were made from uncoated paper (virgin fiber) and recycled uncoated paper (30% recycled fiber). Each paper was disintegrated and mixed at designated ratios. Fiber morphology was analyzed, along with the effects of fiber properties on paper properties and printability in 4 printing processes. It was found that adding recycled pulp in virgin pulp significantly decreased the handsheet properties such as apparent density, air resistance, tear index, tensile index, gloss, water absorption, smoothness and surface strength. In printability testing, adding recycled pulp significantly decreased print density in flexography printing while other printing processes had unclear effects. Gloss significantly dropped in all printing processes with recycled pulp addition. Different types of recycled pulp affected the results differently depending on printing conditions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64925 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472057423.pdf | 9.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.