Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7190
Title: จลนพลศาสตร์และความว่องไวต่อปฏิกิริยาของถ่านหินในประเทศไทย
Other Titles: Kinetics and reactivity of Thai coal chars
Authors: สุภาภรณ์ เศวตาภรณ์
Advisors: กัญจนา บุณยเกียรติ
บุนยรัชต์ กิติยานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ถ่านหิน
การแยกสลายด้วยความร้อน
การผลิตก๊าซจากถ่านหิน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของอุณหภูมิ ขนาดอนุภาค แร่ธาตุในถ่านหินและภาวะการไพโรไลส์ ที่ส่งผลต่อสมบัติและความว่องไวต่อปฏิกิริยาของถ่านชาร์ โดยการไพโรไลส์ถ่านหินศักดิ์ลิกไนต์ แหล่งจี้ จังหวัดลำพูนและศักดิ์ซับบิทูมินัส แหล่งลำปาง จังหวัดลำปาง ขนาดอนุภาค <75 และ 150-250 ไมโครเมตรในเครื่องปฏิกรณ์แบบ drop tube ที่อุณหภูมิ 500-900 องศาเซลเซียส จากนั้นนำถ่านชาร์ที่ได้มาทำปฏิกิริยาแกซิฟิเคชันด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ในเครื่องปฏิกรณ์แบบ drop tube/fixed bed ที่อุณหภูมิ 900-1,100 องศาเซลเซียส ติดตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาด้วยการวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดขึ้น กับเวลาและวิเคราะห์ในเทอมของความว่องไวและพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา พบว่าอัตราแกซิฟายถ่านชาร์ขึ้นกับอุณหภูมิแกซิฟายและสมบัติเบื้องต้นของถ่านชาร์ โดยปฏิกิริยาแกซิฟิเคชันเกิดได้ดีเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ถ่านชาร์จากถ่านหินลิกไนต์มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา สูงกว่าถ่านชาร์จากถ่านหินซับบิทูมินัส และถ่านชาร์ขนาดอนุภาค <75 ไมโครเมตรมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา สูงกว่าถ่านชาร์ขนาด 150-250 ไมโครเมตร เนื่องมาจากอิทธิพลของสารอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในถ่านหินเริ่มต้น ซึ่งถ่านชาร์ที่ผ่านการล้างสารอนินทรีย์มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา ต่ำกว่าถ่านชาร์ที่ไม่ผ่านการล้างสารอนินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด แต่ผลของอุณหภูมิไพโรโลส์ถ่านหินต่อความว่องไวของถ่านชาร์ไม่เด่นชัดมากนัก อัตราการแกซิฟายถ่านชาร์นี้สามารถอธิบาย จลนพลศาสตร์ได้ด้วยแบบจำลองแกนกกลางหดตัว (Shrinking-core model) โดยมีค่าพลังงานกระตุ้นของถ่านชาร์จากถ่านหินลิกไนต์ และซับบิทูมินัสอยู่ในช่วง 44-69 และ 51-66 กิโลจูลต่อโมล ตามลำดับ และสารอนินทรีย์ในถ่านชาร์มีส่วนช่วยลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
Other Abstract: To study the effects of pyrolysis temperature, particle size and inorganic matter on reactivity of char. Two size ranges (<75 micro m. and 150-250 micro m.) of Ban Pu lignite and Lampang subbituminous coals were pyrolyzed in a drop tube furnace reactor in nitrogen atmosphere at 500-900 ํC. After that, gasification rate of these coal chars with carbon dioxide were determined at 900-1,100 ํC. The result is analyzed in terms of; reaction rate and reactivity of char - carbon dioxide gasification, and activation energy. It was found that gasification rates depend on reaction temperature and chars properties. By increasing the temperature, gasification rate of these coal chars increase. Lignite chars have higher gasification reactivity than subbituminous chars. For <75 micro m. chars, gasification reactivity is higher than 150-250 micro m. chars from resources due to the higher inherent content of inorganic matter. Comparison of gasification both rates and reactivity indices of chars from demineralized coal andfrom untreated coals show that chars from the latter have higher reactivity. Pyrolysis temperature shows little effect on gasification reactivity. Shrinking - core model can best describe the experimental results. The apparent activation energy of lignite chars and subbituminous chars are 44-69, 51-66 kJ/mol respectively. It is also found that the presence of inorganic matter in chars reduces the activation energy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7190
ISBN: 9745321192
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.