Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66504
Title: | การเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันแบบวิวิธพันธุ์ของน้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันมะพร้าว |
Other Titles: | Heterogeneous catalytic transesterification of palm kernel oil and coconut oil |
Authors: | ศิตา เบ็ญจพรกุลพงศ์ |
Advisors: | กัญจนา บุณยเกียรติ ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ทรานเอสเทอริฟิเคชัน เชื้อเพลิงไบโอดีเซล |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการสังเคราะห์ไบโอดีเซลจากปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันมะพร้าวกับเมทานอล ซึ่งเร่งปฏิกิริยาด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบสที่เตรียมขึ้นโดยนำเกลือโลหะฝังลงบนตัวรองรับ โดยเลือกเกลือโลหะ 3 กลุ่มคือ เกลือไฮดรอกไซค์ คาร์บอเนต และไนเตรดของโลหะหมู่ 1 และ 2 รวม 15 ชนิด ได้แก่ NaOH KOH Mg(OH)₂ Ca(OH)₂ Ba(OH)₂ Li₂CO₃ Na₂CO₃ K₂CO₃ MgCO₃ CaCO₃ BaCO₃ LiNO₃ NaNO₃ Mg(NO₃)₂ และCa(NO₃)₂ และตัวรองรับ 5 ชนิดที่มีสมบัติแตกต่างกัน ได้แก่ AI₂O₃ SiO₂ -AI₂O₃ MgO hydrotalcite และ activated carbon พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเหมาะสม คือ Ca(NO₃)₂/AI₂O₃ โดยมีปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก สามารถเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ได้ร้อยละเมทิลเอสเทอร์สูงถึง 93.73 และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก สามารถเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันมะพร้าว ได้ร้อยละเมทิลเอสเทอร์สูงถึง 91.23 ที่อัตราส่วนโดยโมลระหว่างเมทานอลและน้ำมันพืชเป็น 65 ต่อ 1 อุณหภูมิ 60 ˚̊ซ ในเวลา 3 ชั่วโมง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการทำหน้าที่ของตัวเร่งปฏิกิริยาคืออุณหภูมิแคลไซน์ และหาภาวะการทดลองที่เหมาะสมด้วยวิธีการทดลองเชิงแฟกทอเรียล แบบ 2k โดยศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลตอบสนองคือ ร้อยละเมทิลเอสเทอร์ นอกจากนี้ได้วิเคราะห์สมบัติทางเชื้อเพลิงของเมทิลเอสเทอร์ที่ได้เปรียบเทียบกับมาตรฐานไบโอดีเซล และน้ำมันดีเซล พบว่ามีสมบัติใกล้เคียงกัน |
Other Abstract: | Catalytic transesterification of palm kernel oil and coconut oil with methanol was studied over various heterogeneous base catalysts. Catalysts were prepared by impregnating metal salts loaded on supports. Three groups of alkai and alkai earth metal salts were used; carbonate, hydroxide and nirate. Fifteen types of metal salts i.e. NaOH KOH Mg(OH)₂ Ca(OH)₂ Ba(OH)₂ Li₂CO₃ Na₂CO₃ K₂CO₃ MgCO₃ CaCO₃ BaCO₃ LiNO₃ NaNO₃ Mg(NO₃)₂ and Ca(NO₃)₂ and five types of supports, i.e. AI2O₃ SiO₂ -AI₂O₃ MgO, hydrotalcite and activated carbon were used. Ca(NO₃)₂/AI₂O₃ exhibited the highest activity for transesterification, Ten % of the catalyst was needed for palm kernel oil and fifteen % for coconut oil to catalyze the reaction and resulted in methyl esters content is 93.73 % and 90.38 %, respectively. The optimal conditions were; the molar ratio of methanol to oil is 65:1, temperature 60 ℃, atmospheric pressure and 3 hour reaction time. The effect of calcination temperature on catalytic activity was also studied. Biodiesel products were tested and found to meet the specification of ASTM biodiesel and local diesel standards. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66504 |
ISBN: | 9741737262 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sita_be_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_ch1_p.pdf | 787.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_ch2_p.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_ch3_p.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_ch4_p.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_ch5_p.pdf | 674.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sita_be_back_p.pdf | 937.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.