Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66735
Title: | ผลของการใช้การดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมองต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย |
Other Titles: | The effect of using primary nursing for neurosurgical patients on patients' satisfaction of nursing service |
Authors: | นงนุช ประสิทธิ์วิไล |
Advisors: | พันธ์ศักดิ์ พสสารัมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การพยาบาลศัลยศาสตร์ บริการการพยาบาล ความพอใจของผู้ใช้บริการ Surgical nursing Nursing services User satisfaction |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้การดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดสมองในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม และกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม คัดเลือกเข้ากลุ่มโดยวิธีการจับคู่ตามลักษณะของเพศและอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง โดยใช้แนวคิดการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้ของ Marram et al. (1979) และ Macguire (1989) คู่มือการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง แบบทดสอบความรู้เรื่อง การดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้และการผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบสังเกตการดูแลผู้ป่วยแบบพยาบาลเจ้าของไข้ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วย เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความรู้เรื่องการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้ และการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 1 ส่วนแบบสังเกตการดูแลผู้ป่วยแบบพยาบาลเจ้าของไข้และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ .93 ตามลำดับ วิธีการดำเนินการทดลอง คือผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่ 1 และกลุ่มควบคุมที่ 2 จะได้รับบริการพยาบาลตามปกติ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยก่อนจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย ส่วนกลุ่มทดลอง จะได้รับบริการตามแนวทางการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลเช่นกัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความพึงพอในในบริการพยาบาลโดยรวมของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรมการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง ไม่แตกต่างกัน แต่ความพึงพอใจในบริการพยาบาลเกี่ยวกับการแนะนำตนเองก่อนให้การพยาบาล การได้รับการดูแลจากพยาบาลคนเดิมอย่างต่อเนื่อง การเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน และการให้คำแนะนำเมื่องจำหน่ายออกจากโรงพบาบาล ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to compare the patients’ satisfaction of nursing service before and after using primary nursing for neurosurgical patients. Study subjects consisted of 60 neurosurgical patients at Surgical Unit. Ramathibodi hospital. The subject were divided into 3 groups: 2 control groups and an experimental group. The subjects in each group were matched by sex and age. Study instruments were primary nursing for neurosurgical patients program, a manual of primary nursing for neurosurgical patients. Primary Nursing Care Knowledge Questionnaire (PNCKQ). Nursing Care of Neurosurgical Patients’ Knowledge Questionnaire (NCNPKQ). Primary Nursing Care Observation (PNCO) and Patients’ Satisfaction of Nursing Service Questionnaire (PSNSQ). All instruments were tested for content validity. The reliability of PNCKQ and NCNPKQ were 1 and the reliability of PNCO and PSNSQ were .90, respectively. According to the experiment, patients of each control group received routine nursing service. They were asked to complete the PSNSQ when they were discharged. Patients of experimental group were took care by nurses performing primary nursing for neurosurgical patients program. When patients were discharged, they were asked to complete the questionnaire as well. All data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. Major finding was as follows: The overall of patients’ satisfaction of nursing service in control group and experimental group were not different. However, patients in experimental group felt more satisfied with self-introduction, continuum of nursing service, preparation for emergency care from primary nurses and discharge planning than patients in control group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66735 |
ISBN: | 9741424329 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nongnuch_pr_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 924.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nongnuch_pr_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.