Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7091
Title: | การสำรวจสภาพการวัดและประเมินผลการเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
Authors: | สุวิมล ว่องวาณิช |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- คณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การศึกษาและการสอน การวัดผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจกลุ่มอาจารย์ผู้มีความสนใจด้านการวัดและประเมินผล เครื่องมือและวิธีการที่อาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ในการวัดและประเมินผล และเพื่อสรุปปัญหาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อหากลุ่มอาจารย์ที่สนใจด้านการวัดและประเมินผลการเรียนของนิสิต และสภาพการวัดและประเมินผลโดยทั่วๆ ไป ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อาจารย์ในภาควิชาต่างๆ อย่างน้อยภาควิชาละ 1 คน ในทุกคณะและสถาบันที่มีการเรียนการสอน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ อาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2,389 คน การสำรวจระยะที่ 1 มีผู้ส่งแบบสอบถามกลับคืนมา 488 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ส่วนระยะที่ 2 ทำการสัมภาษณ์อาจารย์ จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่ และร้อยละ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังนี้ จำนวนอาจารย์ที่มีความสนใจเพิ่มพูนความรู้เพื่อพัฒนาตนเองด้านการวัดและประเมินผลการเรียนของนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีร้อยละ 82.7 ผู้มีความสนใจจะเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการวัดและประเมินผลการเรียนของนิสิต มีร้อยละ 79.5 ผู้ยินดีจะเป็นวิทยากรในการเผยแพร่ความรู้ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนแก่ผู้อื่น มีร้อยละ 34.8 อาจารย์ผู้ได้รับเสนอรายชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้และ/หรือมีความสนใจด้านการวัดและประเมินผลการเรียนมีจำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 8.2 ของจำนวนอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย ผลการสัมภาษณ์อาจารย์จำนวน 194 คน จากแต่ละภาควิชา ปรากฏดังนี้ วิธีการสอนที่อาจารย์ใช้มีหลายวิธีประกอบกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นวิธีสอนแบบบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความรู้ เนื้อหาทางทฤษฎี คือข้อสอบ ซึ่งข้อสอบที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบอัตนัย หรือเป็นอัตนัยคละปรนัย ทั้งนี้ข้อสอบปรนัยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ โดยภาพรวมในการวัดภาคปฏิบัติจุดเน้นอยู่ที่กระบวนการปฏิบัติมากกว่า คุณภาพของงาน แต่แตกต่างกันบ้างระหว่างสาขาวิชา สาขาวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการวัดกระบวรการมากกว่าผลงาน ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นการวัดผลงานมากกว่า เครื่องมือที่ใช่ส่วนใหญ่เป็นรายงานการปฏิบัติ และการสอบด้วยข้อสอบข้อเขียน ในการวัดจะมีทั้งแบบที่สังเกตพฤติกรรมผู้เรียนโดยสม่ำเสมอ และพิจารณาจากรายงาน แต่แบบที่มีการจัดสถานการณ์สอบโดยให้นิสิตปฏิบัติให้ดูยังมีน้อยกว่าแบบอื่น เครื่องมือที่ใช้วัด ในกรณีเป็นการสังเกตพฤติกรรมยังมีอยู่น้อย อาจจะกล่าวได้ว่าการวัดจุดมุ่งหมายด้านจิตพิสัยมีน้อยมาก กลุ่มที่บอกว่าวัดก็ไม่มีเครื่องมือวัดที่ชัดเจน วิธีการวัดและประเมินผลที่อาจารย์ปฏิบัติอยู่ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดก็ตาม พบว่ามีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องของกระบวนการสร้างข้อสอบ การสอบ การตรวจ การตัดเกรด กล่าวคือ การสร้างข้อสอบจะขึ้นอยู่กับผู้สอนที่รับผิดชอบเนื้อหาที่ตนสอน มีอยู่เป็นส่วนน้อยที่จะมีการประชุมพิจารณาการออกข้อสอบร่วมกัน ส่วนการสอบนั้นส่วนใหญ่สอบ 2 ครั้งต่อภาคเรียน และเป็นแบบปิดตำรา โดยแจ้งให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้า ส่วนการตัดสินผลการเรียนไม่เป็นระบบอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่มอย่างแท้จริง เพราะมีการปรับเปลี่ยนแปลง หรือยืดหยุ่นเกณฑ์การตัดสินเป็นส่วนใหญ่ ในด้านการพัฒนาคุณภาพข้อสอบนั้น อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ ส่วนใหญ่จะออกข้อสอบใหม่ทุกครั้ง ข้อสอบเก่าที่ออกจะเก็บไว้เพื่อเป็นแนว แต่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพ ดังนั้น การสร้างคลังข้อสอบจึงมีน้อย ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่หัวหน้าภาควิชามีบทบาทในการตัดสินผลการเรียนโดยเฉพาะขั้นตอนการตัดเกรด ในกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หัวหน้าภาควิชามีบทบาทน้อยหรือไม่มี เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนของนิสิตต่างระดับ คือ ปริญญาตรี โท เอก ไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ต่างกันบ้างที่วิธีการสอน อย่างไรก็ตาม หากเรียนด้วยกันกับปริญญาตรี พบว่าอาจารย์มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งประมาณร้อยละ 52 ตัดสินตามมาตรฐานของวิชา โดยผู้สอนไม่ได้ตั้งเกณฑ์สูงกว่านิสินปริญญาตรี ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งตั้งเกณฑ์สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาสูงกว่า (48%) ในการสำรวจปัญหาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียน พบว่า อาจารย์เรียกร้องให้มีการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะการให้ความรู้โดยการอบรมเกี่ยวกับหลักวิธีการวัดและประเมินผล อาจารย์ส่วนใหญ่มีจิตสำนึกที่จะให้การประเมินผลมีความยุติธรรม แต่ไม่มีความมั่นใจในวิธีการที่ตนปฏิบัติอยู่ ประเด็นสำคัญที่พบเป็นส่วนใหญ่ คืออาจารย์มีความต้องการและเห็นความสำคัญของกรใช้ข้อสอบอัตนัย เพราะคิดว่าสามารถวัดความรู้ความสามารถ และกระบวนการคิดได้กว้างกว่า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7091 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chula(Suwimon).pdf | 8.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.