Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69107
Title: การวัดต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศของอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อน
Other Titles: An estimation of domestic resource cost of hot-rolled sheet steel industry in Thailand
Authors: วราภรณ์ เติมรัตนกุล
Advisors: จุฑา มนัสไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อน
เหล็กแผ่นรีดร้อน -- ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนและประสิทธิผล
อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อน
เหล็กแผ่นรีดร้อน -- ต้นทุนการผลิต
Cost effectiveness
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนณ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเทียบในการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ โดยใช้เครื่องมือการวัดที่เรียกว่า ต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ (Domestic Resource Cost : DRC) การศึกษานี้จะมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน โดยทำการเปรียบเทียบระยะเวลาคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึง พ.ศ. 2540 ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ก่อนเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน จะมีค่าความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน (DRC/SER) ที่วัดจากการนำต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน 1 ตันมาเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 1 ตัน ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.77 แสดงถึง ต้นทุนการใช้ทรัพยากรในประเทศที่ใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนภายในประเทศนั้นต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดจากการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนจากต่างประเทศ ทำให้การผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศนั้นสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการลดการนำเข้าได้จริง แต่ในปี พ.ศ. 2540 หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบเป็นแบบลอยตัวแบบมีการจัดการแล้ว ได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมาก ล่งผลให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเกิดความเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2540 โดยมีค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเท่ากับ 1.23 หมายถึง ต้นทุนที่เสียไปในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศนั้นมีมูลค่ามากกว่าต้นทุนที่เกิดจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้จากโครงสร้างต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นมีสัดส่วนของปัจจัยการผลิตที่นำเข้าจากต่างประเทศสูงถึง 51.63 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้นทุนการผลิตมีความผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ความไหวตัว (Sensitivity Analysis) ของค่าความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ พบว่า การเปลี่ยนแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมิใช่เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อค่าความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อน โดยปัจจัยด้านราคาของผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนกลับเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อค่าความสามารถได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าถ้าหากราคาขายของผลิตภัณฑ์สูงขึ้นจากเดิม 20% จะมีผลทำให้ค่าความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2540 เปลี่ยนจากการเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็นการมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทันที ดังนั้น มาตรการที่จะสามารถช่วยเหลืออุตสาหกรรมการผลิตเหล็กแผ่นร้อนในประเทศได้คือ การดำเนินมาตรการที่ล่งผลกระทบต่อราคาของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเป็นสำคัญ
Other Abstract: This thesis attempts to analyze the comparative advantage of hot-rolled sheet steel industry in Thailand during the period before and after changing exchange rate system from basket system to managed floating system. The concept of Domestic Resource Cost (DRC) is utilized as a measure of the comparative advantage in this industry. The study finds that prior to the changing exchange rate system Thai hot-rolled sheet steel industry had enjoyed the comparative advantage. It implied that the cost of production for hot-rolled sheet steel in the country is cheaper than imported product. Therefore, during this period the domestic production can save foreign currency. However, after the exchange rate system has been changed in which Thai baht has been devalued more than 50 percent against U.S dollar, then the industry lost its comparative advantage because cost of imported raw material is accounted to be more than 50 percent of the total cost of production. Sensitivity analysis is also employed to reveal the comparative advantage of this industry. It shows that currency exchange rate is not only a major factor but sale price of imported product is also a key factor effecting the comparative advantage. Therefore, the government policy that aims to support the hot-rolled sheet steel locally produced in the country should emphasis on a tariff barrier so that it will affect the price of imported product. This kind of protection would successfully boost the comparative advantage of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69107
ISSN: 9746399896
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_te_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ470.31 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_ch1.pdfบทที่ 1446.02 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_ch2.pdfบทที่ 2947.85 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_ch3.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_ch4.pdfบทที่ 41.51 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_ch5.pdfบทที่ 5570.59 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_te_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก979.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.