Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69937
Title: | การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด |
Other Titles: | Development of an evaluation model for undergraduate vocational programs: an application of multiple evaluation approaches |
Authors: | อังค์วรา วงษ์รักษา |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด และ2. เพื่อทดลองใช้ และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี แนวคิดการประเมินหลักสูตร การประเมินโครงการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล และหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 38 คน หน่วยทดลองประกอบด้วย 2 หน่วยได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้า และหลักสูตรการจัดการสำนักงาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตร และแบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด เป็นบูรณาการการประเมิน 3 แนวคิดได้แก่ 1) แนวคิด CIPIEST model 2) แนวคิด Discrepancy model และ 3) แนวคิด Utilization –focused evaluation ซึ่งมีองค์ประกอบของรูปแบบการประเมินประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) วัตถุประสงค์และการออกแบบการประเมิน โดยมีองค์ประกอบตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินหลักสูตรประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 29 ตัวบ่งชี้ 2) วิธีการประเมิน 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) รายงานผลการประเมิน และ6) การให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. การทดลองใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่าทั้งสองหลักสูตรสามารถดำเนินการได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ที่กำหนด และมีผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรทั้ง 5 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม มาตรฐานด้านความถูกต้อง และมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อการประเมิน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ |
Other Abstract: | This research aimed to develop a model of program evaluation for undergraduate vocational programs by applying the multiple evaluation approaches; and to try-out and evaluatea developed evaluation model. The data sources for this research were the documents and the research reports related to undergraduate vocational programs and 38 experts in curriculum and instruction, measurement and evaluation, and undergraduate vocational programs.2 experimental units consisted of a program in electrical technology and a program in office management. The research instruments were semi-structured interview, focus group, questionnaire, and system standard evaluation form. The data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The findings can be summarized as follows; 1. The model of program evaluation for undergraduate vocational programs based on 3 evaluation approaches; 1) CIPIEST model 2) Discrepancy model and 3) Utilization –focused evaluation.The model consist of 6 main elements: 1) the objective and evaluation design; the components and indicators of program evaluation included 7 components 29 indicators, 2) the evaluation method, 3) the data collection, 4) the data analysis, 5) the evaluation report, and 6) the providing feedback. Which is appropriate and the possibility is in the high to the highest level 2. The try-out and evaluation on the model of the program evaluation found that both a program in electrical technology and a program in office management can be completed according to the components and the specified indicators. The evaluation result of a model of program evaluation in accordance with all 5 program evaluation standards, including 1. Utility Standards 2. Feasibility Standards 3. Propriety Standards 4. Accuracy Standards and 5. Evaluation Accountability Standards ranked in high to the highest in all items. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69937 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.709 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.709 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784228727.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.