Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67835
Title: | การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | A proposed web-based instructional model based on 4 MAT activity for critical thinking development for undergraduate students in physical sciences and technology, Chulalongkorn University |
Authors: | ชลลดา ลิขสิทธิ์ |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ การสอนแบบ 4 แมท ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ Web-based instruction 4MAT system Critical thinking |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและ เทคโนโลยีที่มีต่อการเรียนการสอนบนเว็บ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเชี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้หลักการจัดกิจกรรม แบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) นิสิตปริญญาบัณฑิต จำนวน 376 คน และอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 268 คน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านกระบวนการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ด้านการออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บ และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 21 คน 2) นิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการพัฒนาซอฟแวร์ สำนักงานโครงการขยายโอกาสอุดมสิกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียน เรียนวิชา 2110443 ปฎิลัมพันธ์ของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 35 คนผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตและอาจารย์มีความคิดเห็นว่าเครื่องมีอที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับการสนทนาร่วมกันและการระดมสมองบนเว็บคือโปรแกรมสนทนา วิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดในการส่งแผนที่ความคิด คือ ส่งงทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์และลังทางกระดานสนทนา วิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำเสนอเนื้อหาของผู้สอนและการนำเสนอผลงาน คือ รูปแบบโปรแกรม Animation และโปรแกรมเพื่อการนำเสนอ และวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น คือ ผ่านกระดานสนทนาประจำวิชา 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบของรูปแบบที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผลในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน นอกจากนั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และบทบาทผู้เรียนและผู้สอนกับจุดประสงค์การเรียนการสอนทุกข้อมีความลอดคล้องกัน 3) กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT มีคะแนนเฉลี่ย การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 ชั้นตอนหลักคือ ชั้นนำ ได้แก่ 4.1) การปฐมนิเทศหน่วยการเรียน และการวัดความสามารถทางการคิดอย่างมวิจารณญาณก่อนเรียน 4.2) ชั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การสร้าง ประสบการณ์ การวิเคราะห์ประสบการณ์การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด การพัฒนาความรู้ความคิดการปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้การสร้างชั้นงานของตนเองการวิเคราะห์ผลงานและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ 4.3) ขั้นประเมินผล คือ การวัดความสามารกทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the opinions-of the students and the instructors in physical sciences and technology, Chulalongkom University 2) to study the opinions of the experts concerning the web-based instructional model based on 4 MAT Activity for critical thinking development 3) to study the effect of web-based instructional model based on 4 MAT Activity for critical thinking development 4) to propose the web-based instructional model based on 4 MAT Activity for critical thinking development for undergraduate students in Physical Sciences and Technology, Chulalongkom University.The samples of this research consisted of 1) 376 students and 268 instructors in Physical Sciences and Technology, Chulalongkom University and 21 experts in 4 MAT instructional process, web-based instructional design, and critical thinking and 2) 35 second-year bachelor’s degree students studying in the area of Software Development, office of Higher education of Opportunity Enhancement of Chulalongkom University registered in 2110443 Human-computer Interaction course in second semester of 2005 academic year.The research study revealed that: 1) The students and the instructors agreed that a chat is the most appropriate tool for dialogue and brainstorm, an e-mail and a web board are the most appropriate tools for sending mind map, an animation program and a presentation program are the most appropriate tools for an instructor's content presentation and an assignment presentation and a web board is the most appropriate for a discussion. 2) The experts perceived that a rational in developing a model and the design of a model were appropriate in the highest level. The other components were appropriate in high level. Roles of students and instructors were congruence. 3) It was found that the subjects learned from web-based instructional model based on 4 MAT Activity had statistically significant at .05 level critical thinking post-test scores higher than pre-test scores. 4) The web-based instructional model based on 4 MAT Activity for critical thinking development consists of three steps: the unit orientation and the pre-test on critical thinking step; the instructional activity step: create an experience, analyze/reflect an experience, integrate reflective experience into concepts, develop concepts, practice based on concepts, create an assignment, analyze an assignment and its application, share experiences; and the evaluation step: critical thinking post-test. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67835 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.550 |
ISBN: | 9741770154 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.550 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chonlada_li_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chonlada_li_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.