Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66510
Title: การศึกษาแนวทางการออกแบบพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมไทยรัชกาลที่ 9
Other Titles: Study on design directions of Thai Buddhist architecture in the reign of King Rama IX
Authors: ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์
Advisors: แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
ผุสดี ทิพทัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การออกแบบสถาปัตยกรรม
ศิลปกรรมพุทธศาสนา
สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา
สถาปัตยกรรม -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อรวบรวมผลงานการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยประเภทพระเจดีย์ พระอุโบสถ และพระวิหาร ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกผู้ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ หรือปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษา รวม 8 ท่าน ทำการศึกษาแนวทางการออกแบบของสถาปนิกแต่ละท่าน รวมทั้งศึกษาลักษณะร่วม และลักษณะต่างในงานงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 9 โดยผลงานที่นำมาเป็นกรณีศึกษาต้องสร้างในสมัยรัชกาลที่ 9 และมีที่ตั้งในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้มานำมาทำการแยกพิจารณาเป็นหัวข้อ ดังนี้ แนวความคิดในการออกแบบ, ประวัติความเป็นมาของวัด และสถาปัตยกรรมที่ทำการศึกษา, การเลือกที่ตั้งอาคาร, แผนผังอาคารกับหน้าที่ใช้สอย, รูปแบบสถาปัตยกรรม, สีและวัสดุในการตกแต่งอาคาร, ระบบโครงสร้างและเทคนิควิธีการก่อสร้าง, แสงและที่ว่างภายในอาคาร จากการศึกษา พบว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบัน มีความหลากหลาย อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ประกอบกับการศึกษาในหลักสูตรสถาปัตยกรรม ส่งผลให้สถาปนิกมีอิสระทางความคิดในการออกแบบตามลักษณะเฉพาะของตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางการออกแบบยังคงดำเนินแนวทางตามรอยเท้าครู ซึ่งแบ่งเป็น ครูที่เป็นสถาปัตยกรรมในอดีต ในด้านพัฒนาการแยกพิจารณาตามประเภทอาคาร ดังนี้ พระอุโบสถ มีการสร้างมากที่สุด เพราะถือเป็นอาคารประธานของวัด ปัจจุบันมีการใช้งานภายชั้นฐาน ซึ่งยกสูงเป็นพื้นที่อเนกประสงค์, พระเจดีย์ ในปัจจุบันนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังมีประโยชน์ในสอยเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนหน้าที่การใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์, พระวิหาร มีการสร้างน้อยที่สุด เพราะประโยชน์ใช้สอยอย่างในอดีตได้ย้ายไปใช้ที่พระอุโบสถและศาลาการเปรียญแทน พระวิหารจึงมีหน้าที่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพียงอย่างเดียว แนวทางการออกแบบพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมไทย รัชกาลที่ 9 แยกพิจารณาได้เป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยซึ่งสืบทอดแนวทางจากอดีต ลักษณะที่ชัดเจนที่สุด คือ รูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบสถาปัตยกรรม อีกทั้ง วัสดุในการประดับตกแต่ง, แสงและการระบายอากาศและระบบสัญลักษณ์ อีกแนวทางหนึ่ง คือ แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบโครงสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้เทคนิควิธีการสมัยใหม่ และเริ่มมีการใช้โครงสร้างเหล็ก รวมทั้งระบบการใช้สีและวัสดุในการประดับตกแต่ง และระบบการตกแต่งภายใน
Other Abstract: This research aims to gather information on a variety of pagoda, church, and monastic Thai Buddhist architectural styles. The works of eight architects, seven national artists and one educationalist are included in this study. The emphasis of the study is on each artist’s design direction, which is also compared and contrasted with that of other Thai architectures in the reign of King Rama IX. The works selected for the study are those built in this reign and located in the Kingdom of Thailand. The nine dimensions of design directions explored in this study are design concept; temple history in relation to architecture; selection of architecture location; architecture layout and function; architectural style; color and materials used for decoration; structural system and construction technique; light and space of architecture. When analyzed according to the above classifications, the church architectural style is identified in the majority of the buildings studied because of its principal role in temples. For example, it basement is nowadays used multi-functionally. The pagoda architectural style ranks second. In addition to being used for installing relics of Buddha, it may serve other functions like that of a museum. Lastly comes the monastic architectural style, of which uses have now been replaced by those of church and Sala Kanparien. Therefore, it serves only for installing the Buddha image. The design directions of present-day Thai buildings are varied, resulting from a change in socio-economic conditions. Such a variation is also a consequence of the architects’ education, which has helped them to develop conceptual freedom in their design. However, their design directions still follow those of their masters, which mean both person masters and past architecture masters. The nine design-direction dimensions can be classified as those following traditional design directions and those emerging in modern times. The elements that still follow the traditional design directions include the general architectural style and the element of architecture, decoration materials, light and ventilation systems, and symbolic systems. In comparison, modern trends are expressed in the structural system that are now useds. These include concrete reinforcement, the use of a steel structure, the color and materials, used for decoration, and the interior architectural style.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66510
ISBN: 9741735286
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphawat_hi_front_p.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch1_p.pdf836.17 kBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch2_p.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch3_p.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch4_p.pdf50.42 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch5_p.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_ch6_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suphawat_hi_back_p.pdf727.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.