Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66704
Title: การดูแลสุขภาพตนเองของประชากรวัยแรงงานในชุมชนแออัด เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Self health care of labor force in congested areas in Beungkum District, Bangkok Mehtopolis
Authors: จุฬา กุลฉิม
Advisors: อัจฉรา เอ๊นซ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
แรงงาน
ชุมชนแออัด -- กรุงเทพฯ -- บึงกุ่ม
Self-care, Health
Labor
Slums -- Bangkok -- Beungkum
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองและปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของประชากรวัยแรงงานในชุมชนแออัด เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร การดูแลสุขภาพตนเองที่ศึกษาครอบคลุมการดูแลสุขภาพตนเองในภาวะปกติและการดูแลสุขภาพตนเองในภาวะเจ็บป่วยข้อมูลที่ใช้มาจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 451 รายที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีและอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดที่เป็นตัวอย่าง 4 ชุมชนของเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครนานกว่า 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลางและการดูแลสุขภาพตนเองที่มักปฏิบัติเป็นประจำคือการดูแลสุขภาพตนเองในภาวะเจ็บป่วยในการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่ายพบว่าความรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ อายะ สถานภาพสมรส การมีประสบการณ์การเจ็บป่วยการศึกษาการมีสถานพยาบาลในชุมชนการับข่าวสารด้านสุขภาพอาชีพรายได้การมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลและความเชื่ออำนาจความบังเอิญด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองและผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 15 ตัวแปรสามารถอธิบายการแปรผันของการดูแลสุขภาพตนเองได้ประมาณร้อยละ 13 และตัวแปรที่สามารถอธิบายการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียง 4 ตัวแปรเท่านั้นคือเพศการอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีสถานพยาบาลความรู้ด้านสุขภาพและทัศนคติด้านสุขภาพ
Other Abstract: Self health care of the samples was at moderate level; frequently reported behavior was health deviation self care. The bivariate regression analyses indicated that knowledge toward health, attitude toward health, internal health locus of control and powerful other health locus of control, each, had a positive influence on self health care at the 0.05 significance level; while variables such as sex, age, marital status, experience with an illness, education, living in the community with a health services center, receiving information toward health, occupation, income, having health welfare and chance health locus of control did not. The multiple regression analysis revealed that the 15 independent variables could explain 13 percent of the variation of self health care. There were four variables which could explain self health care at the 0.05 significance level: Knowledge toward health, attitude toward health, sex, and living in the community with a health services center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66704
ISSN: 9741768303
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chula_ku_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ869.73 kBAdobe PDFView/Open
Chula_ku_ch1_p.pdfบทที่ 12.14 MBAdobe PDFView/Open
Chula_ku_ch2_p.pdfบทที่ 21.03 MBAdobe PDFView/Open
Chula_ku_ch3_p.pdfบทที่ 31.94 MBAdobe PDFView/Open
Chula_ku_ch4_p.pdfบทที่ 4785.51 kBAdobe PDFView/Open
Chula_ku_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.