Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6810
Title: ผลของภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ช่วงความจำระยะสั้น ความรู้ ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีผลต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ : รายงานการวิจัย
Other Titles: The effects of background knowledge of the reading content, short-term memory span, language knowledge related to English reading on English reading skills
Authors: สุมาลี ชิโนกุล
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นิสิต
นักศึกษา -- ไทย -- สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม
ความจำระยะสั้น
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สำคัญบางตัว (ได้แก่ ภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ความรู้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ และช่วงความจำระยะสั้น) กับสัมฤทธธิผลของคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษ ของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2539 จำนวน 130 คน และเพือพิจารณาอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้ที่สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของคะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเมื่อมีการควบคุมอุณหภูมิหลังของนิสิต รวมถึงพัฒนาดัชนีชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษด้วย เครืองมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบ 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบสอบความรู้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ แบบสอบวัดช่วงความจำระยะสั้น นอกจากนี้ยังมีแบบวัดภูมิหลังเนื้อหาของเรื่องที่อ่านตามการรับรู้ และแบบสอบถามภูมิหลังของนิสิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ความรู้ทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ และช่วงความจำระยะสั้น มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.52, 0.44 และ 0.38 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2. จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิวธี stepwise โดยนำตัวแปรภูมิหลังของนิสิตในด้านสังคม ด้านวิชาการและกิจกรรมเข้าศึกษาร่วมกับตัวแปรต้น พบว่าตัวแปรสำคัญที่ร่วมทำนายความแปรปรวนของคะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 51.31 ได้แก่ ภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ความรู้ทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ ช่วงความจำระยะสั้น และโปรแกรมการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์พบว่าดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงสมัฤทธิผลของทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ในรูปคะแนนดิบเป็นดังนี้ คะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ = -5.28 + 1.51 (ภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน)+ 0.18 (ความรู้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษ) + 2.79 (โปรแกรมการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบวิทยาศาสตร์) + 0.29 (ช่วงความจำระยะสั้น) 3. งานวิจัยนี้มีหลักฐานทางสถิติพอจะสนับสนุนทฤษฎีการอ่านตามแนวทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Model) กล่าวคือ นอกจากความรู้ในภาษาที่สองแล้ว ผู้อ่านในภาษาที่สองที่แนวโน้มที่จะใช้ภูมิหลังด้านเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ประสบการณ์ส่วนตัวที่สั่งสมรวมอยู่ในตัวผู้อ่านในรูปโครงสร้างความรู้ 9Schema) ความสามารถในการเก็บข้อความที่อ่านในความจำระยะสั้นมาประกอบ เพื่อช่วยให้เข้าใจบทอ่านได้ดีขึ้น
Other Abstract: This study was designed to investigate the relationships between some of the main factors expected to affect the achievement of Ebglish reading comprehension of 130 English makors who were studying in the academic year 1996, in the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The main variables were background knowledge of the reading content (BACKG), language knowledge related to English reading skills (LANG), and short-timr memory span (DS). This study also aimed at examining the extent to which thhe independent variables can predict the variance of the English reading comprehension scores whne th estudents' individual factors were controlled. Inaddition, the index estimating th ereefectiveness of the students' English reading skills was performed. The instruments used consisted of three sets of tests; i.e. reading comprehension test, the test of language knowledge related to English reading skills and Digit Span test subtest to meaure short-term memory span. Other instruments included rating scale questions to measure students' background on the reading content and a questionnaire to elicit the students' individual factors (their academic and personal bakground). The data were analyzed by means of descriptine statistics, correlation, and multiple regression. Results indicated that 1) correlation coefficients between reading comprehension and the three variables: BACKG, LANG, and DS were 0.52, 0.44 and 0.38, respectively. All these coefficients were statically significant at 0.01 level; 2) when the data on personal background of students (their background in social standing and economic status, academic, and activity involvement) together with the main independent variables were subjects to stepwise multiple regression it was found that the main variables which could best predict the variance of the students' reading comprehension scores were BACKG, LANG, DS, and the students whose concentration was science instead of Arts in high school (M1). All together these variables could explain up to 51.31% of the variance of the reading comprehension scores. The index of the effectiveness of the students' English reading skills (READ) was set as follows: READ = -5.28 + 1.51BACKG + 0.18LANG + 2.79M1 + 0.29DS ; 3) there was statistical evidence to support the Interactive Model of Reading Comprehension; that is, second language readers were likely to use their background knowledge of th ereading content and their personal background which has been formed in themselves as "schema" as well as their ability to hold what they read in their short-term memory to interact with their second language knowledge to help understand the reading text better.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6810
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee(eff).pdf11.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.