Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7206
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แำกมเกตุ-
dc.contributor.authorสุพัตรา ทรัพย์เสถียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-06-06T10:06:32Z-
dc.date.available2008-06-06T10:06:32Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741756615-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7206-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผล ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 150 โรงเรียน ที่ได้รับรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก ในรอบแรกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 4 ตัวแปรคือ ประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยด้านลักษณะของโรงเรียน ปัจจัยด้านลักษณะของบุคลากร และปัจจัยด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ตัวแปรภายนอกแฝง 1 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านลักษณะของสภาพแวดล้อม โดยตัวแปรแฝง วัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด18 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .60-.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมประกอบด้วย ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะของบุคลากร และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิผล ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะของโรงเรียน ปัจจัยด้านลักษณะของสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านลักษณะของนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะของนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่า ไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 69.755; p=.924 ที่องศาอิสระ = 88 ค่า GFI = .951 ค่า AGFI = .904 และค่า RMR = .006 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผล ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ร้อยละ 98 3.โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มโรงเรียนต่างขนาด โดยให้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 2.357 df =6, p=.884, GFI=.994, NFI =.996, RFI=.978และRMR=.003 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายในแฝงและค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรภายนอกแฝงไปยังตัวแปรภายในแฝงen
dc.description.abstractalternativeTo develop the casual model of the effectiveness of the internal quality assurance in basic education institutions, to examine the goodness of fitting of the model to the empirical data, and to test invariance of the model of the effectiveness of the internal quality assurance in basic education institutions. The research sample consisted of 150 basic education institutions which received the report of the first external quality evaluation from the Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). The research responders were school directors, teachers, students, and parents. Variables consisted of four endogenous latent variables: the effectiveness of the internal quality assurance in basic education institutions, factor of school characteristics, factor of employee characteristics, and factor of managerial policies and practices; and one exogenous latent variable: factor of environmental characteristics. These latent variables were measured by 18 observed variables. Data were collected by questionnaires having reliability for each variable ranging from .60-.97 and analysed by using descriptive statistics, Pearson's product mement correlation, LISREL analysis, and multiple group structural equation model analysis. The major findings were as follows 1. The casual model consisted of two types of variables, i.e., variable having direct effect to the effectiveness of the internal quality assurance in basic education institutions: factor of employee characteristics; and variable having both direct and indirect effects: factor of school characteristics, factor of managerial policies and practices, and factor of environmental characteristics. Among these variables, factor of managerial policies and practices had the highest total effect. 2. The casual model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 69.755, p = .924, df = 88, GFI = .951, AGFI = .904, and RMR = .006. The model accounted for 98% of variance in effectiveness of internal quality assurance in basic education institutions. 3. The casual model indicated invariance of model form among three different sizes of school. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 2.357, df = 6, p = .884, GFI = .994, NFI = .996, RFI = .978, and RMR = .003. However, the parameter of the causal effect matrix between endogenous latent variables and the parameter of the casual effect matrix from exogenous latent variable to endogenous latent variables were variance across three school groups.en
dc.format.extent2848005 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.499-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประกันคุณภาพการศึกษาen
dc.subjectการวิเคราะห์ตัวแปรพหุen
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen
dc.subjectลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)en
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพ ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุen
dc.title.alternativeA development of the causal model of the effectiveness of the internal quality assurance in basic education institutions : an application of the multiple group structural equation modelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.499-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supatra.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.