Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65852
Title: | การกระทำความผิดทางเพศของบุคคลในครอบครัว |
Other Titles: | Family sexual offence |
Authors: | นฤพนธ์ จ้อยทองมูล |
Advisors: | มัทยา จิตติรัตน์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อาชญากรรมทางเพศ--ไทย สามีและภรรยา--สถานภาพทางกฎหมาย--ไทย ความรับผิดทางอาญา--ไทย ความผิด (กฎหมาย)--ไทย การข่มขืนภรรยา Sex crimes--Thailand Rape in marriage Husband and wife--Legal status, laws etc.--Thailand Criminal liability--Thailand Guilt (Law)--Thailand |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงข้อจำกัดของบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และความผิดฐานมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีสายเลือดเดียวกันหรือผู้อยู่ใต้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 และมาตรา 285 ตามลำดับ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างเต็มที่เพราะการกระทำความผิดทางเพศได้มีรูปแบบแตกต่างไปจากกรณีที่กฎหมายบัญญัติ ดังในกรณีความผิดฐานข่มขืน หากสามีใช้กำลังบังคับขืนใจภริยาเพื่อการมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความยินยอมจากภริยา ภริยาจะไม่ได้รับความคุ้มครองในความผิดฐานข่มขืนกระทำ ชำเราเพราะถือว่าการสมรสนั้นได้นำมาซึ่งความยินยอมมีเพศสัมพันธ์กับชายผู้เป็นสามีตลอดเวลาที่ยังเป็นสามีภริยากัน และกรณีที่การมีเพศสัมพันธ์ผู้มีสายเลือดเดียวกันตามความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 285 หากเกิดจากผู้กระทำเป็นผู้สืบสันดาน หรือเป็นญาติสืบสายโลหิตในลำดับอื่น ๆ อาทิ ลุง ป้า น้า หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน และตลอดจนผู้กระทำเป็นพ่อเลี้ยง ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นหนึ่งในสามแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่บุคคลดังกล่าวต่างมีสายเลือดเดียวกันหรือมี ความใกล้ชิดสนิทสนมต่อกันและสามารกใช้โอกาสเช่นนั้นแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากหญิงหรือคนใกล้ชิดได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากการมีเพศสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าวเกิดด้วยความยินยอมพร้อมใจกันและไม่มีฝ่ายใดตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องอายุที่กฎหมายอาญามุ่งคุ้มครองสำหรับความผิดทางเพศแล้วการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นความผิดเลย จากการศึกษาพบว่า ในกรณีสามีใช้กำลังบังคับขืนใจภริยาเพี่อมีเพศสัมพันธ์นั้นยังไม่มีบทบัญญัติให้สามีต้องรับผิดจากข่มขืนกระทำชำเราภริยา ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเองก็มีทัศนะคติต่อการกระทำดังกล่าวว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว ไม่ควรที่จะนำกฎหมายอาญาเข้าไปใช้บังคับ แต่จะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยให้เสียทั้งแต่ต้นเป็นเหตุให้ปัญหาในจุดนี้ยังไม่ได้รับการสนใจอย่างเพียงพอเพี่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้มีบทบัญญัติอันเหมาะสมมาใช้บังคับ แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีบทบัญญัติให้สามีมีความรับผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราภริยาเอาไว้โดยที่สามารถจัดแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกบัญญัติให้เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในขณะที่ยังคงสถานภาพเป็นสามีภริยากันหากการมีเพศสัมพันธ์นั้นปราศจากความยินยอมของภริยา กลุ่มที่สอง กรณีเหมือนกับกลุ่มแรกแต่จะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเกิดขึ้นอาทิ มีการทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงเพื่อมีเพศสัมพันธ์ และกลุ่มสุดท้ายบัญญัติให้การมีเพศสัมพันธ์โดยภริยาไม่ยินยอมขณะที่มีการแยกกันอยู่เนื่องจากมีข้อตกลงระหว่างกันหรือตามคำสั่งศาล หรือระหว่างดำเนินการหย่าเป็นความผิดข่มขืนกระทำชำเราภริยา นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศอังกกษ ออสเตรเลีย และอิตาลี ยังมีบทบัญญัติให้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติผู้มีสายเลือดเดียวกันในทุกลำดับชั้นไม่ว่าจะเกิดจากความยินยอมหรือไม่ตามเป็นความผิด กล่าวคือ ในประเทศเหล่านี้จะพิจารณาถึงสถานะของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญว่ามีสายเลือดเดียวกันหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติที่เกิดจาก การสมรสและระหว่างพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเห็นได้ว่ากฎหมายต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้นให้ความสำคัญและปกป้องสิทธิของหญิงภริยาจากการถูกสามีบังคับขืนใจ ตลอดจนคุ้มครองชาติพันธ์ของมนุษย์มิให้เกิดการถ่ายทอดพันธุกรรมด้อยจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติสายเลือดเดียวกันโดยใช้โอกาสที่ผู้กระทำมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้ถูกกระทำในระดับที่มากกว่าบทบัญญัติของประเทศไทย จากปัญหาความไม่เหมาะสมของบทบัญญัติดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราให้ครอบคลุมกรณีสามีใช้กำลังบังคับขืนใจภริยาโดยมีการทำร้ายร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงในระหว่างสมรสเพี่อการมีเพศสัมพันธ์และการใช้กำลังบังคับขืนใจภริยาเพี่อมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีการแยกกันอยู่ตามข้อตกลงหรือตามคำสั่งศาล นอกจากนี้ยังได้เสนอให้แก้ไขเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติ โดยให้หมายถึงญาติสายเลือดเดียวกันในทุกลำดับชั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำและจะเกิดจากศวามยินยอมหรือไม่ก็ตามให้เป็นความผิด ทั้งให้รวมถึงกรณีผู้กระทำเป็นพ่อเลี้ยงที่แม้จะไม่มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย แต่ก็ให้ถือว่าพ่อเลี้ยงมีอำนาจดูแลปกครองลูกเลี้ยงได้ตามความเป็นจริงมาเป็นเงื่อนไขในการรับผิด |
Other Abstract: | This dissertation is aimed at studying the limitations in the Penal Code Covering sexual offences such as rape (section 276), incest and other sexual offences oy authority abuse (section 285). Currenty, they are insufficient to protect social order because, nowadays, there are many types of sexual crimes which are not covered by them. First, in the offence of rape, whereby a husband forces his wife and intimidates her into performing sexual intercaurse against her consent IS not considered rape because the woman is his wife and through marriage she has implicitly agreed to consent to her husband's sexual advances. Secondly, in situations of incest or other sexual abuses by authority, although they addressed by section 285, the offender, who IS an ascendant or other consanquinial relatives; such as uncle, aunt or sibling, shall not be considered heavier punishment by one third. Also, abuses of authoritative position such as that of a foster parents are not covered by the current provisions. Furthermore, there is no guilt if the offences are committed with the consent of both participants provided they are of legal age. The examination by this dissertation reveals that section 276, rape, does not cover sexual intercourse against wife’s will and the police officials attitude IS that it is a domestic affair, not a crime. They often conciliate those spouses that wny the proplems could not be solved to amend the law. In addition, in the United states, there IS a Marital rape law which punishes men who rape their wives. The law can be devided into three groups. First, during spousal period if sexual intercourse against wife’s consent occurs. Seconlly like the first group, but there should be extra circumstances such as an aggressive violence toward the wife. Third, the sexual intercourse without consent of the wife occurs. during a separation of their own agreement or a court’s order, or during the procedure of devorce. This dissertation also shows that in other countries such as the United kingdom, the United States, Australia and Italy, there have been enactments regarding the sexual intercourse committed by ccnsanguinial persons including foster-parents and foster children. Thus, the rights of a wife and those of vulnerable family members in other countries as they are given much more consideration than in Thailand. It IS suggested because of ineptitude lying in those current provisions that amendments to the Penal Code must be made in by inserting 3 new ccmprehensive definition of rape to a wife as an injured person in rape offences committed against her will by her husband and for cases of domestic sexual intercourse, it should cover every level of kinship, consanguinity and foster-parents and foster-children, even with or without consent. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65852 |
ISBN: | 9740308473 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narupon_jo_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 988.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 731.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 777.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Narupon_jo_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 762.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.