Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71431
Title: การบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลรัฐระดับทุติยภูมิและตติยภูมิและโรงพยาบาลเอกชนขนาดหนึ่งร้อยเตียงขึ้นไปในประเทศไทย พ.ศ. 2548
Other Titles: Cytotoxic drugs (chemotherapy) management in public hospitals and private hospitals in thailand, 2005
Authors: ประภาพรรณ เทียงมา
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
สรันยา เฮงพระพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected],[email protected]
Subjects: การรักษาด้วยยา
เคมีบำบัด
โรงพยาบาล -- ไทย
Chemotherapy
Hospitals -- Thailand
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลรัฐระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ และโรงพยาบาลเอกชนขนาดหนึ่งร้อยเตียงขึ้นไปในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามชนิดให้ตอบด้วยตนเองทางไปรษณีย์ ไปยังโรงพยาบาลจำนวน 328 แห่ง เป็นโรงพยาบาล รัฐระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ (144) และโรงพยาบาลเอกชนขนาดหนึ่งร้อยเตียงขึ้นไป (184) โดยศึกษาประชากร ทั้งหมดไม่ได้สุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2548 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA test ผลการวิจัย พบว่ามีอัตราการตอบกลับร้อยละ 72.3 โดยโรงพยาบาลมีการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ร้อยละ 75 มีน โยบาย/มาตรการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ร้อยละ 68.3 มีคู่มือ/แนวทางในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 73 มีหน่วยงาน/คณะกรรมการรับผิดชอบ ร้อยละ 40.4 ส่วนใหญ่มีการจัดสรรบุคลากรไม่เพียงพอ ร้อยละ 60.7 ใช้ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดเฉลี่ย 9 ขนาดใช้/วัน ส่วนใหญ่ใช้ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 36.5 ไม่มีหอผู้ป่วย ให้ยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ ร้อยละ 87.1 มีผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้ยาเคมีบำบัดเฉลี่ย 95 คน/เดือน มีศูนย์กลางเตรียมยา เคมีบำบัด ร้อยละ 40.3 การบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดตามแนวปฏิบัติของ OSHA ซึ่งมีการประเมิน 5 ระดับ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง โดยมีการปฏิบัติด้านการเก็บยาในระดับค่อนข้างมาก การปฏิบัติ ด้านการจัดหาสถานที่ ขนส่งยา กำจัดขยะ อุปกรณ์ปนเปื้อนยาและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย การจัดการเมื่อเกิดอุบัติ เหตุยาหก ตก แตก รั่ว ในระดับปานกลาง ส่วนการปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพ เก็บบันทึกข้อมูล ฝึกอบรมและเผย แพร่ข้อมูล การเตรียม การให้ยาเคมีบำบัด อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ ปฏิบัติงานบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านโรงพยาบาล ได้แก่ ระดับการให้บริการ ประเภทสังกัดขนาดของโรงพยาบาลปริมาณและความถี่ในการใช้ยาจำนวนผู้ป่วยใช้ยา การดำเนิน งานคุณภาพ การรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล หอผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ ปัจจัยด้านหน่วยงาน ได้แก่ นโยบาย/มาตรการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด คู่มือ/แนวทางในการปฏิบัติงาน หน่วยงาน/คณะกรรมการที่รับผิด ชอบ ช่องทางการสื่อสาร และงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินงานบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนปัจจัยที่ เป็นปัญหาหรืออุปสรรคใน การดำเนิน งาน 3 อันดับแรก คือ ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ร้อยละ 69.9ด้าน บุคลากร ร้อยละ 69.2 ด้านนโยบาย คู่มือ แนวทางในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 60.9 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดของไทยตามแนวปฏิบัติของ OSHA โดย รวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลางและโรงพยาบาลควรจัดให้มีนโยบาย งบประมาณ และแนวทางในการ ดำเนินงาน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาล ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้มากที่สุด เพื่อ ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
Other Abstract: The purposes of this cross-sectional descriptive study were to explore cytotoxic drugs (chemotherapy) management in public hospitals and private hospitals in Thailand. The self-administered questionnaires were sent to 144 public hospitals and 184 private hospitals. The study population was 328 hospitals without sampling. Data was collected during February and September 2005. The results showed that the response rate was high (72.3%). Most hospitals had cytotoxic drugs (CDs) management (75.1%), policies for CDs management (68.3%), guideline (73%), committee (40.4%), and inadequate personnel (60.7%). Most hospitals administrated CDs for an average of 9 doses/day, use CDs every week (36.5%), served cancer patients for an average of 95 persons/month, and had centralized preparation of CDs (40.3%). Five-rating scales according to OSHA guideline were used to assess CDs management compared to OSHA guideline and found that most hospitals were of moderate level. CDs storage was practiced and rated as the highest level. Providing work area, transporting, disposal and spill management were of moderate level. Medical surveillances, record keeping, training and information distribution, preparation and administration were of low level. Factors associated with CDs management as of OSHA guideline were : hospital factors (health service level, number of beds and cancer patients, number and frequency of CDs injection, quality improvement activity, hospital accreditation and special ward for chemotherapy) and organization factors (policy, guideline, committee, communication channel and adequate budget). In conclusion, this study revealed that CDs management as of OSHA guideline in public hospitals and private hospitals were of moderate level. The central authority and hospital facility should establish an appropriate policy and a guideline and provide budget for safety CDs management. This will prevent CDs exposure in healthcare personnel and contamination to the environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71431
ISBN: 9741424531
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapapan_th_front_p.pdf954.77 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_ch1_p.pdf935.49 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_ch2_p.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_ch3_p.pdf780.96 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_ch4_p.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_ch5_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Prapapan_th_back_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.