Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67775
Title: ผลของเวลากักแอนแอโรบิกและความเข้มสี ต่อประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟชนิดอะโซ ที่มีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน โดยกระบวนการเอสบีอาร์แบบแอนแอโรบิก-แอโรบิก
Other Titles: Effects of anaerobic retention time and color intensity on color removal efficiency of AZO reactive dyes with different chemical structures by an anaerobic-aerobic SBR process
Authors: ปรีชาวิทย์ รอดรัตน์
Advisors: ธงชัย พรรณสวัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีช้อมูล
Subjects: สีย้อมและการย้อมสี
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
Dyes and dyeing
Sewage -- Purification -- Activated sludge process
Sewage -- Purification -- Color removal
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการเอสบิอารีแบบแอนแอโรบิก-แอโรบิกที่ใช้ในที่นี้มีปริมาตรทำงาน (work volume) 12 ลิตรมีอัตราส่วนนํ้าที่เติม (V[subscript]f) ต่อนํ้าค้างกัง (Vo) เท่ากับ 2:1 การทดลองนี้ใช้นํ้าเสียสีสังเคราะห์โดยใช้แป้งมันเป็นสารอาหารร่วม 1,400 มก./ล.ซีโอดีเท่ากันทุกการทดลอง สีย้อมที่ใช้ในการทดลองมี 2 ชนิด คือสีย้อมรีแอกทีฟที่มีโครงสร้างโมโนอะโซและไดอะโซ ตามลำดับ งานวิจัยนี้แบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกทำการทดลอง โดยกระบวนการเอสบีอาร์ 6 ชุดการทดลอง โดยทำกับสีย้อมดังกล่าวร่วมกับการแปรผันเวลากักแอนแอโรบิก 3 ค่า คือ 10, 18 และ 30 ขั้วโมง โดยมีเวลากักแอโรบิกคงที่ 5 ขั้วโมง ดังนั้นเวลาวัฏจักรซึ่งเท่ากับ เวลากักแอนแอโรบิก+เวลากักแอโรบิก+ตกตะกอน เท่ากับ 10+5+1, 18+5+1 และ 30+5+1ชั่วโมง ตามลำดับ และทุกชุดการทดลองมีอายุสลัดจ์เท่ากับ 7.2 วัน และความเข้มสีของนํ้าเข้า 400 มก./ล. เมื่อระบบเข้าสู่สถานะคงตัวพบว่าทุกชุดการทดลองมีค่า F/M เท่ากับ 0.28 -0.32 วัน-1 และชุดการทดลองที่มีเวลากักแอนแอโรบิก 10, 18 และ 30 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมโมโนอะโซ เท่ากับ 35.1, 60.8 และ 73.4% ในหน่วยเอสยู และเท่ากับ 39.0, 71.8 และ 86.3% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมไดอะโซ เท่ากับ 59.6, 80.1 และ 80.7% ในหน่วยเอสยู และเท่ากับ 72.0, 88.8 และ 87.5% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ตามลำดับ และสีส่วนใหญ่ถูกกำจัดในสภาวะแอนแอโรบิก ส่วนในขั้นตอนที่ 2 ทำการทดลองแบบแบตช์ 8 ขชุด โดยทำกับสีย้อม 2 ชนิดและมีการแปรผันความเข้มสีของน้ำเข้า 4 ค่า คือ 50, 200, 400 และ 600 มก./ล. โดยใช้สลัดจ์จากชุดการทดลองในขั้นตอนแรกหลังจากระบบเข้าสู่สถานะคงตัวแล้ว และเลือกเวลากักแอนแอโรบิกคงที่เท่ากับ 18 ชั่วโมง พบวาแต่ละชุดการทดลองมีอัตราการลดสีจำเพาะ 2 อัตราโดยใน 5 ชั่วโมงแรกเกิดการลดสีอย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นอัตราการลดสีจะลดลง และเมื่อความเข้มสีเพิ่มขึ้น (50-600 มก./ล.) จะมีผลทำให้อัตราการลดสีจำเพาะเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ และมีแนวโน้มทำให้ระบบมีประสิทธิภาพการลดสีเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ลดลง กล่าวคือชุดการทดลองแบบแบตช์ ที่มีความเข้มของสีย้อมโมโนอะโช 50, 200, 400 และ 600 มก./ล. มีประสิทธิภาพการกำจัดสีเท่ากับ 49.3, 61.0, 60.3 และ 54% ในหน่วยเอสยู และเท่ากับ 68.2, 78.9, 78.1 และ 71.5% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ตามลำดับ ส่วนชุดการทดลองที่มีความเข้มสีไดอะโซ 50, 200, 400 และ 600 มก./ล. มีประสิทธิภาพการลดสีเท่ากับ 46.2, 55.2, 65.8 และ 70% ในหน่วยเอสยู และเท่ากับ 58.8, 76.3, 79.8 และ 82.6% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ตามลำดับ
Other Abstract: The study consisted of two main experiments, i.e. anaerobic-aerobic SBR experiments and subsequent batch tests. In the initial SBR experiments, the 12 litre reactors with influent volume (Vf) : retaining volume (Vo) ratio of 2:1, were fed with synthetic wastewaters which were composed reactive dyes and starch.(as carbon source) The COD concentration of 1,400 mg/l and dye concentration of 400 mg/l in the influent were used in these experiments. Three anaerobic retention times, i.e. 10, 18 and 30 hours, with 5 hours aerobic time and settling time of 1 hour were used for each dye chemical structure, resulting in anaerobic+aerobic+settling cycle time of 10+5+1, 18+5+1 and 30+5+1 hours, respectively. The sludge age was controlled at 7.2 days. It was found that the F/M ratio were in the range of 0.28 - 0.32 day-1 and the color removal efficiency increased when the anaerobic time increased. Both dyes were mainly removed in the anaerobic condition. For the anaerobic time of 10, 18 and 30 hours, the efficiencies of color removal, for the monoazo experiments, were 35.1, 60.8 and 73.4% in terms of US, and were 39.0, 71.8 and 86.3% in terms of ADM I, respectively. The higher efficiencies were observed in the diazo dye experiments, i.e., 59.6, 80.1 and 80.7% in รบ unit, and 72.0, 88.8 and 87.5% in ADM I unit at 10, 18 and 30 hours anaerobic time, respectively. Sludge from the steady state SBR system of 18 hours anaerobic time was taken to run the anaerobic batch tests. In the batch experiments, 50, 200, 400 and 600 mg/l dye concentrations were applied. Rapid decolorization was observed in the first five hours; and the lower specific decolorization rates were found late. The SDR increased with the influent dye concentration. In the monoazo dye experiments, the decolorization efficiencies were 49.3, 61.0, 60.3 and 54% in terms of SU and 68.2, 78.9, 78.1 and 71.5% in terms of ADMI; and in the diazo dye case, the color removal efficiency of 46.2, 55.2, 65.8 and 70% in รบ terms and 58.8, 76.3, 79.8 and 82.6% in ADMI terms were found for the scenarios of 50, 200, 400 and 600 mg/l dye concentration, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67775
ISSN: 9743465979
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preechawit_ro_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ454.61 kBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_ch1.pdfบทที่ 1123.54 kBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_ch2.pdfบทที่ 21.74 MBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_ch3.pdfบทที่ 3415.39 kBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_ch4.pdfบทที่ 45.67 MBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_ch5.pdfบทที่ 565.52 kBAdobe PDFView/Open
Preechawit_ro_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.