Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70124
Title: การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก : กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ
Other Titles: Comparison between sea and land incoterms : case study of bagged sugar export
Authors: ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำตาล -- การส่งออก
น้ำตาล -- การขนส่ง
การขนส่งสินค้า
Sugar -- Transportation
Shipment of goods
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนอินโคเทอมทางทะเลและทางบก และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขายและการซื้อรูปแบบอินโคเทอมทางทะเลและทางบก โดยกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลรายหนึ่งของประเทศไทย การวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าใช้จ่ายในการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก และการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบอินโคเทอมทางทะเลและทางบกกับผู้ขายและผู้ซื้อที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบอินโคเทอมรูปแบบต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลมีค่าใช้จ่ายประหยัดกว่าการขนส่งสินค้าทางบกและตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้ซื้อคือค่าขนส่งสินค้าและค่าบริหารการจัดการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกรูปแบบอินโคเทอมมากที่สุดของผู้ขายและผู้ซื้อที่มีความคิดเห็นตรงกันคือเรื่องระบบการขายน้ำตาล การเปรียบเทียบรูปแบบการขายสินค้าจากอินโคเทอมรูปแบบทางบกแบบ EXW รวมค่าขนส่งสินค้าจนถึงด่านชายแดนกับรูปแบบอินโคเทอมทางทะเลแบบ FOB ผู้ขายสนใจที่จะใช้รูปแบบอินโคเทอมทางทะเลแบบ FOB มากกว่า เนื่องจาก ความสะดวกสบายในการขายสินค้า ความต้องการระบายสินค้า ระบบโลจิสติกส์ของบริษัทและสถานที่รับสินค้าปลายทางของผู้ซื้อ
Other Abstract: The objective of this research is to compare the incoterm cost between sea and land transport, and to study the factor that effected the selection of incoterm cost between sea and land by selecting one of the sugar exporters in Thailand. This research combined with quantitative research such as the cost analysis of sea and land transportation then conducting data analysis to find out expenses of incoterm cost between sea and land. And qualitative research by in-depth interview regarding factor that effected to consideration of incoterm pattern between seller and buyer. The studied result was obvious that the cost of sea transportation was lower than the land transportation, and the significant factors effected to the cost were cargo transport and management. Comparing between EXW term in land transportation and FOB in sea transportation, Seller prefer FOB term due to the convenience and logistic flow system of the company and buyer’s destination.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารกิจการทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70124
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.664
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.664
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187300420.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.