Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6727
Title: การติดตามผลครุศาสตร์บัณฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกคณิตศาสตร์ : รายงานการวิจัย
Other Titles: A follow-up study of graduates with bachelor's degree in education in the field of secondary education, mathematics major
Authors: พร้อมพรรณ อุดมสิน
สุวัฒนา อุทัยรัตน์
อัมพร ม้าคนอง
Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--บัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--หลักสูตร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของครุศาสตรบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกคณิตศาสตร์ 2) สำรวจความคิดเห็นของครุศาสตรบัณฑิต สาขามัธยมศึกษาวิชาเอกคณิตสาสตร์ เกี่ยวกับคุณลักษณะของตนเองที่ได้จากการเรียนตามหลักสูตรและการนำความรู้ในเนื้อหาวิชาเอกคณิตศาสตร์ไปใช้ และ 3) สำรวจความคิดเห็นของครุศาสตรบัณฑิต สาขามัธยมศึกษาวิชาเอกคณิตสาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตร ตัวอย่างประชากรเป็นครุศาสตรบัณฑิต สาขามัธยมศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัรฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกคณิตศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบดังนี้ 1. สถานภาพของบัณฑิตส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง เป็นบัณฑิตวิขาเอกคณิตศาสตร์แบบเอกเดียวมีงานทำโดยประกอบอาชีพทางการศึกษา โดยสอนระดับมัธยมศึกษาตอนนต้นเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. บัณฑิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ตนเองมีคุณลักษณะที่ได้จากการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก และคุณลักษณะย่อยที่บัณฑิตมีความคิดเห็นว่าตนเองได้จากการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุดคือ สามารถสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีความภูมิใจศรัทธาต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรม จริยธรรม บัรฑิตมีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ในเนื้อหาวิชาเอกคณิตศาสตร์ไปใช้อยู่ในระดับปานกลางและความรู้ในเนื้อหาของกลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์ที่บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปใช้อยู่ในระดับมาก คือ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษา ความน่าจะเป็นและสถิติ เรขาคณิต ทฤษฎีสมการ พีชคณิต หลักคณิตศาสตร์ แคลคูลัส และตรรกศาสตร์ 3. บัณฑิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะ (วิชาครู) อยู่ในระดับน้อยโดยส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับมากเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติที่มีน้อย และบัรฑิตมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาการเรียนการสอนในหมวดวิชาเฉพาะ (วิชาเอกคณิตศาสตร์) อยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เกี่ยวกับเนื้อหาเคณิตศาสตร์บางวิชายาก เนื้อหาวิชามีทฤษฎีหรือการพิสูจน์มาก และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ยาก
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study state of graduate with bachelor's degree in education inn the filed of secondary education, mathematics major, 2) to survey opinions of graduates with bachelor's degree in education in the filed of secondary education, mathematics major concerning self-attributes obtained from learning according to the cuuricula, and the application of mathematics content, and 3) to survey opinions of graduates with bachelor's degree in education in the field of secondary eduation, mathematics major concdrning instructional problems. The subjects of this study were 56 graduates with bachelor's degree in education inn the field of secondary education, mathematics major inn the academic year of 1999. The research instruments was a questionnaire. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The results were as follows: 1. Most of the graduates were female with single major inn mathematics, worked in education area, and taught at the lowersecondary education level and upper secondary education level respectively. 2. Most of graduates had the opinions that they had developed self-attributes during the study at the high level. Sub-attributed that they had obtained at the highest level were ability to teach at lower secondary education level, the professional ethics, the pride of the profession, and good moral and virtue. The graduates perceived that they could apply mathematics knowledge at the moderate level. Mathematics knowledge that they could apply at the high level were computers, mathematics for secondary school teachers, probability and statistics, geometry, theory of equations, algebra, principles of mathematics, calculus, and logic. 3. Most of graduates had instructional problems in general education and specific education area (teacher education courses) at the low level which mostly concerned with little prctice. Most graduates had instruction problems in mathematics courses at the moderate level, which mostly concerned with the difficulty of mathematics content, content consisted of many theories and proof, and the test was also difficult.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6727
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prompan(Mathe).pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.