Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67176
Title: | การพัฒนาระบบวางแผนผลิตวัสดุก่อสร้าง |
Other Titles: | Development of a production planning system for construction materials |
Authors: | ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ |
Advisors: | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การวางแผนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง อุตสาหกรรมวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง Production planning Inventory control Building materials industry |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบวางแผนผลิตในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นการผลิตแบบ Make to Stock ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมปริมาณสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยปัญหาที่กรณีศึกษาประสบอยู่คือ ความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาในระบบฐานข้อมูลไม่มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจาก ระบบการสั่งสินค้าจะสั่งแบบ online โดยไม่จำเป็นต้องวางเงินของสินค้า ทำให้ความต้องการสินค้าที่ส่งมายังฐานข้อมูลมีค่าสูงกว่าความต้องการจริง อีกทั้งกระบวนการวางแผนผลิตของกรณีศึกษาที่ไม่มีการกำหนดพารามิเตอร์ในการวางแผน ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาระบบการพยากรณ์อุปสงค์เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจในการสั่งผลิตสินค้า และพัฒนาระบบการวางแผนผลิตโดยประยุกต์ใช้ตัวแบบสินค้าคงคลังนโยบายกำหนดจุดสั่งและปริมาณการสั่ง (Order-point, Order-quantity) มาใช้สร้างพารามิเตอร์เพื่อช่วยตัดสินใจ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการนำพารามิเตอร์ไปใช้ในการวางแผนผลิต ซึ่งจากผลการทดลองเก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2554 พบว่า ระบบการพยากรณ์อุปสงค์สามารถลดความคลาดเคลื่อนได้ถึง 53% และ สามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ยลงได้ 51% ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจได้ว่าระบบการวางแผนผลิตที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้วางแผนกับกรณีศึกษาได้อย่างเหมาะสม |
Other Abstract: | This research aims to develop a production planning system in a construction materials industry, Under make-to-stock environment. Therefore, it is necessary to determine appropriate the amount of inventory to meet the demand of customers. The problem in the case study comes from unreliable customers' demand in the demand database because customers can place order online system without any deposits. As a result, the customer demands the database do not match with actual demands. Moreover, the production planning process lacks proper of parameters. Thus, a demand forecasting system was developed for the decision making in production. In addition, inventory policy (Order-point,Order-quantity) was been applied in the proposed production plan system to determine the parameters together with methodoloty of applying parameters to production planning. The results of the system testing between July and august 2001 found that the forecasting demand system can reduce forecast error by 53% and the average inventory level can be reduced by 51%. Therefore, the proposed planning system is appropriate for this case study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67176 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanawat_ie_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 888.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 877.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanawat_ie_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.