Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65409
Title: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยม และการเพิ่มพลังศักยภาพตนเองของแอนโทนี่ ร็อบบินส์
Other Titles: A model development to enhance the creative leadership for small and medium entrepreneurs by using the principles of organizing activities based on humanist and anthony robbin's self-empowerment
Authors: สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์
Advisors: เกียรติวรรณ อมาตยกุล
ศิวาพร นวลตา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาวะผู้นำ
ผู้ประกอบการ
ธุรกิจขนาดย่อม
กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Leadership
Businesspeople
Small business
Activity programs in education
Non-formal education
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยมและการเพิ่มพลังศักยภาพตนเองของแอนโทนี่ ร็อบบินส์ โดยมีสมมุติฐานของการวิจัยว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มพลังศักยภาพบุคคลจะสามารถพัฒนาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในตัวเองได้สูงกว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมที่ไม่ได้ผ่าน การเข้าร่วมกิจกรรม ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง โดยรูปแบบการทดลองมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 60 คนที่ อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม และสุ่มตัวอย่างแบบจับคู่เหมือนโดยยึดคะแนนภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ทดสอบก่อนการทดลอง เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพลังศักยภาพบุคคลโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ การเข้าร่วมลัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาพลังศักยภาพบุคคลสำหรับ SMEs" เป็นระยะเวลา 2 วันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และส่วนที่ 2 คือ การทำแบบฝึกหัดใน "โปรแกรม 21 วันสู่พลังศักยภาพบุคคล" ซึ่งเป็นคู่มือแห่งความสำเร็จให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้ทำกิจกรรมตามแบบฝึก หัดที่ได้รับการออกแบบไว้ในคู่มือ โดยจะเป็นการทำกิจกรรมด้วยการนำตน เองและต้องทำแบบฝึกหัดวันละ 1 บททุกวันเป็นเวลา 21 วันติดต่อกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า คะแนนภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop the model for enhancing the creative leadership for small and medium entrepreneurs by using the principles of organizing activities based on humanist and Anthony Robbins' self - empowerment. The hypothesis was that the small and medium entrepreneurs participated in self - empowerment training according to Humanist and Anthony Robbins' Concept that their creative leadership would be higher than the pretest and that of the small and medium entrepreneurs who did not participate in self - empowerment training. The research methodology was Quasi Experimental Research. The research design was The Pretest - Posttest Control Group Design. The 60 sample subjects were the small and medium entrepreneurs in Udonthani who volunteered to participate in self - empowerment training. The subjects were selected through sampling and matching by using the pretest of score on the creative leadership into two groups that were experimental group and control group, 30 persons for each. The experimental group participated in self - empowerment training according to humanist and Anthony Robbins’ concept that had 2 parts. The first part was to participate in the 2 day course for enhancing personal power for SMEs from 8 AM to 5 PM. The second one was to do the exercises according to ''21 Day Program to Personal Power " which is the success journal created for SMEs to do activities by self - directed learning. The instrument used in this research was the creative leadership inventory. The t - test was utilized for the data analysis from the creative leadership inventory. The obtained results were that the posttest creative leadership of the experimental group was higher than that of the control group significantly at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65409
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.700
ISSN: 9741714653
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.700
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_ki_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ860.76 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_ch1_p.pdfบทที่ 11.57 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_ch2_p.pdfบทที่ 24.02 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_ch3_p.pdfบทที่ 319.9 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_ch4_p.pdfบทที่ 4987.38 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_ch5_p.pdfบทที่ 51.52 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ki_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.