Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66251
Title: การศึกษารูปแบบความไวของเชื้อโปรปิโอนิแบคทีเรียมแอคเน่ จากผู้ป่วยสิวต่อยาปฏิชีวนะ
Other Titles: In vitro study of antibiotic sensitivity pattern of Propionibacterium acnes isolated from acne vulgaris patients
Authors: ปิยะวัฒน์ ภูมิสุวรรณ
Advisors: นภดล นพคุณ
อนันต์ จงเถลิง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สิว
โพรพิโอนิแบคทีเรียมแอคเน
การทดสอบความไวของจุลชีพ
Acne
Propionibacterium acnes
Microbial sensitivity tests
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญของปัญหา มีรายงานการดื้อยาของเชื้อ Propionibacterium acnes (P. acnes) ต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาลิวในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยมีการนิยมใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสิวเช่นกัน แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาการดื้อยาของเชื้อ P. acnes ต่อยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ในการรักษาในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบความไวของเชื้อ P. acnes จากผู้ป่วยสิวต่อยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้รักษาสิวในประเทศไทย วิธีดำเนินการ ได้ทำการศึกษาเชิงพรรณนา โดยทำการกดสิวอุดตันจากผู้ป่วยสิวจากผู้ป่วยสิว 81 คน แล้วนำมาเพาะเชื้อ และตรวจสอบหาเชื้อ p.acnes แล้วนำมาทดสอบหาค่าความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 5 ชนิด คือ คลินดามัยซิน, อีริทโธรมัยซิน, เตตร้าซัยคลิน, ดอกซีซัยคลิน และมิโนชัยคลิน ผลการศึกษา ผู้ป่วย 65 จาก 81 คนเพาะได้เชื้อ p.acnes พบค่าความเข้มข้นของยาตํ่าสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ที่ 90 เปอร์เซ็นไทต์ (MIC90) ของยาคลินดามัยซิน, อีริทโธรมัยซิน, เตตร้าซัยคลิน, ดอกซีซัยคลิน และ มิโนซัยคลินเท่ากับ 0.38, 0.038, 0.094, 0.175 และ 0.032 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ พบเชื้อ P.acnes จากผู้ป่วย 4 คนดื้อต่อยาคลินดามัยซิน และอีริทโธรมัยซิน คิดเป็น 6.15% โดยไม่พบการดื้อต่อยาเตตร้าซัยคลิน ดอกซีซัยคลิน และมิโนซัยคลิน ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อที่เพาะขึ้นกับความรุนแรงของสิว ช่วงอายุ เพศ และประวัติการรักษา พบมีแนวโน้มการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เคยได้รับการรักษามาก่อน และช่วงอายุน้อยโดยไม่สัมพันธ์กับเพศ พบค่า MIC ของยาอีริทโธรมัยซินสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากเมื่อเทียบกับที่มีอาการรุนแรงน้อยและรุนแรงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยไม่พบความแตกต่างของค่า MIC ของยาที่ศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบในด้านการรักษาที่เคยได้รับ ช่วงอายุ และเพศแต่พบว่ามีแนวโน้มค่า MIC สูงขึ้นกลุ่มผู้ป่วยที่เคยได้ยาทาภายนอก สรุป พบอุบัติการณ์การดื้อยาของโปรปิโอนิแบคทีเรียมต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้มากในปัจจุบันคือ คลินดามัยซิน และอีริทโธรมัยซิน คิดเป็น 6.15% ค่า MIC สูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อน และพบมีแนวโน้มการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เคยได้รับการรักษามาค่อน และช่วงอายุน้อย
Other Abstract: Background : There were many reports on resistance of Propionibacterium acnes (P.acnes) to many antibiotics used in treatment of acnes in many countries. This had not been documented in Thailand. Objectives : To study sensitivity pattern of p.acnes from patients with acne vulgaris Methods : p.acnes was cultured from comedone lesions. The sensitivity tests for clindamycin, erythromycin, doxycycline, tetracycline and minocycline were done to determine Minimal inhibitory concentration (MIC) and drug resistance. Results : P.acnes were cultured from 65 of 81 patients with acnes. MIC90 of clindamycin, erythromycin, doxycycline, tetracycline and clindamycin was 0.38, 0.038, 0.094, 0.175 and 0.032 µg/ml respectively, p.acnes from 4 patients (6.15%) resisted to clindamycin and erythromycin, p.acnes were found in every types of patients. The resistance had tendency to occur in patients with severe acnes and young patients with acnes. The MIC of erythromycin was significantly higher in patients with severe acnes than mild and moderate acnes. There was no different statistical significance of MIC among age, sex and history of treatment but previously topical treated patients had tendency to have higher MIC. Conclusions : We found that 6.15% of p.acnes cultured from comedone lesion from Thai patients resisted to clindamycin and erythromycin. The MIC was higher in previously treated patients. The resistance had tendency to occur in patients with severe acne, younger patients and previously treated patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66251
ISBN: 9741705387
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawat_po_front_p.pdf826.07 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch1_p.pdf637.04 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch2_p.pdf987.26 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch3_p.pdf632.12 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch4_p.pdf634.81 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch5_p.pdf840.85 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch6_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch7_p.pdf963.89 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_ch8_p.pdf717.21 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_po_back_p.pdf935.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.