Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67839
Title: | จุดกำเนิดและการแพร่กระจายของวัฒนธรรมดนตรีฮิพฮอพในประเทศไทย |
Other Titles: | Origin and diffusion of hip hop culture in Thailand |
Authors: | คชาชัย วิชัยดิษฐ |
Advisors: | สุภาพร โพธิ์แก้ว เมธา เสรีธนาวงศ์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ฮิปฮ็อป -- ไทยการแพร่กระจายวัฒนธรรม ดนตรีแร็พ -- ไทย วัฒนธรรมสมัยนิยม -- ไทย การแพร่กระจายวัฒนธรรม -- ไทย Hip-hop -- Thailand Rap (Music) -- Thailand Popular culture -- Thailand Culture diffusion -- Thailand |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแนวดนตรีฮิพฮอพและการ แพร่กระจายของวัฒนธรรมฮิพฮอพในประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องนวัตกรรมและการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม แนวคิดวัฒนธรรมย่อยวัยรุ่น แนวคิดดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่ และ แนวคิดภาษาในบทเพลง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จากการสัมภาษณ์เจาะลึกศิลปินเพลงฮิพฮอพฃองไทย วิเคราะห์เอกสารและผลงานเพลงตลอดจนการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของแนวดนตรีฮิพฮอพในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ 1) ช่วงการแร็พ เป็นลีลาใหม่ในเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2528-2534) สังคมไทยเริ่มจากการรับเอาการร้องแร็พมาใช้เพื่อสร้างความแปลก ใหม่ในวงการเพลง 2) ช่วงดนตรีแร็พปรากฏขึ้นในวงการเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2535 - 2544) ศิลปิน TKO เป็นศิลปิน แร็พ กลุ่มแรกของไทย และต่อมาผลงานของศิลปินโจอี้ บอย ทำให้ดนตรีแร็พเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นแต่เป็นเพียง กลุ่มวัยรุ่นในสังคมเมือง 3) ช่วงปรากฏการณ์เพลงฮิพฮอพใต้ดิน (พ.ศ.2543-2545) โดยผลงานเพลงใต้ดินของศิลปินดาจิมโดนข้อหาผลิตและจัดจำหน่ายเพลงที่มีคำลามกอนาจารในปีเดียวกันการจัดงาน Thai-Hop Gancore club ทำให้ วัยรุ่นที่ชื่นชอบวัฒนธรรมฮิพฮอพมารวมตัวกันที่สยาม สแควร์ซึ่งนำไปสู่กระแสความตื่นตัวในวัฒนธรรมฮิพฮอพ 4) ช่วง “ดนตรีฮิพฮอพ’’ความนิยมหนึ่งในเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2544-2549) ค่ายเพลงใหญ่เริ่มผลิตผลงานดนตรีฮิพฮอพเป็น จำนวนมากโดย กลุ่มศิลปินฮิพฮอพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดปัจจุบัน ได้แก่ ศิลปินกลุ่มก้านคอคลับ 1 ศิลปินดาจิมและกลุ่มศิลปิน Thaitanium การแพร่กระจายของวัฒนธรรมฮิพฮอพครั้งแรกในไทยอาจกล่าวได้ว่าเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่นระตับชนชั้นกลางที่เล่น กีฬาสเก็ตบอร์ดในกรุงเทพฯเป็นผู้รับวัฒนธรรมฮิพฮอพเข้ามาในช่วงแรกเพื่อการสร้างตัวตนที่นำสมัยและได้แพร่หลาย เฉพาะในเขตเมืองผ่านดนตรีแร็พจากค่ายเพลงเล็กเมื่อบริบทเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่แพร่หลายมากขึ้นส่งผลให้ผลงานเพลงฮิพฮอพใต้ดินกระตุ้นความสนใจให้กลุ่มผู้ฟังเพลงวัยรุ่นแบบปากต่อปากและแพร่กระจายในวงกว้างขึ้นโดยมีสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อการรวมกลุ่มของวัยรุ่นที่ชื่นชอบวัฒนธรรมฮิพฮอพให้ปรากฏชัดเจนขึ้นในสังคมไทยเมื่อค่ายเพลงใหญ่ให้ความสนใจในผลิตดนตรีฮิพฮอพส่งผลให้วัฒนธรรมฮิพฮอพกลายเป็นสินค้าที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน |
Other Abstract: | The study finds show that development of Thai Hip Hop music can be divided into 4 periods : 1) The period which “Rap” singing style being applied within Thai pop song (1985-1991), The aim of this adoption is to make music sound exotic. 2) The first appearing of rap music in Thai pop music (1992- 2001), “TKO” is first Thai Rap group artists. Then, “Joey Boy” has made rap music known broader, especially to Thai urban teenagers. 3) The period of underground Hip Hop (2000-2002) many hip hop songs have emerged in the form of underground music, “Dajim" was charged for producing and distributing the songs which contain obscene words. เท the same year, “Thai Hop Gancore Club" was organized for hip hop fans at Siam Square. As a result, Hip Hop culture becomes popular as newly alternative way of expression Thai teenagers, and 4) Thai Hip Hop music as a part of Thai pop music (2001-2006), Large industrial size music company began to produce Hip Hop music as mass product. The most famous rap artists in Thailand at present are “The Gancore Club”, “Dajim” and the rap band “Thaitanium”. It may say that Bangkok teenagers who play skateboard are among the first group who adopted hip hop culture in Thai society for constructing their new trend. At beginning, Hip Hop culture limitedly distributed product by independent music company only in urban area through rap music. By the factor of new communication technology, the internet plays an important role among hip hop lovers due to accessibility to the information. When the large industrials size music companies produce Hip Hop music, Hip Hop culture becomes to be cultural commodities which are distributed and promoted by mass media. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67839 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.825 |
ISBN: | 9741432739 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.825 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kachachai_wi_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 821.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kachachai_wi_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.