Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65976
Title: | ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานสำนักงานของบริษัท |
Other Titles: | Stress in the workplace and related factors among commercial firm office workers |
Authors: | สรีวัลย์ สนธิรัตน์ |
Advisors: | นันทิกา ทวิชาชาติ พวงสร้อย วรกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | พนักงานบริษัท -- ความเครียดในการทำงาน พนักงานบริษัท -- ความพอใจในการทำงาน Job stress Job satisfaction |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานสำนักงานของบริษัท โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานสำนักงาน จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียดและสุขภาพจิต ( General Health Questionnaire - 12 : GHQ - 12 ) แบบสอบถามเพื่อประเมินองค์ประกอบความเครียดจากการทำงานของ Mclean สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน , t-test 1 One-way ANOVA 1 Chi-square test 1 Pearson Correlation และ Stepwise multiple regression ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสำนักงานของบริษัทมีความเครียดคิดเป็นร้อยละ 36.5 ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าการมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกัน การมีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว การสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่จะทำให้มีความเครียดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุและเงินเดือนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีอายุน้อยจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีอายุมากจะมีความเครียดน้อย และพนักงานที่มิเงินเดือนน้อยจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีเงินเดือนมากจะมีความเครียดตํ่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงานพบว่า การปรับตัว, สภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยกระตุ้นความเครียด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีปัญหาการปรับตัวสูงจะมิความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาการปรับตัวตํ่าจะมีความเครียดตํ่า พนักงานที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานสูงจะมี ความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมตํ่าจะมีความเครียดตํ่า และพนักงานที่มีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดสูงจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดตํ่าจะมีความเครียดตํ่า อายุ, การปรับตัวและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นตัวพยากรณ์ความเครียดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงานพบว่าศาสนาต่างกันทำให้มีปัญหาจากการปรับตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีอายุน้อยจะมีปัญหาในการปรับตัวสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีอายุมากจะมีปัญหาจากการปรับตัวตํ่า จำนวนบุตรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยกระตุ้นความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีจำนวนบุตรมากจะมีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มิจำนวน บุตรน้อยจะมีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดตํ่า |
Other Abstract: | This study is cross-sectional descriptive design. The purpose of this study were to investigate stress in the workplace and related factors among commercial firm office workers. The subjects of this study Consisted of 375 commercial firm office workers. The instruments were demographic data questionnaire, General Health questionnaire - 12 (GHQ - 12) and McLean 's Self assessment of work stress. The data were proceed to determine percentage , mean , standard deviation 1 t - test, One - way ANOVA, Chi - square test 1 Pearson Correlation and Stepwise multiple regression The result of this study had shown that the prevalence of work stress of commercial firm office workers was 36.5 percents. Personal factors : The difference of family members, disease and non-disease, smoking and non-smoking were significantly which influenced to difference of stress at .05 level of confidence. Age and salary were significantly negative related to stress at .05 level of confidence. Young worker will have more stress than old worker and the workers who have low salary will have more stress than workers who have high salary. Work stress factors : Coping, work environment and stressors were significantly positive related to stress at .05 level of confidence. The workers who have problems in coping will have more stress than the workers who have less problems. The workers who have problems in work environment will have more stress than the workers who have less problems. The workers who have problems in stressors will have more stress than the workers who have less problems. Age, coping and work environment were significantly the predictors of stress at .05 level of confidence. Relationship between personal factors and work stress factors : The difference of religion were significantly which influenced to different problems in coping at .05 level of confidence. Age were significantly negative related to coping at .05 level of confidence. Young worker will have more problem in coping than old worker. Number of children were significantly positive related to stressors at .05 level of confidence. The workers who have more children will have more problems in stressors than the workers who have less children. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65976 |
ISBN: | 9741751192 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sareewan_so_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 914.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 866.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 795.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sareewan_so_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.