Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65792
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิศณุ ทรัพย์สมพล-
dc.contributor.authorวรุณ สถิรวุฒิพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-15T07:39:20Z-
dc.date.available2020-05-15T07:39:20Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741735391-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65792-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงในลักษณะต่าง ๆ ที่มีต่อระยะเวลาก่อสร้างของกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างถนน สำหรับนำไปใช้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่เหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดในขั้นตอนของการวางแผนโครงการถนน โดยการศึกษาผลกระทบจากแต่ละปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้น เป็นการศึกษาระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อระยะเวลาก่อสร้างของกลุ่มงานต่าง ๆ โดยใช้แบบ สอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลัก ในการสำรวจความคิดเห็นจากผู้รับเหมาก่อสร้างทาง และเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างทางของกรมทางหลวง จากการสำรวจ พบว่า ปัจจัยเสี่ยงเรื่องฝนตกเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากต่อระยะเวลาของกลุ่มงานดิน งานรองพื้นทาง งานพื้นทาง และงานผิวทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีจำนวนวันฝนตกในช่วงฤดูฝนประมาณ 90 และ 120 วัน สำหรับจังหวัดที่มีปริมาณฝนรายปีน้อยกว่าและมากกว่า 1500 มม. ตามลำดับ นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบมากต่อระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด ยกเว้นปัจจัยเสี่ยงเรื่องฝนตกล้วนอยู่ในกลุ่มงานดิน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงเรื่องสภาพดินเดิม การเข้าพื้นที่และกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการย้ายระบบสาธารณูปโภค เป็นปัจจัยที่ถูกนำไปวิเคราะห์ผลกระทบต่อระยะเวลาก่อสร้างของกลุ่มงานดิน โดยนำผลจากการสำรวจทางแบบสอบถาม มาสร้างเป็น Fuzzy Membership Function ของระยะเวลาก่อสร้างที่ควรเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาปกติเมื่อประสบปัญหาในลักษณะต่าง ๆ จากปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการประเมินความเสี่ยงที่สร้างขึ้น ถูกนำมาใช้ประกอบกับวิธีการประมาณระยะเวลาก่อสร้างถนนแบบดั้งเดิมที่มีการดัดแปลง เพื่อทดสอบความถูกต้องของ Membership Functions ที่สร้างขึ้นมา กับโครงการก่อสร้างถนนที่ประสบกับปัจจัยเสี่ยงในขณะก่อสร้าง จนทำให้แล้วเสร็จล่าช้ากว่าที่กำหนด จำนวน 7 โครงการ ผลการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประมาณระยะเวลาโดยใช้ Membership Functions หาระยะเวลาที่เหมาะสมกับความเสี่ยง พบว่า ให้ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 9.13% สำหรับระยะเวลากลุ่มงานดิน และ 12.29% สำหรับระยะเวลารวมของโครงการ ซึ่งมีค่าน้อยกว่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากการประมาณระยะเวลา โดยใช้วิธีการวางแผนแบบเดิม ที่ไม่ได้มีการพิจารณาความเสี่ยงประกอบ ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยง สำหรับการวางแผนด้านระยะเวลาโครงการ เพื่อลดผลกระทบจากการวางแผนด้านระยะเวลาที่ผิดพลาดในโครงการที่ต้องประสบกับปัจจัย เสี่ยงต่าง ๆ-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to analyze the effect of several risk factors on duration time in highway construction and related activities. The analysis was used in estimating duration time corresponding to precictable risk condition in highway project planning stage. In preliminary study, impact level of risk factors on duration time in highway activities were ranked by both highway contractors and senior engineers of the Department of Highways (DOH) through questionnaires and interviews. The survey result indicates that rain is the major factor affecting duration time of earthwork, subbase, base, and surface construction. The report from the Meteorological Department shows that there are 90 and 120 rainy days in provinces which have rainfall less than and more than 1500 mm respectively. Apart from rain factor, other factors that have high impact on duration time are earthwork-related tasks. These factors include soil condition, proprietary right of land, and relocation of utility system. The additional time needed when these factors were applied was calculated from the fuzzy membership function constructed from the survey result. Proposed risk assessment form was used alorg with modified traditional method of estimating the duration time of the construction to verify the constructed membership functions by comparing the estimated and actual duration time of seven delayed projects coping with risk factors during construction. The result shows that average errors of estimated earthwork and project duration time are 9.13% and 12.23% respectively which are less than errors from traditional method. Thus, the proposed method can serve as a risk assessment guideline for planning construction time. It can help minimizing the impact from underestimating the duration time especially in project dealing with risk factors.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectถนน -- การออกแบบและการสร้างen_US
dc.subjectการประเมินความเสี่ยงen_US
dc.subjectRoads -- Design and constructionen_US
dc.subjectRisk assessmenten_US
dc.titleการวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่อระยะเวลาก่อนสร้างถนนen_US
dc.title.alternativeAnalysis of risk factors affecting highway construction durationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warun_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ872.41 kBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1855.23 kBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch2_p.pdfบทที่ 2906.64 kBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31 MBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.47 MBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch5_p.pdfบทที่ 51.57 MBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch6_p.pdfบทที่ 61.04 MBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_ch7_p.pdfบทที่ 7775.1 kBAdobe PDFView/Open
Warun_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.