Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6773
Title: | ผลกระทบของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่มีต่อผู้สอบบัญชี |
Other Titles: | The Effects of Accounting Profession Act B.E. 2547 towards auditors |
Authors: | กฤษฎา รัตนโนดม |
Advisors: | พรรณนิภา รอดวรรณะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 การสอบบัญชี ผู้สอบบัญชี ความพอใจ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่มีต่อผู้สอบบัญชี โดยทำการศึกษาในลักษณะของการสำรวจ มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงความเข้าใจของผู้สอบบัญชีในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พบว่า ผู้สอบบัญชีมีความเข้าใจในระดับปานกลาง แต่จะมีความเข้าใจค่อนข้างมากในเรื่องที่ใกล้ตัวของผู้สอบบัญชี คือเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในระยะแรกเท่านั้น ในส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีที่มีต่อพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พบว่า ผู้สอบบัญชีมีความพึงพอใจมากในพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ยังต้องการให้เพิ่มโทษของการกระทำผิดให้สูงขึ้น สำหรับส่วนสุดท้ายเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และคุณลักษณะของผู้สอบบัญชี พบว่า ความเข้าใจในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ของผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์กับความต่อเนื่องของการเข้าอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีที่มีต่อพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 โดยรวมพบว่า ผู้สอบบัญชีมีความพึงพอใจในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มากกว่าพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ในส่วนของข้อเสนอแนะผู้สอบบัญชีเห็นว่าควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีให้ทั่วถึงทั้งประเทศ และควรลดอัตราค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรมลงเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าอบรมมากขึ้น ส่วนในเรื่องของหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ผู้สอบบัญชีเห็นว่าไม่ควรมีหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับเฉพาะกับนิติบุคคลเท่านั้นแต่ควรบังคับรายบุคคลและคณะบุคคลด้วย และควรที่จะเน้นการส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
Other Abstract: | The objectives of this reserch are to'study the effects of the Accounting Profession Act B.E. 2547 to auditors. The questionnaires are used for collecting data from the auditors and analysed using descriptive statistics and test of independence. The result is separated into three parts. The first part is the study of a comprehensionin the Accounting Professsion Act B.E. 2547 of the auditors. It reveals that they moderately and intensely understand in things that they do in an initial period. The second part is the study of satisfaction of the auditors to Accounting Profession Act B.E. 2547. It shows that the auditors strongly satisly with this act. However they ned more punishment in case of offence. The final part is the study of the relationship between the auditors' comprehension in the Accounting Profession Act B.E. 2547 and auditors' characteristics. It indicates that the comprehension is relative to continuity of participation in training of the accounting profession. The comparison of satisfaction between the Accounting Profession Act B.E. 2547 and the Auditor Act B.E. 2505 reveals that the auditors satisfy more with the Accounting Profession Act B.E. 2547 than the Auditor Act B.E. 2505. The auditors suggest that training of the Accounting Profession Act B.E. 2547 and the other subject involving accounting profession all over the country are needed and they also suggest that training cost should be decreased so that they are able to participate in training more. The auditors advise about third person's security that it should not consider only juristic person but also the individual and body of persons. It should stress the efficiency of professional career. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6773 |
ISBN: | 9745320285 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krisada.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.