Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71566
Title: การผลิตถ่านกัมมันต์จากไม้โกงกางด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งและคาร์บอนไดออกไซด์
Other Titles: Production of activated carbon from mangrove wood using superheated steam and carbon dioxide
Authors: นิชชรี นิลนนท์
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: คาร์บอนกัมมันต์
ไอน้ำร้อนยิ่งยวด
คาร์บอนไดออกไซด์
Carbon, Activated
Stream, Superheated
Carbon dioxide
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองผลิตถ่านกัมมันต์จากไม้โกงกางได้ดำเนินงาน 2 ขั้นตอนคือ คาร์บอไนเซชั่นและการกระตุ้นด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ขั้นตอนแรกทำการคาร์บอไนซ์ในเครื่องคาร์บอไนเซอร์ ตัวแปรที่ศึกษาคือ อุณหภูมิ 250-400 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการคาร์บอไนซ์ 20-60 นาที พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์ คือ อุณหภูมิเบด 300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านไม้ร้อยละ 38.07 มีปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 71.44 สารระเหยร้อยละ 23.02 และเถ้าร้อยละ 5.54 ขั้นที่ 2 การกระตุ้นด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีตัวแปรที่ศึกษาคือ อุณหภูมิ 700-850 องศาเซลเซียส เวลาที่ใซีในการกระตุ้น30, 60, 90 และ 120 นาที ขนาดอนุภาคถ่าน < 0.355, 0.355-0.6, 0.6-1.18, 1.18-2.36, 2.36-4.75 มิลลิเมตร พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นคือ อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ที่เวลา 60 นาที ขนาดอนุภาค 0.6-1.18 มิลิเมตร ปริมาณการป้อนอากาศและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ลิตรต่อนาที ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ ด้วยปริมาณไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่มากเกินพอ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านกัมมันต์ร้อยละ 27.47 มีพื้นที่ผิวจำเพาะทั้งหมด 639.74 ตารางเมตรต่อกรัม โดยแบ่งเป็นพื้นที่ผิวรูพรุนชนิดแมคโครพอร์ 156.50 ตารางเมตรต่อกรัม พื้นที่ผิวรูพรุนชนิดไมโครพอร์ 483.24 ตารางเมตรต่อกรัม ค่าการดูดซับไอโอดีน 675.14 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าการดูดซับเมทธิลีนบลู 254.73 มิลลิกรัมต่อกรัม และเมื่อนำถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้จากภาวะที่เหมาะสมนี้ไปทำการดูดซับไดโครเมตไอออน พบว่ามีค่าความจุในการดูดซับ 66.23 และ 59.52 มิลลิกรัมต่อกรัม ที่ pH 1 และ pH 2 ตามลำดับ
Other Abstract: The activated carbon production from Mangrove wood has 2 steps : carbonization and activation using superheated steam and carbon dioxide. The first step is carbonization; variables to be studied were temperature 250-400 °c and time 20-60 min. The optimum condition for carbonization was at 300 °c for 60 min. The characteristics of char were found to be : % yield 38.07, % FC 71.44 1 % VCM 23.02 and % ash 5.54. The second step is to activate the char by using superheated steam and carbon dioxide. The variables were temperature 700-850 °c , time 30 , 60,90 , 120 min., and sizes of particle < 0.355 , 0.355-0.60 1 0.60-1.18 1 1.18-2.36 1 2.36-4.75 mm. .It was found that the optimum condition for activation was at 850 °c for 60 min. and 0.6-1.18 mm. size of particles . The quantity of air and carbon dioxide were 5 l/min. at 30 °c , 1 atm with excess superheated steam .The resulting characteristics were 27.47% yield 1 BET surface area 639.74 m2/g , macropores surface area 156.50 m2/g , micropores surface area 483.24 m2/g , Iodine adsorption number 675.14 mg/g , and methylene blue adsorption number 254.73 mg/g. It was also found that the capability of the activated carbon on colour adsorption of dichromate ion were 66.23 and 59.52 mg/g at pH 1 and pH 2 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71566
ISBN: 9746379933
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitcharee_ni_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ704.34 kBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch1.pdfบทที่ 1179.04 kBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch2.pdfบทที่ 22.45 MBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch3.pdfบทที่ 34.34 MBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch4.pdfบทที่ 41.38 MBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch5.pdfบทที่ 5508.64 kBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_ch6.pdfบทที่ 6137.14 kBAdobe PDFView/Open
Nitcharee_ni_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.