Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65250
Title: | การคัดกรองแบคทีเรียจากดินที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช |
Other Titles: | Screening of bacteria from soil with inhibitory activity against phytopathogenic fungi |
Authors: | ธีรนาฏ ธนาพงศ์ภัค |
Advisors: | ปาหนัน เริงสำราญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการแยกและคัดกรองแบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช โดยสามารถแยกแบคทีเรียจากตัวอย่างดิน 13 ตัวอย่าง ได้ทั้งหมด 141 ไอโซเลต แต่พบว่ามีแบคทีเรียเพียง 87 ไอโซเลตเท่านั้นที่มีชีวิตรอดและสามารถเจริญได้ จึงนำแบคทีเรียทั้ง 87 ไอโซเลตไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช ได้แก่ Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliforme, Fusarium proliferatum, Fusarium solani, Phytophthora palmivora และ Pyricularia oryzae ซึ่งพบว่ามีแบคทีเรีย 15 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งราที่ก่อโรคในพืชที่ใช้ในการทดสอบได้ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์การยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช และจำนวนชนิดของราที่แบคทีเรียสามารถยับยั้งได้ พบว่าแบคทีเรียไอโซเลต E10B77 เป็นหนึ่งในแบคทีเรียที่มีเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืชสูงเป็น 3 อันดับแรก ในรา 6 ชนิด คือ A. furcatum, P. palmivora, P. oryzae, F. moniliforme, C. gloeosporioides และ F. solani โดยมีเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้งเท่ากับ 41.67, 31.03, 31.03, 25.58, 24.32, และ 24.20% ตามลำดับ โดยมีเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้ง F. proliferatum ได้ค่อนข้างต่ำ เพียง 9.09% เมื่อนำไอโซเลต E10B77 ไปพิสูจน์เอกลักษณ์ โดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่าไอโซเลต E10B77 มีลักษณะโคโลนีค่อนข้างกลม สีครีมขุ่น ผิวหน้าเรียบ วาว มีลักษณะรูปร่างของเซลล์เป็นท่อน ย้อมติดสีแกรมบวก และสามารถสร้างเอนโดสปอร์ได้ และการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA พบว่ามีความใกล้เคียง 99.93% กับแบคทีเรียหลายสปีชีส์ซึ่งจัดอยู่ใน Bacillus subtilis species complex เมื่อใช้ส่วนน้ำใสที่ปราศจากเซลล์ของไอโซเลต E10B77 ผสมกับอาหารแข็ง ในอัตราส่วน 1:1 แล้วทดสอบความสามารถในการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช พบว่าส่วนน้ำใสของไอโซเลต E10B77 สามารถยับยั้ง P. oryzae ได้มากที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 51.95% และมีเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้ง F. proliferatum ได้น้อยที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 12.77% ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียไอโซเลต E10B77 มีศักยภาพในการนำไปปรับใช้เพื่อการควบคุมราที่ก่อโรคในพืชได้ต่อไป |
Other Abstract: | The aims of this project were to isolate and screen for bacteria which were capable of inhibiting plant fungal pathogens. From 13 soil samples, 141 isolates were obtained. However, only 87 isolates survived and were subsequently able to grow. These isolates were subjected to test for their antifungal activity against fungal plant pathogens including Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliforme, Fusarium proliferatum, Fusarium solani, Phytophthora palmivora and Pyricularia oryzae. The results revealed that only 15 isolates were able to inhibit the growth of all fungal plant pathogens in this test. Comparison the ability to inhibit the growth of fungal plant pathogens by considering the percentage of inhibition and the number of fungal plant pathogens that these isolates were able to inhibit, it was found that isolate E10B77 was one of the top three bacteria that showed the highest percentage of inhibition against the growth of 6 fungi with 41.67, 31.03, 31.03, 25.58, 24.32, and 24.20% inhibition against A. furcatum, P. palmivora, P. oryzae, F. moniliforme, C. gloeosporioides and F. solani, respectively, and with the percentage of inhibition against F. proliferatum that was relatively low at only 9.09%. Morphological characterization of isolate E10B77 showed that its colony was rather round, creamy color, with smooth surface. Microscopic characterization revealed that isolate E10B77 was rod shaped, Gram positive, endospore forming bacteria. Analysis of 16S rDNA sequencing revealed that it was 99.93% similarity to several species of Bacillus subtilis species complex. By using cell free-broth from isolate E10B77 and mixed with solid medium at a ratio of 1:1, and then tested against fungal plant pathogens, it was found that the cell free-broth from isolate E10B77 showed the highest percentage of inhibition against P. oryzae at 51.95%, and the lowest percentage of inhibition against F. proliferatum at 12.77%. Taken together, isolate E10B77 showed the potential for the application in biocontrol of plant fungal pathogen. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65250 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theeranath T_Se_2561.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.