Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67212
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ภาวิณี สมรรคบุตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-22T08:19:06Z | - |
dc.date.available | 2020-07-22T08:19:06Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741438192 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67212 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดเชิงสังคมและการเมืองในงานสื่อสารการแสดงประเภทละครเวทีสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 2510 2. ศึกษาแนวคิดเชิงสังคมและการเมืองในงานสื่อสารการแสดงของนักวิชาชีพการละครในช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2548 3. ศึกษาแนวคิดและกระบวนการสื่อสารในการนำเสนองานสื่อสารการแสดงที่มีแนวคิดเชิงสังคมและการเมืองของนักวิชาชีพการละครในช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2548 โดยใช้วิธีการแบบสหวิธีวิทยาการ คือ 1. การวิจัยเอกสาร 2. การสังเกตการณ์ และ 3. การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ซึ่งแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเรื่องการสื่อสารเชิงสุนทรียะ แนวคิดเกี่ยวกับละครในฐานะกระบวนการสื่อสาร และแนวคิดศิลปะเพื่อชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ผลงานสื่อสารการแสดงประเภทละครเวทีสมัยใหม่ที่สะท้อนแนวคิดเชิงสังคมและการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 2510 มีประเด็นทางสังคมและการเมืองอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการขับเคลื่อนทางสังคม โดยเนื้อหามุ่งเน้นการกระตุ้นจิตสำนึกเพื่อมวลชน และการรับใช้สังคม โดยแรงผลักดันของบริบทสังคมและการเมือง และอิทธิพลของแนวคิดศิลปะเพื่อชีวิต สำหรับการศึกษาการสื่อสารเชิงสุนทรียะ – สังคมในปัจจุบัน (พ.ศ. 2544 – 2548) พบว่าผลงานสื่อสารการแสดงโดยส่วนใหญ่มักไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองโดยตรง หากแต่เป็นการนำเสนอประเด็นทัศนะต่อสังคม ได้แก่ 1. ความรุนแรง ความขัดแย้ง และการแก่งแย่งในสังคม 2. การตั้งคำถามต่ออำนาจรัฐ 3. ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่ 4. ทางเลือกในการดำเนินชีวิต 5. การดำรงอัตลักษณ์ในสังคม ส่วนรูปแบบมักใช้รูปแบบการนำเสนอเชิงการแสดง (non – realistic) โดยการผสมผสานหลายรูปแบบเข้าด้วยกันเป็นหลัก อาทิ การสื่อสารโดยการใช้ร่างกาย การนำเสนอความรู้สึกภายในในรูปแบบเหนือจริง และการใช้สื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น ทั้งนี้ เทคนิคหนึ่งที่มักจะถูกใช้คือ การเล่าเรื่องผ่านตัวละครเอก ในด้านทัศนะของนักวิชาชีพการละครนั้น มีความเชื่อมั่นในพลังการสื่อสารของศิลปะประเภทละครเวที ว่าสามารถกระตุ้นและสั่งสมจิตสำนึกต่อสังคม และมีความเห็นว่างานสื่อสารการแสดงสามารถเติบโตขึ้นได้ หากนักวิชาชีพมีความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสถาบันทางสังคมและการเมืองมิได้เกื้อหนุนต่อการเติบโตของศิลปะการละครเท่าที่ควร ซึ่งย่อมส่งผลต่อการพัฒนาผู้รับสาร ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis has three objectives: first to study the social and political concepts in Performing Arts (Modern Theatre), especially during 1967-1977; second to study the social and political concepts in Performing Arts of Professional Theatre Artists from 2001 to 2005; and third to study in communication process for presenting drama professionals’ social and political concepts through the aesthetic communication in Performing Arts from 2001 to 2005. The study had used interdisciplinary method; 1. document research approach, 2. observation approach, and 3. participated observation approach. The concepts, which were used in this study, are the concept of aesthetic communication, drama as communication process, and art for lives. The result of the study found that the Performing Arts (Modern Theatre) which reflect the social and political ideas during 1967 – 1977 focused on issues for the purpose of motivating social conscience and action. This phenomenon was forced by the context of social and political conditions and the idea of art for life. For the study of “The Aesthetic – Societal Communication of Professional Theatre Artists” at present (2001 – 2005), it was found that most performing arts did not criticize politics directly, only raised some issues such as; 1. Violence, conflicts, and competition, 2. questions of state power, 3. effects from economic conditions and modern technology, 4. alternative for lifestyles, 5. maintaining individual identity. The non – realistic form often used for presentation mixes various forms; such as physical theatre, expressionism, and multimedia. One technique always used is to tell a story through a main character. In the point of view of drama professionals, they strong believe in the power of the Aesthetic Communication of Performing Arts (Modern Theatre) and that this kind of art communication can stimulate social conscience. Besides professionals believe that the Performing Arts can be developed if they are intent to create quality works for public. However, social and political institutes have paid very little support for the growth of the dramatic arts. This fact effects development of audience in quantity and quality. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสื่อสาร | en_US |
dc.subject | ละคร | en_US |
dc.subject | ละครเวที | en_US |
dc.subject | ศิลปะการแสดง | en_US |
dc.subject | สุนทรียศาสตร์ | - |
dc.title | การสื่อสารเชิงสุนทรียะ-สังคม ของนักวิชาชีพการละคร | en_US |
dc.title.alternative | Aesthetic-societal communication of professional theatre artists | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pavinee_sa_front_p.pdf | 907.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_ch1_p.pdf | 863.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_ch2_p.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_ch3_p.pdf | 738.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_ch4_p.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_ch5_p.pdf | 823.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pavinee_sa_back_p.pdf | 734.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.