Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70726
Title: | การปรับใช้บทนิยาม "โดยทุจริต" ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ |
Other Titles: | The application of definition "Dishonesty" on the offences against property |
Authors: | จุฑาทิศ จารุพาสน์ |
Email: | [email protected] |
Advisors: | จิรนิติ หะวานนท์ มัทยา จิตติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีช้อมูล |
Subjects: | ความผิดต่อทรัพย์ การแสวงหาประโยชน์ Offenses against property Exploitation |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คำว่า “โดยทุจริต'' ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีความหมายตามบทนิยามในมาตรา 1(1)ว่า หมายความถึง “การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น'’ มีที่ใช้ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์หลายมาตราแต่ก็ยังคงมีบัญหาเรื่องความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายดังกล่าวซึ่งศาลฎีกายังต้องตีความความหมายของค่าว่า ''โดยทุจริต’' ดังที่ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาต่าง ๆ หลายคำพิพากษาฎีกาด้วยกัน การศึกษาพิเคราะห์ความหมายของค่าว่า "ทุจริต" เริ่มจากโครงสร้างความรับผิดทางอาญา ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกระทำความผิดอาญาจะต้องประกอบด้วย การกระทำอันเป็นองค์ประกอบหรือพฤติกรรมภายนอกซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด และที่สำคัญผู้กระทำ จักต้องกระทำโดยเจตนาหรือประมาทหรือไม่เจตนา แต่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด แต่ถึงกระนั้นก็ดี การกระทำโดยเจตนาบางกรณีไม่อาจ วินิจฉัยว่า ผู้กระทำมีเจตนาชั่วร้ายและเป็นความผิดดังที่ประเทศที่ใช้ระบบ Common Law กำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ ระบบ Civil Law อันมีหลักเกณฑ์ในการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเป็นต้องกำหนดบทกฎหมายให้ชัดเจน ดังเช่น มีการวางบทนิยามค่าว่า “โดยทุจริต" ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หลายมาตราด้วยกัน แต่จะเห็นได้ว่า จากการศึกษาความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 12 ทั้งหมด มีการบัญญัติฐานความผิดไว้หลายมาตรา อาทิเช่น ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้อง กระทำโดยมิเจตนาพิเศษ “โดยทุจริต" แต่อย่างไรก็ตาม ฐานความผิดอีกหลายฐานที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดจักต้องมีเจตนาพิเศษ “โดยทุจริต" อันได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น การทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ได้ทำการศึกษาความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “โดยทุจริต" เพื่อเปรียบเทียบกับคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “โดยทุจริต" ตามกฎหมายต่างประเทศและตามกฎหมายของประเทศไทย และวิเคราะห์ว่าความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดบ้างที่ไม่มีค่าว่า “โดยทุจริต" เป็นเจตนาพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์อะไรเป็นบรรทัดฐาน และประการสุดท้าย ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดจากการตีความความหมายคำว่า “โดยทุจริต” และปัญหาในการปรับใช้บทนิยามความหมายควบคู่ไป กับการวิเคราะห์ค่าพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ได้เสนอแนวความคิดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา การปรับใช้นิยามความหมายคำว่า “โดยทุจริต” ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คือเสนอให้คงใช้บทนิยามความหมายคำว่า "โดยทุจริต” ต่อไป ตราบใดที่ยังมิได้มีการแก้ไขบทบัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในปัจจุบันบางฐาน เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำมีเจตนาพิเศษ “โดยทุจริต” ให้ชัดเจน โดยเป็นการกระทำที่ปรากฎออกมาภายนอก ดังเช่น การกระทำความผิดฐานอื่น เช่น ความผิดฐาน กรรโชกทรัพย์ ซึ่งบัญญัติลักษณะของการกระทำไว้ชัดเจนแล้ว หรือในการกระทำความผิดฐานยักยอกที่ผู้กระทำความผิดไม่จำต้องมีเจตนา พิเศษ ‘'โดยทุจริต" ถ้าหากกฎหมายได้กำหนดลักษณะของการ “เบียดบัง’' ไว้ชัดเจน เป็นต้น ทั้งยังได้ตั้งข้อสังเกตเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงบทบัญญัติความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยให้มีการเพิ่มฐานความผิดโดยเฉพาะการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเป็นการบังคับชำระหนี้โดยพลการ ซึ่งปัจจุบันไม่เป็นความผิดในทางอาญา ให้เป็นความผิดอาญา โดยกำหนดโทษที่เบากว่าการ กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ไว้ด้วย |
Other Abstract: | With respect to the offences against property, "Dishonesty" as per section 1 (1) of criminal code is defined as unjust exploitation for one own, or others. This word is appeared in many sections related to the offences against property. Because of the ambiguity of the definition, the Supreme Court construed this term in different manners as appeared in lots of Supreme Court judgments. The study and analysis of the definition of dishonesty start from structure of criminal liability. Seeing that criminal offence must consist of action which is an external factor, or an external behavior defined by law to be offence. In addition, offender must act intentionally, except in case where the law provides that he must be liable when he acts by negligence, or unintentionally. Some intentional acts, however, may not reveal the bad intention of the offender, hence, the offender will not be charged on criminal offence, especially in those countries that use common law. In Thailand, which adopted civil law, therefore, the law should prescribe clearly the definition of dishonesty, which is specific intention, especially in the offences against property. The study of the offences against property as provided in title 12 of the Thai criminal code shows that in some offences such as extortion of property, and blackmail the offender is not required act with dishonesty. While in several other offences such as larceny, embezzlement, the offender is required act with dishonesty. In this thesis, the author has studied general meaning of dishonesty in Thai law in comparison with the closest legal term of dishonesty m foreign countries. Then, the author analyzed the criteria determining the offences against property that do not have dishonesty as a specific intention. Finally, the author has analyzed the problems arising from the interpretation of the word dishonesty, and the application of such definition, along with the analysis of Supreme Court judgments. As for recommendations, the author suggests first, we should continue to use the definition of dishonesty as long as there is no amendment of the prescriptions of offences against property. Second, the offence of larceny should be defined clearly regarding external factors and behaviors, like what has been defined in the offence of extortion. Third, it might not be necessary to define dishonesty as a special intention in the offence of embezzlement if the act of misappropriation is clearly defined. Finally, the author also advises to criminalize the act by which the creditor takes away property of debtor as a means to satisfy the obligation, but set the lower punishment than that of larceny. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70726 |
ISSN: | 9746386859 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutatis_ch_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 363.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_ch1.pdf | บทที่ 1 | 177.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_ch2.pdf | บทที่ 2 | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_ch3.pdf | บทที่ 3 | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_ch4.pdf | บทที่ 4 | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_ch5.pdf | บทที่ 5 | 264.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chutatis_ch_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 140.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.