Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67986
Title: การฟอกสีน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษโดยเชื้อราฟอกขาวสายพันธุ๋ที่คัดแยกจากเขตร้อน
Other Titles: Decolorization of wastewater from pulp and paper industry by tropical isolates of white rot fugi
Authors: ทิฆัมพร ระย้า
Advisors: หรรษา ปุณณะพยัคฆ์
สีหนาท ประสงค์สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
เชื้อราฟอกขาว
Sewage -- Purification -- Color removal
White rot fungi
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดราในกลุ่มราฟอกขาวจากแหล่งธรรมชาติในประเทศไทยทั้งหมด 13 จังหวัด พบว่าสามารถแยกเส้นใยให้บริสุทธิ์และจัดจำแนกได้ทั้งหมด 35 สายพันธุ์ จากนั้นจึงทำการทดสอบการผลิตแลคเคสพบว่าสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตแลคเคสที่ดีที่สุดคือ Pychoporus sanguineus CM1 จากนั้นจึงนำสายพันธุ์นี้มาหาภาวะที่เหมาะสมของการผลิตแลคเคสโดยพบว่าแหล่งคาร์บอนคือน้ำตาลกลูโคส (2 เปอร์เซ็นต์) ให้ค่ากิจกรรมแลคเคสสูงสุด (0.67+0.125 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ส่วนแหล่งไนโตรเจีนคือเปปโตน (0.25 เปอร์เซ็นต์) ให้ค่ากิจกรรมแลคเคสสูงสุด (0.75+0.01 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) แหล่งอาหารเสริมคือยีสต์สกัด (0.25 เปอร์เซ็นต์ ) ให้ค่ากิจกรรมแลคเคสสูงสุด (0.85+0.04 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) และทำการศึกษาผลของคอปเปอร์ซัลเฟตโดยพบว่าที่ความเข้มข้น 0.6 มิลลิโมลาร์ให้ค่ากิจกรรมแคลเคสสูงสุดเท่ากับ (1.60+0.06 ยูนิตต่อมิลลิตร) แคลเคสที่ผลิตได้นำมาทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยการตกตะกอนด้วยเกลือแอมโมโนียมซัลเฟต พบว่าที่ความเข้มข้นของเกลือที่อิ่มตัว 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่ากิจกรรมของแคลเลสเพิ่มขึ้น 3.95 เท่า จากนั้นจึงนำเชื้อรา Pycnoporus sanguineus CM1 และแลคเคสไปทำการลดสีน้ำเสียจากโรงงานเยื่อและกระดาศ โดยทำการใช้เชื้อราอิสระเริ่มต้น 20 เปอร์เซ็นต์ พบว่าสามารถลดสีน้ำเสียได้ 76 เปอร์เซ็นต์ลดค่าบีโอดีและซีโอดีได้ 13 และ 16 เปอร์เซ็น ตามลำดับ ที่ชั่วโมง 21 ของการเลี้ยงเชื้อ และเมื่อใช้เชื้อรา Pycnoporus sanguineus CM1 ตรึงรูป พบว่าสามารถใช้เม็ดเชื้อราตรึงลดสีน้ำเสียได้ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 สามารถลดสีน้ำเสีย ลดค่าบีโอดีและซีโอดีได้ 74 เปอร์เซ็นต์ 44.2 และ 5 เปอร์เซ็น ตามลำดับ ที่ชั่วโมงที่ 24 และครั้งที่ 2 สามารถลดสีน้ำเสียได้ 73 เปอร์เซ็นต ลดค่าบีโอดีได้ 33 เปอร์เซ็นต ที่ชั่วโมงที่ 15 แต่ไม่สามารถลดค่าซีโอดีได้ เมื่อใช้แคลเคสตรึงรูป 100 ยูนิตมิลลิลิตร พบว่าสามารถนำแคลเคสตรึงรูปมาใช้ซ้ำได้ 6 ครั้ง โดยค่าการลดลงของสีน้ำเสียคือ 74.0 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรก และ 13.28 เปอร์เซ็นต์ ครั้งสุดท้าย ตามลำดับ และลดค่าบีโอดีได้ครั้งแรก 50 และ ครั้งสุดท้าย 46 เปอร์เซ็นต 46 เปอร์เซ็นต ส่วนค่าซีโอดีสามารถลดได้ 5 เปอร์เซ็นต์ ในครั้งแรก และหลังจากนั้นไม่สามารถลดค่าซีโอดีได้อีก
Other Abstract: White rot fungi were collected from natural habitats of 13 provinces in Thailand. Pure mycelia were from 35 fungal samples isolated which were successfully identified. All strains were assessed for laccase production and the highest laccase activity was obtained from Pycnoporus sanguineus CM1. This strain was further optimized for laccase production conditions. It was found that the highest laccase activity was obtained from 2.0% of glucose as carbon source (0.67±0.125 u/ml), 0.25% of peptone as nitrogen source (0.752±0.01 u/ml), 0.25% of yeast extract as nutrient supplement (0.85±0.04 u/ml) and 0.6 mM copper sulphate (Cu₂SO₄) as inducer (1.60±0.06 u/ml). Laccase was then partially purified using ammonium sulphate precipitation. At 80% of (NH₄)₂SO₄, the laccase activity increased 3.95 folds. The enzyme was used to decolorized wastewater from paper and pulp industry. By using 20% of free fungal cells, the color, BOD and COD of wastewater reduced by 76%, 13% and 16%, respectively at 21 hours of incubation. Using immobilized Pycnoporus sanguineus CM1 cell to decolorize wastewater, the immobilized cell could be used 2 cycles. During the first cycles, they reduced color of wastewater up to 74% while its BOD and COD reduced by 44.2% and 5% respectively after 24 hours. During the second cycles, they reduced color of wastewater up to 73% while its BOD reduced by 33% but COD did not reduce. By using immobilized laccase (100 u/ml) to decolorized wastewater, the immobilized laccase could be used 6 cycles. The color of wastewater was reduced during 74% for the first cycles and by 13.2% during the last cycles. Its BOD was reduced by 50% during the first cycles and 46% during the last cycles while its COD was reduced by 5% in the first cycles and it was not reduced after that.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67986
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thikhumporn_ra_front_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch1_p.pdf702.23 kBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch2_p.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch3_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch4_p.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch5_p.pdf969.53 kBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_ch6_p.pdf655.8 kBAdobe PDFView/Open
Thikhumporn_ra_back_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.