Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6944
Title: การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
Authors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสาร
การสื่อสาร -- แง่สังคม -- ไทย
ไทย -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารประเด็นสาธารณะที่ก่อให้เกิดความสนใจของสาธารณชนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในสังคม และการค้นหาองค์ประกอบต่างๆที่เอื้อต่อการสื่อสารประเด็นสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยอิงกรอบแนวคิดและทฤษฎีด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนา กระบวนการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ การจัดการการสื่อสารเชิงประยุกต์ (applied communication management) และแนวคิดและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ที่เอื้อต่อกระบวนการสื่อสารประเด็นสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานเพื่อค้นหากรณีศึกษา โดยมีการวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสื่อสารประเด็นสาธารณะซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการซึ่งกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายเชิงการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล อาทิ การเปลี่ยนแปลงเชิงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมบุคคล หรือเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ นโยบาย กฎหมาย หรือระบบสนับสนุนอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนั้นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องยังได้ร่วมกันพิจารณามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสม ทั้งมาตรการด้านการสื่อสาร อันได้แก่ การแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารรณรงค์ และการชี้แนะเชิงนโยบาย และมาตรการด้านอื่นๆ อันได้แก่ มาตรการเชิงกายภาพ เชิงนโยบาย เชิงกฎหมาย เป็นต้น และการลงมือปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีขั้นตอนเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลกลับ (feedback) เข้าสู่ขั้นตอนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกันเป็นระยะๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าว มักนำไปสู่การร่วมกันกำหนดเป้าหมายใหม่/ปรับเปลี่ยนเป้าหมายเดิม และการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นต่อไป 2. องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการสื่อสารประเด็นสาธารณะที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ประกอบด้วย องค์ประกอบเชิงบุคคล/องค์กร (ความมุ่งมั่น ความน่าเชื่อถือ การวางบทบาทผู้สนับสนุน ความหลากหลาย ความเป็นสื่อกลาง ความเป็นหุ้นส่วนของบุคคลในวงการสื่อมวลชน) เชิงเป้าหมาย (ครอบคลุม ประโยชน์สาธารณะ ท้าทาย) องค์ประกอบเชิงการออกแบบกระบวนการสื่อสาร (มาตรการคู่ขนาน ยืดหยุ่น ครบวงจร) เชิงสาร (เอกภาพ รูปธรรม โดดเด่น อิงข้อมูลสนับสนุน) เชิงช่องทาง (หลากหลาย ผลิตและแพร่กระจายในวงกวาง) และองค์ประกอบเชิงบริบทแวดล้อม (การเมือง นโยบาย กฎหมาย กระแสสังคม)
Other Abstract: This research aims to study the communication process of public issues that lead to social change, and the factors related to the communication process for social change. The framework of this study includes development communication theories, strategic communication, applied communication management, and research projects related to factors related to communication for social change. A multi-methodology was applied in order to identify the case studies, by conducting documental analysis, survey research, and in-depth interview. Research results indicate that: 1. Communication process that leads to social change is related to a group of people who get involved in the issues, and then begin to discuss about the related issues. Then, they come up with the goal to make a betterment of the society, at the personal level-thought, attitude, and behavior, and at the policy level. Also they coordinate in identifying appropriate approaches to solve the issues, in terms of communication approach-information distribution, communication campaign, media advocacy, and other approaches-physical, policy, and law approach. They also take a series of actions, and design a channel to get feedback in order to achieve goals.2. Factors related to communication process of public issues that lead to social change includes personal/organizational factors (commitment, credibility, facilitation role, medium role, media partnership), goal-related factors (coverage, public interest, challenging), factors related to the process of communication by design (duo method, flexibility, total cycle), message factors (concentration, concrete, distinct, evidence-based), and the environmental factors (politics, policy, regulations, trend).
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6944
URI: http://doi.org/10.14457/CU.res.2008.132
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.res.2008.132
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichat_communication.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.