Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7099
Title: | การพัฒนากระบวนการสอนอ่านโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่าน เพื่อพัฒนาวุฒิภาวะทางการอ่านของนักเรียนประถมศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาชีพครูของนิสิตปริญญาโท สาขาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | The development of instructional process using reading portfolio to improve elementary school students' reading maturity and to enhance professional development of graduate students, the Department of Elementary Education, Chulalongkorn University |
Authors: | สำลี ทองธิว |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | แฟ้มผลงานทางการศึกษา วรรณกรรมสำหรับเด็ก การสอน การอ่านขั้นประถมศึกษา การฝึกหัดครู |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความเป็นมาของการวิจัย ในปัจจุบันนี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของครูคือยังไม่ได้มีการเน้นความสามารถในการปรับปรุงความรู้ด้านศาสตร์การสอน ทักษะการสอน ความรับผิดชอบของครูในการสร้างความรู้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งของนักเรียนและของตัวผู้สอนเอง การฝึกหัดครูที่กำลังเป็นอยู่ก็คือการให้ความรู้พื้นฐานทางวิชาการและการสอนตลอดจนการจัดประสบการณ์ด้านการสอนเพื่อให้นิสิตฝึกหัดครูสามารถปฏิบัติภาระงานครูที่กระทำต่อเนื่องกันมาได้อย่างราบรื่นเท่านั้น สภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนในสถาบันฝึกหัดครูที่จัดให้นิสิตเรียนทฤษฎีการสอนและหลักการทางการศึกษาในชั้นเรียน การจัดให้นิสิตฝึกประสบการณ์ในฐานะผู้สังเกตการสอนและฝึกปฏิบัติงานสอนของครูผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีโอกาสได้บันทึกรายละเอียดของประสบการณ์ตรงนั้นลงในพอร์ทโฟลิโอและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประเมินความรู้ที่ได้และสังเคราะห์ทั้งความรู้และประสบการณ์นั้นด้วยตัวเองหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ตรงที่ได้กับเพื่อนนิสิตในฐานะครูด้วยกันทำให้นิสิตขาดโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพครูของตนเองอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้การสอนอ่านหนังสือในระดับประถมศึกษามุ่งเน้นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้จากหนังสือเรียนและหนังสือที่ครูคัดเลือกให้อ่านเป็นหลัก ซึ่งทำให้การอ่านเป็นเรื่องภาวะจำยอมของนักเรียนและเบี่ยงเบนจุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านไปนั้นคือการอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อพัฒนาวุฒิภาวะทางความคิดทางความรู้ตามความสนใจและเพื่อสนองตอบอารมณ์สุนทรียะของนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาได้รู้จักหนังสืออ่านนอกจากหนังสือเรียนอย่างหลากหลายประเภท สามารถเลือกอ่านหนังสือได้ตามความสนใจและสนองตอบอารมณ์ในวาระต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อพัฒนากระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านสำหรับให้นิสิตปริญญาโทสาขาการประถมศึกษาใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2. เพื่อศึกษาวุฒิภาวะทางการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านหนังสือประเภทต่างๆ 3. เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านหนังสือสำหรับเด็กประเภทต่างๆ ที่มีต่อนิสิตปริญญาโทสาขาประถมศึกษาภาคต้น ปีการศึกษา 2540 ในด้านพัฒนาการทางวิชาชีพครู 4. เพื่อตอบคำถามเชิงวิเคราะห์เพื่อหาความกระจ่างเกี่ยวกับพัฒนาการทางวิชาชีพครูในด้านพฤติกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นกับความเกี่ยวข้องกับคุณภาพของการศึกษาในโรงเรียน และคุณภาพของการจัดการศึกษาในสถาบันฝึกหัดครู คำถามในการวิจัย 1. นิสิตปริญญาโทในการวิจัยสามารถระบุชื่อวีสอนอ่านที่ใช้อยู่ได้หรือไม่ บอกจุดเด่นและด้อยของวิธีสอนนั้นได้หรือไม่ เพียงไร กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอทำให้ความสามารถดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร 2. หลังจากที่นิสิตฯ ใช้กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอแล้วสามารถสร้างวิธีการสอนอ่านใหม่ๆ ได้หรือไม่ สร้างอย่างไร สามารถบอกเหตุผลประกอบการสร้างได้หรือไม่เพียงไร และการใช้กระบวนการสอนนี้ทำให้นิสิตฯ เรียนรู้เกี่ยวกับนักเรียนได้มากน้อยเพียงไร ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร 3. เมื่อมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการสอนแล้วแนวคิดและปรัชญาทางการศึกษาและการเรียนการสอนของนิสิตฯ เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เพียงไร 4. ลักษณะและวิธีการตอบคำถามของนักเรียนหลังการอ่านหนังสือมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร มีความตอบคำถามในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์หรือแสดงความเข้าใจในเชิงลึกมากขึ้นหรือไม่ ต่างจากการตอบคำถามเพื่อแสดงความระลึกเนื้อหาได้หรือไม่ อย่างไร 5. พัฒนาการทางวิชาชีพครูในด้านพฤติกรรมการสอนของครูมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับคุณภาพของนักเรียน และสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและสภาพของการจัดการศึกษาในสถาบันฝึกหัดครูอย่างไร ตัวอย่างประชากร ตัวอย่างประชากรกลุ่มแรกเป็นนิสิตปริญญาโทปีที่หนึ่งและสองของภาควิชาประถมศึกษาปีที่ห้าจำนวน 22 คนจากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตปทุมวันจำนวน 3 โรง ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือพอร์ทโฟลิโอสำหรับครูที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึกรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญสามส่วนคือส่วนที่หนึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของนิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรซึ่งรวมถึงการเตรียมการสอน รายละเอียดการสอน-ผลที่เกิดจากการสอน (พค.2, พค.2 แนวปป1, พค.2 แนวปป2, พค.3น1, พค.3น2, พค.3น3) ส่วนที่สองเป็นการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นฐานทางสังคมและพื้นฐานการอ่านของนักเรียน (พค1, พค1/2) ส่วนที่สามเป็นการบันทึกการสนทนาอภิปรายระหว่างนิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรกับอาจารย์ผู้ควบคุมเกี่ยวกับข้อค้นพบเรื่องผลการสอน ปัญหาและการแก้ปัญหาการเรียนการสอน (พค.4) แบบสอบถามแนวคิดและปรัชญาการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมแบบไม่เป็นทางการด้านการจัดการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละและมัชฌิมเลขคณิต ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงศึกษาวิเคราะห์ภายใต้กรอบทฤษฎีการศึกษา กรอบแนวการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางการศึกษา แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรฝึกหัดครูรูปแบบต่างๆ และทฤษฎีความขัดแย้ง ผลการวิจัย 1. กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้นคือ ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียน ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนโดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ขั้นเลือกวิธีสอนและสร้างแผนการสอน ขั้นบันทึกข้อมูลลงในส่วนที่หนึ่งและสองของพอร์ทโฟลิโอ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลในพอร์ทโฟลิโอ และขั้นสนทนาอภิปรายกับอาจารย์ผู้ควบคุมและบันทึกข้อมูลลงในพอร์ทโฟลิโอส่วนที่สาม 2. นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรในการวิจัยปรากฏวุฒิภาวะทางการอ่านมากขึ้นกล่าวคือเมื่อนักเรียนได้รับการสอนตามกระบวนการสอนที่สร้างขึ้นครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถอ่านหนังสือได้มากเล่มขึ้นในแต่ละครั้งการสอนคือเฉลี่ยได้ครั้งละ 15.66 เล่มในขณะที่ก่อนการสอนครบตามกระบวนการสอนทั้งหกขั้นอ่านได้เฉลี่ยครั้งละ 13.33 เล่ม และพบว่านักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรสามารถอ่านหนังสือประเภทสารคดี ประเภทนิทานท้องถิ่น ประเภทเรื่องสั้น ประเภทกวีนิพนธ์และประเภทปรัชญาและศาสนามากเล่มขึ้นหลังจากที่ได้รับการสอนครบตามกระบวนการสอนทั้งหกขั้น มีเพียงนิทานวรรณคดีเท่านั้นที่อ่านได้น้อยเล่มลง 3. นิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรในการวิจัยปรากฏพัฒนาการทางวิชาชีพครูตามที่กำหนดไว้ในการวิจัย กล่าวคือเมื่อนิสิตฯ ใช้กระบวนการสอนที่สร้างขึ้นจนครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถระบุวิธีสอนที่ใช้ได้มากขึ้นคือระบุได้ร้อยละ 83.83 ในขณะที่ก่อนการใช้กระบวนการสอนทั้งหกขั้นสามารถระบุได้ร้อยละ 22.7 สามารถสร้างวีการสอนใหม่ขึ้นได้มากขึ้นคือหลังจากใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถสร้างวิธีการสอนใหม่ได้ร้อยละ 44.94 ในขณะที่ก่อนใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นสร้างได้ร้อยละ 4.5 4. นิสิตฯ สามารถระบุชื่อวิธีสอนได้มากขึ้นหลังจากที่ใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วโดยสามารถบอกจุดเด่นและด้อยของวิธีสอนที่ใช้ได้ด้วย 5. นิสิตสามารถสร้างวิธีสอนอ่านแบบใหม่ขึ้นได้โดยลักษณะการสร้างมีทั้งที่ประยุกต์วิธีสอนแบบเติมให้เหมาะสมกับผู้เรียนหรือแก้ไขจุดบกพร่องของวิธีสอนแบบเดิมและวิธีการสร้างโดยผสมผสานวิธีสอนแบบเดิมเข้าด้วยกันพร้อมทั้งสามารถระบุเหตุผลของการผสมผสานด้วย 6. แนวคิดด้านปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการเรียนการสอนของนิสิตฯ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก 7. การตอบคำถามเนื้อหาในหนังสือของนักเรียนหลังได้รับการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีการสอดแทรกการวิเคราะห์ วิจารณ์และการคาดเดาเหตุการณ์ที่ไม่ได้มีระบุไว้ในเนื้อเรื่องมากขึ้น นักเรียนสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตัวผู้เขียนได้ด้วย |
Other Abstract: | The major purpose of this study was to construct an instructional process to be used with teaching portfolios in reading classes, and to study all the consequences of the instructional process to see whether the instructional process could enhance professional development and enhance reading maturity of students involved in the research study. Data on 11 graduate student teachers at the Department of Elementary Education, Chulalongkorn University, and 22 fifth graders from 3 schools under the Jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration were collected during reading classes in the second semester of the school fiscal year 1997 by means of teaching portfolios. Portfolios included student teachers' exhibits of teaching methods, teaching process and reflections on their practices ; pupils' reading process and performances ; and dialogue between student teachers and their mentor. Data were analyzed using percentage, mean, and critical analysis technique. Results show that professional development measured via the ability to identify teaching of reading methods and to create new teaching of reading methods is found among the student teachers after the utilization of all six stages in the instructional process. It is also found that the instructional process operating in a teaching laboratory under the conditions designed to facilitate close observation and guidance on pupils help develop professional responsibilities as well as enhance the pupils' reading maturity measured through the ability to read children trade books of various genres. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7099 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Portfolio(Sumlee).pdf | 11.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.