Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเนื่องน้อย บุณยเนตร-
dc.contributor.advisorอุกฤษฎ์ แพทย์น้อย-
dc.contributor.authorเหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T06:23:04Z-
dc.date.available2020-11-11T06:23:04Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745318108-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69338-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนทางจริยศาสตร์ในมโนทัศน์เรื่องมิตรภาพของอริสโตเติล เพื่อชี้ให้เห็นว่าความคิดพื้นฐานเรื่องตัวตนที่ได้จากมโนทัศน์เรื่องมิตรภาพของอริสโตเติล มีนัยอย่างสำคัญต่อจริยศาสตร์สตรีนิยมอย่างไร ข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่าตัวตนที่อ่านได้จากคำอธิบายเรื่องมิตรภาพ เป็นตัวตนทางจริยศาสตร์ที่อยู่ในความสัมพันธ์ มีความเปราะบางไม่พอเพียงในตัวเอง เป็นตัวตนในบริบทเฉพาะ และเป็นตัวตนที่ไม่มีการแบ่งแยกอย่างเด็ดขาดระหว่างอารมณ์และเหตุผล เราจะเห็นว่าตัวตนในแบบที่อริสโตเติลกล่าวถึง เมื่อเขาพูดถึงมิตรภาพมีนัยที่ทำให้การแบ่งแยกพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวอย่างเด็ดขาดเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากจริยศาสตร์สตรีนิยมมีความคิดพื้นฐานอยู่ที่การวิพากษ์วิธีคิดทางจริยศาสตร์ที่สะท้อนระบบผู้ชายเป็นใหญ่ ซึ่งนักสตรีนิยมชี้ให้เห็นว่าความคิดแบบนี้เป็นพื้นฐานของการแยกแบ่งทวินิยม ข้าพเจ้าจึงเสนอว่าความเข้าใจเรื่องตัวตนในแบบของอริสโตเติล ที่ได้จากมโนทัศน์เรื่องมิตรภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นตัวตนในอีกแบบหนึ่งที่ไม่ถูกจำกัดโดยวิธีคิดแบบทวินิยม มีนัยสำคัญ และเป็นแรงบันดาลใจต่อความคิดทางจริยศาสตร์สตรีนิยม ข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจตัวตนในแบบที่เป็นองค์รวม ซึ่งเห็นได้ในอริสโตเติล มีประโยชน์ต่อสตรีนิยมเพราะนอกจากจะเป็นตัวส่องสะท้อนให้เห็นลักษณะที่ไม่เป็นธรรมชาติของวิธีคิดทวินิยมแบบกระแสหลัก ซึ่งเคยถือกันว่าเป็นธรรมชาติแล้ว วิธีเข้าใจตัวตนแบบที่เป็นองค์รวมในทฤษฎีของอริสโตเติลยังเป็นการขยายความในสิ่งที่นักสตรีนิยมพยายามจะพูด ที่สำคัญก็คืออริสโตเติลได้พูดถึงตัวตนทางจริยศาสตร์ที่มีความฉลาดทางจริยธรรม ซึ่งวิธีคิดแบบนี้แสดงให้เห็นความสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างอารมณ์และเหตุผล พื้นที่ส่วนตัวและ พื้นที่สาธารณะ ข้าพเจ้าสรุปว่าวิธีเข้าใจตัวตนในแบบอริสโตเติล และวิธีที่อริสโตเติลอธิบายการทำงานของอารมณ์ในการตัดสินทางจริยธรรม เป็นการสนับสนุนและต่อเติมข้อโต้แย้งของนักจริยศาสตร์สตรีนิยม-
dc.description.abstractalternativeThis thesis was an attempt to read the underlying assumptions regarding the moral self from Aristotle’s concept of friendship. I discussed how this kind of moral self is relational, fragile, dependent, and situated. Moreover, this moral self is integrated and holistic. There is no dualistic distinction between emotion and reason. I argued that Aristotle’s idea of relational self, as seen เท friendship, is not coherent with the public and private dichotomy. As feminist ethical theorists have argued that dualistic assumptions in mainstream theories are rooted in androcentric biases, I suggested that Aristotle’s concept of moral self, which transcends these dualistic assumptions, could be of special interest to feminist scholarship. I pointed out that the holistic self as seen in friendship is useful for feminists because it shows that the dualistic assumptions in mainstream theories, which were once held to be natural and necessary, are in fact contingent and arbitrary. More importantly, the idea of holistic moral self also illuminates what feminists have been trying to argue. The idea of phronesis, in particular, is very useful in showing how reason and emotion, public and private spheres, cannot be considered separated and detached from one another. I concluded that Aristotle’s concept of moral self, and the way he articulated the workings of emotion in virtuous person, is inspiring and illuminating to feminist ethics.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.933-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอริสโตเติล, 384-322 ก่อน ค.ศ.en_US
dc.subjectตัวตน (ปรัชญา)en_US
dc.subjectมิตรภาพen_US
dc.subjectจริยศาสตร์en_US
dc.subjectสตรีนิยมen_US
dc.subjectAristotle, 384-322 B.Cen_US
dc.subjectFriendshipen_US
dc.subjectEthicsen_US
dc.subjectFeminismen_US
dc.titleจริยศาสตร์สตรีนิยมกับมโนทัศน์เรื่องมิตรภาพและตัวตนของอริสโตเติลen_US
dc.title.alternativeFeminist ethics and Aristotle's concepts of friendship and the selfen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปรัชญาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.933-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Muanmard_mo_front_p.pdf817.27 kBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_ch1_p.pdf932.02 kBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_ch2_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_ch3_p.pdf933.43 kBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_ch4_p.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_ch5_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Muanmard_mo_back_p.pdf675.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.