Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69291
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ-
dc.contributor.advisorนครินทร์ ศันสนยุทธ-
dc.contributor.authorสิริลักษณ์ วีระยุทธวิไล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-10T07:55:36Z-
dc.date.available2020-11-10T07:55:36Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.issn9741418884-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69291-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในร่างกาย อุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ และประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย lercanidipine และ amlodipine วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองชนิด randomized, open-labeled, parallel design ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เข้าร่วมการวิจัย 80 คนได้รับการสุ่มโดยวิธี block randomization แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 40 คน) คือกลุ่มควบคุมได้รับยา amlodipine ขนาด 5 มิลลิกรัมวันละครั้ง และกลุ่มศึกษาได้รับ lercanidipine 10 มิลลิกรัมวันละครั้ง ทำการประเมิน (1) ปริมาณน้ำในร่างกายโดย bioelectrical impedance analysis (BIA) (2) อาการไม่พึงประสงค์ และ (3) ประสิทธิผลในการลดความดันโลหิต หลังได้รับยาที่ 4 และ 8 สัปดาห์ โดยในสัปดาห์ที่ 4 หากพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถลดความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ผู้ป่วยจะได้รับขนาดยาเพิ่มเป็น 2 เท่า ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลการศึกษาพบว่าสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีปริมาณน้ำในร่างกายไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น (p>0.05) และปริมาณน้ำในร่างกายระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา lercanidipine และ amlodipine ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) อุบัติเหตุของการบวมที่อวัยวะส่วนปลายในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา amlodipine (ร้อยละ 17.5) มากกว่า lercanidipine (ร้อยละ 0) อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.012) ในผู้ป่วย 7 คนจาก 40 คนในกลุ่ม amlodipine ที่เกิดอาการบวมพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำในร่างกายอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น (p<0.05) โดยมีการเพิ่มของปริมาณน้ำรวมในร่างกาย (1.46±1.04 ลิตร, มัธยฐาน 1.80 ลิตร) ปริมาณน้ำนอกเซลล์ (0.86±0.82 ลิตร, มัธยฐาน 1.02 ลิตร) และปริมาณน้ำในเซลล์ (0.59±0.39 ลิตร, มัธยฐาน 0.58 ลิตร) อุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม (p>0.05) ยาทั้งสองตัวสามารถลดความดันชีสโทลิกและไดแอสโทลิกได้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 เมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น (p<0.001) โดย lercanidipine ลดความดันชีสโทลิกเฉลี่ย 22.19±12.61 มิลลิเมตรปรอท (มัธยฐาน 20 มิลลิเมตรปรอท) และไดแอสโทลิกเฉลี่ย 10.62±10.60 มิลลิเมตรปรอท (มัธยฐาน 9.50 มิลลิเมตรปรอท) ส่วน amlodipine ลดความดันชีสโทลิกเฉลี่ย 23.35±16.13 มิลลิเมตรปรอท (มัธยฐาน 27 มิลลิเมตรปรอท) และไดแอสโทลิกเฉลี่ย 12±9.32 มิลลิเมตรปรอท (มัธยฐาน 12.50 มิลลิเมตรปรอท) ที่สัปดาห์ที่ 4 และ 8 ไม่มีความแตกต่างกันของระดับความดันโลหิตผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม (p>0.05) และร้อยละของผู้ป่วยที่ลดความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์เป้าหมายระหว่าง lercanidipine และ amlodipine ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ทั้งที่สัปดาห์ที่ 4 (ร้อยละ 55 เทียบกับร้อยละ 70 ตามลำดับ) และสัปดาห์ที่ 8 (ร้อยละ 57.5 เทียบกับร้อยละ 50 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย: ปริมาณน้ำในร่างกายโดยการวัดด้วยเครื่อง BIA ก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วย lercanidipine และ amlodipine ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน และปริมาณน้ำในร่างกายไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ได้รับ amlodipine แล้วมีอาการบวมพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำในร่างกายทุกส่วน ทั้งในส่วนของปริมาณน้ำรวมในร่างกาย ปริมาณน้ำนอกเซลล์ และปริมาณน้ำในเซลล์ อุบัติการณ์ของการบวมในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา lercanidipine น้อยกว่า amlodipine อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ และประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeObjectives: To compare changes of body water, indidence of pheripheral edema and other adverse events and efficacy of lercanidipine and amlodipine therapy. Methods: A randomized, open-labeled, parallel design study was carried out in hypertensive outpatients of Pramongkutklao Hospital. Eighty patients were randomized by using block randomization into two groups (40 patients/group). The control group received amlodipine 5 mg/day and the study group received lercanidipine 10 mg/day. Pateints were assessed for (1) change in body water using bioelectrical impedance analysis (BIA), (2) incidence of adverse events, and (3) efficacy in blood pressure reduction after 4 and 8 weeks of treatment. At week 4, the dose was doubled in patients who did not achieve blood pressure goals according to JNC VII guidelines. Results: All baseline characteristics of two groups were similar (p>0.05). At week 4 and 8, both groups did not have significantly changes in body water from the baseline (p>0.05), and the body water was not significantly different in lercanidipine and amlodipine groups (p>0.05). The indidence of peripheral edema was significantly higher in the amlodipine (17.5%) than in the lercanidipine group (0%)(p=0.012). Seven out of forty patients with peripheral edema in amlodipine group significantly had an increased in body water in all compartments compared to the baseline (p<0.05). Total body water, extracellular water and intracellular water increased by 1.46±1.04 L (median 1.80 L). 0.86±0.82 L (median 1.02 L) and 0.59±0.39 L (median 0.58 L), respectively. Other adverse events were not significantly different in both groups (p>0.05). Both drugs significantly reduced systolic and diastolic blood pressure from baseline after 4 weeks of treatment (p<0.001). Lercanidipine reduced mean systolic blood pressure and diastolic blood pressure by 22.19±12.61 mmHg (median 20 mmHg) and by 10.62±10.60 mmHg (median 9.50 mmHg), respectively. Amlodipine reduced mean systolic blood pressure and diastolic blood pressure by 23.35±16.13 mmHg (media 27 mmHg) and by 12±9.32 mmHg (median 12.50 mmHg), respectively. At week 4 and 8, there was no significant difference in blood pressure between the two groups (p>0.005) and the percentage of pateints who achieved the blood pressure goals was not significantly different in the lercanidipine and amlodipine group (p>0.05) at weeks 4 and 8 (55% vs 70% and 57.5% vs 50%, respectively). Conclusion: The body water measured by BIA method before and after lercanidipine and amlodipine therapy was not significantly different in both groups. In patients who experienced peripheral edema, the body water in all compartments (total body water, extracellular water and intracellular water) significantly increased compared to the baseline. The incidence of peripheral edema was significantly lower in the lercanidipine group than the amlodipine group. However, the other adverse events and efficacy of lercanidipine and amlodipine therapy were similar.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความดันโลหิตสูง-
dc.subjectยา-
dc.subjectHypertension-
dc.subjectDrugs-
dc.subjectLercanidipine-
dc.subjectAmlodipine-
dc.titleการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในร่างกายหลังได้รับการรักษาด้วยยาเลอร์คานิดิปีนและแอมโลดิปีนในผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง-
dc.title.alternativeComparison of changes in body water between lercanidipine and amlodipine therapy in hypertensive outpatients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriluck_ve_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_ch1_p.pdfบทที่ 1941.67 kBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_ch2_p.pdfบทที่ 21.67 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_ch3_p.pdfบทที่ 31.45 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_ch4_p.pdfบทที่ 42.58 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_ch5_p.pdfบทที่ 5986.1 kBAdobe PDFView/Open
Siriluck_ve_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.