Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7067
Title: | การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยสถานประกอบการ : รายงาน |
Authors: | อาชัญญา รัตนอุบล สารีพันธุ์ ศุภวรรณ มนัสวาสน์ โกวิทยา วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา สมชัย วรานุกูลรักษ์ |
Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ ไม่มีข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การศึกษาปฐมวัย สถานเลี้ยงเด็ก |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยสถานประกอบการและเพื่อสรรหาและยกย่องสถานประกอบการที่มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่มีคุณภาพเนื้อหาของการวิจัยครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา วิธีการในการดำเนินการจัดการศึกษา บุคลากร สาระและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การประเมินผลการศึกษา สภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาและข้อเสนอแนะ กรณีศึกษา ได้แก่ สถานประกอบการที่มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวน 10 แห่งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะคือ สำรวจและศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่จัดโดยสถานประกอบการ วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาพร้อมข้อเสนอแนะ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสังเกตการดำเนินการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมของสถานรับเลี้ยงเด็ก และแบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล และเจ้าหน้าที่สถานรับเลี้ยงเด็กของสถานประกอบการทั้ง 10 แห่งที่จัดทำโดยผู้วิจัย ผลการวิจัย พบว่า สถานประกอบการการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของสถานประกอบการและบุคคลทั่วไป โดยเน้นการพัฒนาเด็กด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยส่วนใหญ่ ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์หรือฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการเป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษา แต่มีสถานประกอบการบางแห่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนพี่เลี้ยงเด็ก มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนสามารถใช้กิจกรรมได้หลายประเภท มีการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการจัดการศึกษาเป็นการภายในและรายงานผลแก่ผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือความจำกัดของสถานที่ ความหลากหลายของอายุของเด็กและความสม่ำเสมอในการมาเรียน ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษา ตลอดจนปัญหาด้านงบประมาณ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยควรสนใจและเอาใจใส่กับการจัดการศึกษาแก่เด็กให้มากยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์คุณลักษณะการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 6 ปี พบว่า สถานประกอบการแต่ละแห่งมีลักษณะเด่นเฉพาะ ด้านวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา วิธีการดำเนินการ และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ จึงทำให้สถานประกอบกากรทั้ง 10 แห่งได้รับการยกย่องเป็นสถานประกอบการที่จัดการศึกษาแก่เด็กอายุต่ำว่า 6 ปีที่มีคุณภาพ |
Other Abstract: | The two main purposes of this research were to study childcare organizing models provided by workplaces for under-six-year-old children and to select and appraise the workplaces with effective childcare organization. The research covered the following areas: purpose, process, staff, educational content and activities, location and environment, participation, evaluation, and problem and recommendations. The case studies consisted of ten workplaces in Bangkok metropolitan and its suburb. The method of research was that of descriptive research, composed of three phases: to survey and study the childcare organizing models provided by ten workplaces for under-six-year-old children, to analyze and synthesize the models, and to present the findings with recommendations. As for the research instruments, the structured observation form to observe daycare environment and activities and a structured interview form prepared by the researchers were used with labor relation, personnel and daycare officials. The findingswere as follows: Workplaces provided childcare services for under-six-year-old children as a welfare for their employees as well as for the general public, emphasizing physical, emotional, social, and intellectual developments. Generally, the childcare organization was carried out either by the labor relation section or by the personnel section, but some workplaces cooperated with certain outside organizations. In the view of the staff, teachers had bachelor's degree or mathayom suksa six certificate. Classroom were teacher assistants had mathayom suksa three or mathayom suksa six certificate. Classroom were commonly used for various activities. Internal assessment was regularly reported to executive. Problems included space limitation, students'age and class attendance, parents' expectations, and insufficient budget. Proper early childhood education should be of considerable concern by various groups of people. Regarding the appraisal, with its especial characteristics each of the ten workplace was appraised, considering its purpose, organizing, and achievement. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7067 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Archanya(Childcare).pdf | 26.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.