Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68054
Title: ความเป็นไปได้ในการใช้โอโซนบำบัดน้ำเสียจากอาคารมหามกุฏ
Other Titles: Feasibility of using ozone for treatment of wastewater from a Mahamakut building
Authors: วจีวโรบล แสงสว่าง
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
โอโซน
Sewage -- Purification
Ozone
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้โอโซนบำบัดน้ำเสียจากอาคารมหามกุฎ ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารมหามกุฎ คือ ระบบตะกอนเร่ง (Activated sludge; AS) ที่มีการเติมอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียให้น้ำที่ผ่านการบำบัดมีค่าอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนและซ่อมบำรุงจึงสูงมาก น้ำเสียจากอาคารมหามกุฎแตกต่างจากน้ำเสียชุมชนทั่วไปที่พบธาตุ เช่น Zn, Ba, Cu และ Pb เท่ากับ 0.31, 0 .1 3 ,0 .0 2 และ 0.01 มก.ล. ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการใช้สารเคมีภายในอาคาร และจากการเติมโอโซนลงในน้ำเสียจากบ่อสุดท้าย (Final tank) พบว่า โอโซนอิ่มตัวภายใน 60 นาที เมื่อหยุดเติมโอโซน ความเข้มข้นของโอโซนในน้ำเสียลดลงเป็น 0 มก.ล. ใน 60 นาทีเช่นกัน ความเข้มข้นโอโซนกับค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen; DO) มีความสัมพันธ์กันโดยตรง ที่อัตราส่วนปริมาตรน้ำเสียอิ่มตัวด้วยโอโซนกับน้ำเสียจากบ่อเติมอากาศ 1:1, 1:2, 1:3 แ ล ะ 1 :4 โดยปริมาตร พบว่า หลังทำการผสม ทิ้งไว้ 60 นาที น้ำเสียมีค่า DO เท่ากับ 5.02±0.10, 4.75±0.13, 4.70±0.31 และ 4.50±0.10 มก.ล. ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับค่า DO ของน้ำเสียที่ได้รับการเติมอากาศตลอดเวลา (4.26±1.02 มก.ล.) การเติมโอโซนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 นาที แล้วผสมกับน้ำเสียด้วยอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ทำให้น้ำเสีย มีค่า DO เท่ากับ 7.15 มก.ล. ซึ่งจะลดลงเหลือ 4.67 มก.ล. เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง ดังนั้น การเติมโอโซนเพียง 20 นาที จึงเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย การควบคุมอุณหภูมิน้ำเสียที่ 30 °C จะช่วยให้มีค่า DO 5.62 มก.ล. และยังคงเพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์อย่างน้อย 3 ชั่วโมง การผสมน้ำเสียที่มีโอโซนกับน้ำเสียด้วยอัตราส่วน 1:8 โดยปริมาตร และควบคุมอุณหภูมิที่ 30 °C เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง สามารถลดค่า COD ลงได้ 43% ความเข้มข้นของโอโซนคงเหลือเท่ากับ 0.02 มก.ล. และมีค่า DO เท่ากับ 3.68 มก.ล. แบคทีเรียเพิ่มขึ้นจาก 7.45x10⁴ เป็น 8.13x10⁵ CFU ดังนั้นการใช้โอโซนแทนการเติมอากาศจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง
Other Abstract: Wastewater from Mahamakut building is being treated by the activated sludge system (AS). Since it has to be aerated all the time, aeration cost of the system is always high. The wastewater contained Zn, Ba, Cu and Pb at 0.31, 0.13, 0.02 and 0.01 mg/L, respectively. These elements are not common in general community wastewater but they are use in teaching classes and researches in the building. Ozone was saturated in 1 liter of final stage treatment wastewater in 60 minutes and disappeared after stop ozoning in the same time. Ozone concentration was linearly correlated to dissolved oxygen. Ozone saturated wastewater was mixed with wastewater from aeration tank at 1:1, 1:2, 1:3 and 1:4 volume/volume and monitored for DO. The final DO at 60 minutes were 5.02±0.10, 4.75±0.13, 4.70±0.31 and 4.50±0.10 mg/L, respectively. These results were close to the continuously aerated wastewater (4.26±1.02 mg/L). Mixing water which ozonized continuously for 20 minutes with wastewater at 1:1 ratio v/v resulted in 7.15 mg/L Dissolved oxygen (DO). After 3 hours standing, DO was decreased to 4.67 mg/L. Therefore, 20 minutes ozonization resulted in enough DO for bacterial growth. From controlling wastewater temperature at 30°C, DO of 5.62 mg/L was obtained which enough for at least 3 hours bacterial oxygen need. Mixing ratio of wastewater at 1:8 could reduce COD by 43% at 3 hours while Ozone and DO residues were 0.02 and 3.68 mg/L respectively. Bacteria number was increased from 7.45x10⁴ to 8.13x10⁵ CFU. This work indicates that to use ozone saturated water in stead of continuously aeration could be an optional way in wastewater treatment by AS system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68054
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wacheewarobon_sa_front_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_ch1_p.pdf662.05 kBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_ch2_p.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_ch3_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_ch4_p.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_ch5_p.pdf672.98 kBAdobe PDFView/Open
Wacheewarobon_sa_back_p.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.